มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ส.ป.ก. ลงพื้นที่ส่งเสริมการปลูก “ทุเรียน” แก่เกษตรกร เตรียมนำร่องการปลูก 1 หมื่นไร่ ที่ อ.ภูพาน จ.สกลนคร
(4 ก.ค.2566) ที่ห้องประชุมอาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมความร่วมมือภาคีสถาบันการศึกษา 2023 ku-พลิกฟื้นการผลิตผลไม้ฐานนวัตกรรม ในบริบทชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีต เลขา ส.ป.ก. ผศ.ดร.นิคม แหลมศักดิ์ รองอธิการฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ. ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ รองอธิการบดี วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และหัวหน้าส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการปลูกไม้ผลที่เหมาะสมกับพื้นที่เทือกเขาภูพาน โดยเฉพาะทุเรียน เป็นการสร้างโอกาสในการยกระดับทุเรียนเทือกเขาภูพาน ให้เป็นสินค้าที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ชนิดใหม่ โดยเริ่มที่ ที่ดิน ส.ป.ก. ของอำเภอภูพาน จากทั้งหมด 83,751 ไร่ จำนวนนี้จะนำร่องการปลูกทุเรียน เบื้องต้นก่อน 10,000 ไร่ โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามาวิเคราะห์ เกี่ยวกับสภาพพื้นที่ ร่วมกับเกษตรกรของจังหวัดสกลนคร รวมถึงการหาตลาดรองรับ โดยเฉพาะตลาดออนไลน์ที่เปิดกว้าง นอกจากนี้มะม่วง ก็เป็นที่ต้องการของตลาด โดยที่ โรงงานหลวงฯที่ 3 อ.เต่างอย จ.สกลนคร ก็มีการรับซื้อมะม่วงแก้วกว่า 300 ตัน /ปี
นายประเสริฐ กาญจนเกียรติกุล ปฏิรูปที่ดิน จ.บุรีรัมย์ ซึ่งนำต้นแบบการบริหารจัดการที่ดิน ส.ป.ก.ที่เป็นรูปธรรมจนประสบความสำเร็จ โดยการปลูกทุเรียนหมอนทอง ที่ อ.โนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ แทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น มันสำปะหลัง หรือยางพารา โดยทุเรียน อ.โนนสุวรรณ ขายหน้าสวนอยู่ที่ กก.ละ 180 บาท หากขึ้นห้างราคาอยู่ที่ กก.ละ 300-350 บาท โดยเนื้อทุเรียน ของ อ.โนนสุวรรณ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือกรอบนอกนุ่มในกลิ่นหอมละมุน
ข่าวน่าสนใจ:
- มทบ.210 ร่วมกับ อบต.โพธิ์ตาก ลงพื้นที่เข้าเยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางพร้อมมอบผ้าห่มกันหนาวและเครื่องอุปโภคบริโภค
- จ.สกลนคร ร่วมส่งดวงวิญาณ ชรบ. เหยื่อตั้มหมัดหนัก โดยมีการจัดงานอย่างสมเกียรติ
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรชวนเด็กและเยาวชนโดยรอบสนามบิน ร่วมกิจกรรมวันเด็ก 2568
- สกลนคร แถลงข่าวจัดงานตรุษไทสกล ปี 68 จุดโคมแห่งความสุข 29-31 ม.ค.นี้
สำหรับผู้ที่แพ้กลิ่นทุเรียนก็สามารถรับประทานได้ เกษตรกรเดิมปลูกมันสำปะหลัง มีรายได้ไร่ละประมาณ 15,000 บาท/ปี ราคายางพาราก็ไม่คงที่ ในส่วนของทุเรียน ขายได้ราคาประมาณ 10,000 บาท/ต้น/ปี ถ้าปลูก 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ประมาณ 250,000 บาท/ปี เมื่อเกษตรกรมีรายได้ที่สูง และมั่นคง เขาก็จะไม่อพยพไปทำงานที่อื่น ประกอบอาชีพในภูมิลำเนาตนเอง โดยปัจจุบันทุเรียนไม่พอจำหน่าย ถึงขนาดที่ผู้บริโภคต้องมาจองทุเรียน โดยการนำชื่อมาติดไว้ที่ผลทุเรียน หรือต้นของทุเรียนกันแล้ว
ผศ.ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ รองอธิการบดี วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า ในพื้นที่ อ.ภูพานของจังหวัดสกลนคร ได้เริ่มนำ ทุเรียน มาปลูก และก็ออกผลผลิตแล้ว โดยมีรสชาติที่ดี หอมอร่อยไม่แพ้ของจังหวัดอื่น ในส่วนนี้ ม.เกษตรศาสตร์ จะเข้ามาส่งเสริมทุเรียนสกลนคร ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น พร้อมส่งเสริมการปลูกนำร่อง 10,000 ไร่ ในพื้นที่ ส.ป.ก. เขต อ.ภูพาน ซึ่งมีสภาพพื้นที่ และอากาศที่เหมาะกับการปลูกทุเรียน ซึ่งทุเรียนของไทยนั้น เป็นที่นิยมของตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน รวมไปถึงญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ ที่ติดใจในรสชาติของทุเรียนไทย
ด้าน ผศ.ดร.นิคม แหลมศักดิ์ รองอธิการฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เรามีสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เน้นงานด้านไม้ผล ชนิดต่างๆ และมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านทุเรียน หลายท่าน จะนำทีมลงมาส่งเสริม ให้ความรู้กับเกษตรกรในทุกด้าน ทั้งเรื่องของการจัดระบบสวนทุเรียน เพื่อให้เกิดระบบนิเวศทางการเกษตรที่ดี สร้างผู้ประกอบการที่มีคุณภาพในการผลิต ตลอดจนการดูแลรักษา และการจัดจำหน่ายอย่างมืออาชีพต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: