จังหวัดสกลนคร จัดพิธีเนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2567 น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย”
(2 มี.ค 67) ที่หอประชุมชมภูพาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนคร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร หน่วยงานราชการ ศาล ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษา เหล่ากาชาด แม่บ้านมหาดไทย และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดสกลนคร ร่วมในพิธีน้อมรำลึก ถวายสักการะ และวางพานพุ่ม เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2567 โดยมีนายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานในพิธี
ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ถวายความเคารพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วางพานพุ่มถวายเครื่องราชสักการะ กล่าวถวายราชสดุดี เทิดพระเกียรติ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย”
วันที่ 2 มีนาคม 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน โดยพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการช่างของไทย ความตอนหนึ่งว่า ช่างทุกประเภทเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุก วี่ทุกวัน ผู้เป็นช่าง จึงสม ควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน วิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ
ข่าวน่าสนใจ:
- จังหวัดสกลนคร พัฒนาศักยภาพบุคลากร ภาคีเครือข่าย เฝ้าระวัง ดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด
- จังหวัดสกลนคร คุมเข้มเตรียมพร้อมป้องกันไฟป่า-งดเผา ลดฝุ่น PM 2.5
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
ประการแรก ได้แก่ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความประณีต และประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริง ๆ ประการที่สาม ได้แก่ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้ จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า
ดังนั้น เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” พร้อมกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: