จังหวัดสกลนคร จัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและ การแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2566 “แลปราสาทผึ้งไทสกล ยลแดนศิลป์ถิ่นธรรม” โดยปีนี้จัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยปราสาทผึ้งอันวิจิตรงดงาม นักท่องเที่ยวเนืองแน่น
(28 ต.ค66) จังหวัดสกลนคร ร่วมกับ เทศบาลนครสกลนคร โดยนายโกมุท ทีฆธนานนท์ นายกเทศมนตรีนครสกลนคร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง และ การแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2566 “แลปราสาทผึ้งไทสกล ยลแดนศิลป์ถิ่นธรรม” ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 23-29 ตุลาคม 2566
สำหรับวันนี้ ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นพิธีปล่อยขบวนแห่ปราสาทผึ้งอันงดงาม โดยเทศบาลนครสกลนคร ได้จัดอัฒจรรย์ที่นั่งเพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา ทำให้มีประชาชน ทั้งจากจังหวัดสกลนคร จังหวัดใกล้เคียง นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ร่วมงานจำนวนมาก สมกับที่รอคอยมาถึง 1 ปี
ในช่วงพิธีเปิด นายชานน วาสิกศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธานในพิธี ได้นำขันธ์ 5 บูชาปราสาทผึ้ง พร้อมนำยอดครอบองค์ปราสาท อันเป็นสัญลักษณ์ของพิธีปล่อยขบวนแห่ปราสาทผึ้ง ซึ่งปีนี้มีจำนวน 10 ขบวน มาจากชุมชน คุ้มวัด และสถาบันการศึกษา ในจังหวัดสกลนคร ทั้งปราสาทผึ้งโบราณ ปราสาทผึ้งประยุกต์ และปราสาทผึ้งสร้างสรรค์ พร้อมด้วยนางรำประกอบ ขบวนที่แต่งกาย ชุดพื้นเมือง ฟ้อนรำ ด้วยลีลา อันสวยงามและสนุกสนาน ตามแบบฉบับของชาวอีสาน โดยขบวนปราสาทผึ้งทั้งหมดจะนำไปถวายองค์พระธาตุเชิงชุม เชื่อว่า การได้ถวายปราสาทผึ้ง หากเกิดในภพภูมิมนุษย์ จะได้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่อย่างมั่งมีศรีสุข แต่หากเกิดในสวรรค์จะได้มีปราสาทอันสวยงามมีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวาร
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์ - "ครอบครัวศรีประโค" บริจาคกระจกตาพ่อที่เสียชีวิต หวังช่วยให้ผู้อื่นกลับมามองเห็น
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- สีสันยามค่ำ ท่าแร่แล่นเด้อ ไนท์ คัลเลอร์รัน 2024
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถ เที่ยวชม กิจกรรม “ปราสาทผึ้ง เบิ่งได้ตลอดเดือน” ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร และวัดในกลุ่มชุมชนที่ทำปราสาทผึ้งตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม- 30 พฤศจิกายน 2566
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: