จากกรณีพนังกั้น ลำน้ำอูน บริเวณบ้านช้างมิ่ง ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนขาดตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. ที่ผ่านมา น้ำได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวบริเวณใกล้เคียง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้าน ในพื้นที่กว่า 300 คน ต่างช่วยกันพยายามอุดรอยรั่ว โดยมีกำลังทหารจาก มทบ.29 นพค.26 ตชด.23 นักศึกษาวิชาทหาร ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานหลายฝ่าย ระดมกำลังเข้าสนับสนุน ปฏิบัติภารกิจตลอดทั้งวันทั้งคืน จนสามารถสร้างพนังกั้นน้ำแบบชั่วคราวได้สำเร็จ
สถานการณ์ล่าสุดวันนี้(30 ส.ค.2561) เวลา 13.00 น. ด้วยมวลน้ำซึ่งระบายออกจากเขื่อนลงสู่ ลำน้ำอูน มีระดับที่สูงและไหลเชี่ยว พนังกันน้ำชั่วคราว ซึ่งสร้างขึ้นจากเสาไม้และกระสอบทราย จึงถูกกระแสน้ำกัดเซาะ มีการรั่วไหลออกมา ด้าน จนท. และชาวบ้านจึงต้องเฝ้าระวัง และซ่อมแซมอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน จนกว่าระดับน้ำจะกลับสู่ภาวะปกติ
โดย พล.ต.สุขพัฒน์สณฑ์ สุขสร้อย ผบ.มทบ.29 พร้อมด้วย พ.อ.ธเนตร จุลโนนยาง รองผบ.มทบ.29 ได้ลงพื้นที่ นำกำลังทหารจาก มทบ.29 นพค.26 รวม 50 นาย นักศึกษาวิชาทหารจากโรงเรียนสกลทวาปี อีก 20 นาย ช่วยซ่อมแซมพนังกั้นน้ำ โดยมีนายสุวิชาญ ไชยโกมล นายอำเภอพรรณานิคม ร่วมสนับสนุนภารกิจ
พ.อ.ธเนตร จุลโนนยาง รอง ผบ.มทบ.29 กล่าวว่า เราสามารถยับยั้งมวลน้ำไม่ให้ไหลบ่าออกมาได้แล้ว แต่ก็ต้องเฝ้าระวังในพื้นที่นี้ต่อไป รวมถึงการวางแนวกระสอบทรายในจุดเสี่ยงต่างๆ ที่อาจถูกกัดเซาะจากกระแสน้ำ สำหรับจุดที่พนังดินขาดนั้นเราได้ตอกเสาค้ำยันไว้ ปิดทับด้วยผ้ายาง พร้อมลงกระสอบทรายมากกว่า 3,000 กระสอบ และมีกระสอบทรายอีกหลายพันกระสอบกำลังลำเลียงเข้าไปในจุดเสี่ยงต่างๆ เพื่อเสริมความแข็งแรง
ข่าวน่าสนใจ:
- สงขลา รวบ 2 พ่อลูกตามหมายจับ สุดซ่าส์เคยชกปาก ตร.ชุดจับกุม ซ้ำ"ขู่สื่อฯ ระวังตัวให้ดี"
- รับบุญใหญ่ งานนมัสการองค์พระธาตุเชิงชุมฯ สกลนคร 6-13 มกราคม 2568 ร่วมบูชาเมล็ดข้าวใหญ่ในตำนานเมืองสกลนคร
- สงขลา"ไพเจนฯ"นั่งเก้าอี้ นายก อบจ.สงขลา วันสุดท้าย ลั่น 1,460 วัน กว่า 1,460 โครงการฯ
- พัทลุง!ล๊อตมโหฬารกว่า 200 ล้าน พัทลุงคือ1ใน 3 อันดับแรกของเมืองหลวงบุหรี่เถื่อน
ด้วยระดับน้ำที่ต่างกันกว่า 1 เมตร ระหว่างลำน้ำอูน กับนาข้าว ทำให้พนังกันน้ำชั่วคราวที่สร้างขึ้น ดินด้านล่างถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนทะลุ แต่ จนท. ซึ่งประจำจุด แบ่งหน้าที่กันทำอย่างเป็นระบบ จึงสามารถซ่อมแซมได้ทันท่วงที ก่อนที่ความเสียหายจะขยายออกไป
เราได้เห็นความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน ชาวบ้าน ทหาร ตำรวจ อปท. ฝ่ายปกครอง ฯ ร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว โดยได้แบ่งหน้าที่เป็น 4 ภารกิจหลัก จุดแรกอยู่ด้านนอกสุด เป็นพื้นที่บรรจุกระสอบทราย ก่อนลำเลียงโดยรถไถพ่วงล้อ เข้าไปในพื้นที่น้ำท่วมระยะทางประมาณ 600 เมตร
จุดที่สอง ลำเลียงกระสอบทรายลงเรือ ผ่านบริเวณน้ำท่วมนาข้าวความสูงเฉลี่ย 1 เมตร ระยะทาง 150 เมตร จุดที่สาม นำกระสอบทราย และอุปกรณ์ ลงซ่อมแซมพนังกันน้ำที่รั่ว และจุดที่สี่ซึ่งขาดไม่ได้คือ หน่วยแม่ครัวจิตอาสา ทำกับข้าวให้ จนท. และประชาชน ได้รับประทาน
สำหรับมาตรการต่อไปคือการเดินเครื่องสูบน้ำ ผันน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งคาดว่าจะสมารถดำเนินการได้ในไม่ช้า
ข่าวจังหวัดสกลนคร <<คลิก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: