โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จัดการแข่งขันทักษะวิชาการด้านหุ่นยนต์ และอากาศยานไร้คนขับชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2567 “Sakolraj Robotics Grand Championship 2024” ชิงถ้วยเกียรติยศ ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี และถ้วยเกียรติยศผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร มุ่งพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21
(16 ก.พ. 2567) โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ได้จัดการแข่งขันทักษะวิชาการด้านหุ่นยนต์ และอากาศยานไร้คนขับชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2567 “Sakolraj Robotics Grand Championship 2024” ชิงถ้วยเกียรติยศ ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี ถ้วยเกียรติยศผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร และชิงเงินรางวัลรวม 80,000 บาท ระหว่างวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ณ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยมี นายชยุต วงศ์วณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วย ร.ต.ดร.สุกิจ ศรีพรหม ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมเปิดการแข่งขัน พร้อมมอบโล่แก่ผู้ที่สนับสนุนการจัดการแข่งขัน มอบเกียรติบัตรแก่โรงเรียน ที่สนับสนุนผู้เรียนด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ และวิทยาศาสตร์อากาศยาน (Innovation School Award)
ร.ต.ดร.สุกิจ ศรีพรหม ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล กล่าวว่า การแข่งขันในครั้งนี้ เป็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา และการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เรียนรู้วิธีการออกแบบหุ่นยนต์ และอากาศยาน การใช้เครื่องมือช่าง การใช้ทักษะด้านกลศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ ได้บูรณาการ สาระการเรียนรู้ที่หลากหลายเข้าด้วยกัน ได้อย่างมีคุณค่า พร้อมส่งเสริมกิจกรรม การเรียภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ทั้งยังให้นักเรียนทั่วประเทศ มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ และอากาศยาน ที่ใช้กติกาในระดับสากล เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับที่สูง หรือระดับนานาชาติต่อไป
ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ แบ่งประเภทการแข่งขันออกเป็นทั้งหมด 11 ประเภทการแข่งขัน ได้แก่ 1. อากาศยานไร้คนขับ Drone Mission 2. หุ่นยนต์กู้ภัยระดับกลาง บอร์ดทั่วไป 3. หุ่นยนต์เตะจุดโทษแบบขา 4. หุ่นยนต์ Line Fast 5. หุ่นยนต์บังคับมือแบบล้อทำภารกิจ 6. หุ่นยนต์ Al Autonomous Driving 7. หุ่นยนต์กู้ภัยระดับกลาง เฉพาะ LEGO 8. หุ่นยนต์ Line Fast LEGO 9. หุ่นยนต์ Robot Gathering 10. หุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์ และ 11. หุ่นยนต์ต้อนแกะ
ข่าวน่าสนใจ:
- ทีดีอาร์ไอ จัดเวิร์คชอป “ CONTENT CREATOR WORKSHOP: SYNERGY FOR CLEAN ENERGY”
- ตรัง อึ้ง!! เด็ก-เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่า 6 พันคน ศึกษาธิการตรังสั่งรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูล รับนโยบาย Thailand zero dropout
- นครพนม สุดสลดเพลิงพิโรธรุ่งวอด 9 หลัง ชาวบ้านไร้ที่อยู่ จนท.เร่งช่วยเหลือ
- เหยื่อเพลิงไหม้... สวดยับรถดับเพลิง อทต.นาคำไม่พร้อมใช้งาน
ทั้งนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันมาจากทุกภาคของประเทศ รวม 98 โรงเรียน 22 จังหวัด แยกตามระดับการแข่งขันและจำนวนทีม ดังนี้ ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 77 ทีม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 106 ทีม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 101 ทีม ระดับประถม – ม.ต้น จำนวน 14 ทีม ระดับมัธยม จำนวน 32 ทีม รวมทีมสมัครเข้าแข่งขันทั้งหมด จำนวน 330 ทีม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: