ในการประชุมหารือความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และด้านอื่น ๆ ตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างจังหวัดกวางบิงห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และจังหวัดสกลนคร ราชอาณาจักรไทย ณ จังหวัดสกลนคร ( 14 มี.ค. 66) ได้มีการทำ MOU จับคู่ธุรกิจ 16 คู่ค้า เพื่อส่งเสริมแบรนด์สินค้าท้องถิ่นระหว่างกัน โดยมีธุรกิจ เกี่ยวกับ ปลาช่อน และลูกพันธุ์ ปลาช่อน ที่ได้ลงนามในครั้งนี้ด้วย
นายวิทวัส อินธิสาร ผู้ประกอบการ มงคลจารุวิทย์ฟาร์ม จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า “ฟาร์มของเราการันตีด้วยมาตรฐาน Gap ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย โดยเริ่มตั้งแต่การผลิตลูกพันธุ์ ปลาช่อน รวมถึงปลาช่อนไซส์ขนาดพร้อมรับประทาน มีการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยที่ผ่านมาภาคธุรกิจ ต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว วันนี้ มงคลจารุวิทย์ฟาร์ม ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ คนรุ่นใหม่ ได้มีความคิดในการยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และพร้อมส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ
ข่าวน่าสนใจ:
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- ประชาชนแห่ เสกเหรียญหลวงปู่คำไหล ในพระมหาเจดีย์วัดดัง แห่ตีเลขน้ำตาเทียน หลังสาธุชนนับพันแห่ร่วมพิธี
- เปิดเวทีขยายโอกาส ยกระดับศักยภาพ SMES สู่ตลาดโลก
ในอดีต เมื่อพูดถึงปลาช่อน เราจะนึกถึงภาพที่ชาวบ้านออกหาปลาตามท้องไร่ท้องนามาขาย ปัจจุบันเรานำมาทำเป็นธุรกิจที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างจริงจัง ภายใต้มาตรฐาน Gap ให้มีความสดสะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดย ปลาช่อน ของเราเป็นการผสมระหว่างปลาช่อนนากับปลาช่อนแม่ลา เมื่ออายุครบ 5 เดือน จะมีน้ำหนักตัวละประมาณ 7 ขีด ราคาจำหน่ายหน้าฟาร์มอยู่ที่ กก.ละ 70 บาท
ในช่วงโควิดที่ผ่านมา เราได้ไลฟ์สดขายปลาช่อนจากหน้าบ่อ ซึ่งลูกค้าตอบรับกันเป็นอย่างดี มีบริการขนส่งจากบ่อไปสู่ลูกค้าถึงที่ สร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยง ภาคการขนส่ง ถือเป็นการยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนไปในทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ เราได้เซ็นต์ Mou กับจังหวัดกวางบิงห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดย ได้รับออเดอร์ ปลาช่อนขนาด 2 ตัว/กก. จำนวน 100 ตัน หรือ 100,000 กก. รวมถึงลูกพันธุ์ปลาช่อน ที่จะต้องส่งไปยังประเทศเวียดนาม ภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้” นายวิทวัส อินธิสาร กล่าว
สำหรับผู้ที่สนใจ อยากได้ความรู้ในการเพาะเลี้ยง ปลาช่อน ต้องการซื้อปลาช่อนไปรับประทานทั้งส่งและปลีก หรือสนใจธุรกิจแฟรนไชส์ ปลาอบโอ่ง ปลาสดระบบตรงจากฟาร์ม ซึ่งมีพื้นที่เพาะเลี้ยงปลาช่อนใน อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร และ จ.กาฬสินธุ์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ นายธนพนธ์ ศรีภักดี ผู้ประกอบการ มงคลฟาร์ม 5 ม. Facebook : Mos Thanapon โทร 093-5137934 หรือ นายวิทวัส อินธิสาร ผู้ประกอบการ มงคลจารุวิทย์ฟาร์ม จังหวัดสกลนคร 085-8488025
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) หมายถึง การปฏิบัติเพื่อ ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่ อาจเกิดขึ้นระหว่าง การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพปลอดภัย และเหมาะสม สำหรับการบริโภค โดยใช้คำย่อว่า มาตรฐาน มกษ. GAP
GAP พืช ข้อกำหนด 8 ประการ มีดังนี้
1. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องมาจากเเหล่งที่ไม่มีสภาพเเวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อผลผลิต
2. พื้นที่ปลูก ไม่อยู่ในสภาพเเวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผลผลิต
3. วัตถุอันตรายทางการเกษตร จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ในสถานที่เก็บที่มิดชิดและใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
4. การจัดการคุณภาพในกระบวนการเก็บเกี่ยว มีแผนควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพโดยใช้หลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
5. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีอายุเหมาะสม ผลผลิตมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดและข้อตกลงของประเทศคู่ค้า
6. การพักผลิตผล การขนย้ายในเเปลงปลูก และการเก็บรักษาผลผลิต มีการจัดการด้านสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
7. สุขลักษณะส่วนบุคคล ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสุขลักษณะส่วนบุคคล เพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกสุขลักษณะ
8. การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ มีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานการใช้สารเคมี ข้อมูลผู้รับซื้อและปริมาณผลผลิต เพื่อประโยชน์ต่อการตามสอบ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: