อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีหมู่บ้านและชุมชนเป้าหมาย ในการขับเคลื่อนให้เป็นหมู่บ้านยั่งยืน 16 หมู่บ้าน โดยตำบลโนนหอม ซึ่งเป็นชนเผ่าภูไท ได้คัดเลือก บ้านห้วยปลาใย เป็นหมู่บ้านเป้าหมาย โครงการขับเคลื่อนตามโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)
(7 มิ.ย.66) ที่บริเวณลานวัดห้วยปลาใย บ้านห้วยปลาใย หมู่ 4 ตำบลโนนหอม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ได้จัดกิจกรรมสืบสานมรดกพื้นถิ่น งานหัตถศิลป์คนภูไทโนนหอม สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ตามโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
โดยมีนายชยุต วงศ์วณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานเปิดกิจกรรม และถวายพานดอกไม้สักการะ พระอธิการพร้อมพัฒน์ ฐานะวะโร เจ้าอาวาสวัดห้วยปลาใย มีหัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร สภาวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร ผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ชาวบ้านในชุมชนและใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรม
นางสาวจิราภรณ์ เบิกบานดี นายอำเภอเมืองสกลนคร กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยจัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในวาระทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา โดยน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องหมู่บ้านยั่งยืน มาดำเนินการขับเคลื่อน ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ ภายใต้เป้าหมายสร้างความยั่งยืนทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
อำเภอเมืองสกลนคร มีหมู่บ้านและชุมชนเป้าหมาย ในการขับเคลื่อนให้เป็นหมู่บ้านยั่งยืน 16 หมู่บ้าน โดยตำบลโนนหอม ซึ่งเป็นชนเผ่าภูไท ได้คัดเลือกบ้านห้วยปลาใย เป็นหมู่บ้านเป้าหมาย โครงการขับเคลื่อนตามโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีเป้าหมายหลักของการขับเคลื่อนในด้านการมีงานทำ การเข้ามาส่งเสริมอาชีพและการสร้างรายได้ให้กับประชาชน โดยมีต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูง มีอาชีพหลากหลาย เช่น จักสาน ตัดเย็บชุดภูไท การทำหมอนขิด โคขุนโพนยางคำ และมีต้นทุนทางวัฒนธรรมชนเผ่าภูไทโนนหอม ซึ่งเคยเป็นสถานที่จัดงานภูไทโลกมาแล้ว
กิจกรรมสืบสานมรดกพื้นถิ่น งานหัตถศิลป์คนภูไทโนนหอม สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ครั้งนี้มีการสร้างซุ้มฐานการเรียนรู้ที่แสดง ถึงความมั่นคงทางอาชีพและต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยได้ร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ โดยใช้วัสดุพื้นบ้าน คือ เขิง เป็นภาชนะสำหรับปลูก โดยส่งเสริมให้ปลูกทุกครัวเรือน
กิจกรรมถนนสายบุญ โดยใช้ถนนเส้นหน้าวัดห้วยปลาใย และเส้นบ้านห้วยปลาใย – บ้านบึงน้อย เพื่อให้ประชาชนได้มีกิจกรรมทำบุญตักบาตร โดยเน้นให้นำลูกหลาน เยาวชน ร่วมกิจกรรมโดยการปลูกฝังเด็กให้ยึดมั่นในการทำบุญ ทำความดี โดยเฉพาะในวันพระ กิจกรรมชอยนี้มีผล ผู้คนรักกัน ให้หมู่บ้านมีถนนที่ประชาชนร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวแล้ว แบ่งปันผู้คนสัญจรไปมา
และ กิจกรรมจักรสานจากไม้ไผ่ ทำหมอนฟักทอง หมอนชิด,การตัดเย็บชุดภูไท,การทำขันหมากเบ็งโบราณ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ ต่อยอดให้มีความหลากหลายและเกิดการรวมกลุ่ม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: