มหัศจรรย์ “ผ้าคราม” ม.ราชภัฎสกลนคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดงาน BEDO สัญจร 2018 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มูนมังอีสาน ฐานทุนทรัพยากร ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ
“ผ้าคราม” ถือเป็นสินค้าโอทอป 5 ดาว ของจังหวัดสกลนคร ที่มีขั้นตอนการทำแบบท้องถิ่น โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ตั้งแต่การถักทอผ้าฝ้ายขึ้นมาด้วยมือ การทำหม้อนิลจากใบคราม ผสมเปลือกไม้หลากหลายชนิด การย้อมครามให้ได้สีสันสวยงาม โดยย่า-ยาย ที่คร่ำหวอดกับการทำผ้าครามมาทั้งชีวิต
ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น รังสรรค์ขึ้นมาเป็นผ้าคราม ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่ระคายเคืองผิว ใส่ได้ทุกโอกาส จังหวัดสกลนครก็ได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน SMEs สร้างความเข้มแข็ง พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการออกแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และยอดขายสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างชาติ
ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้เปิดงาน BEDO สัญจร 2018 มูนมังอีสาน และ“มหัศจรรย์ผ้าย้อมคราม” โดยมี นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นำข้าราชการ ประชาชนและนักศึกษาให้การต้อนรับ งานดังกล่าวจัดโดย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ BEDO ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
ข่าวน่าสนใจ:
BEDO เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับทรัพยากรชีวภาพในชุมชน ทั้งในรูปแบบสินค้าและการบริการ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2561 ภายใต้แนวคิด “มูนมังอีสาน ฐานทุนทรัพยากร ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ” งานมหกรรมมูนมังอีสาน “มหัศจรรย์ผ้าย้อมคราม”
นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กล่าวว่า กิจกรรมภายในงาน มีการตกแต่งจำลองสภาพชีวิตความเป็นอยู่จาก 6 ชาติพันธุ์ ของจังหวัดสกลนคร มีการแสดงบ้านทรงโบราณของแต่ละชนเผ่า การสาธิตการทำผ้าย้อมครามจากธรรมชาติ และอีกมากมาย การถอดแบบความสำเร็จออกนำเสนอให้คนได้ศึกษา ภายใต้ชื่อ “สกลนครโมเดลสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ” มีการจัดแสดงสวนป่าครอบครัว และป่าสมุนไพร มีลานเล่นกิจกรรม Workshop
โดยแบ่งการจัดงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนนิทรรศการ บูธภาคีเครือข่าย และส่วนงานเสวนาวิชาการ อนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ การสร้างศูนย์เรียนรู้ การสร้างความเข้มแข็งของ วิสาหกิจชุมชน และส่งเสริมช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical. Indication GI) จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ผ้าคราม จากธรรมชาติหมากเม่า และน้ำหมากเม่า พร้อมส่งเสริมการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ผ้าย้อมคราม
พร้อมเชิญชวนประชาชนที่สนใจศึกษา “การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ” สัมผัสกับผ้าคราม ของสกลนคร สามารถมาศึกษาเรียนรู้ได้ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2561 นี้เท่านั้น
ข่าวเกี่ยวกับ ผ้าคราม
ตำนาน!!ผ้าย้อมครามกลุ่ม “ดอนกอย” ของดี 5 ดาว เมืองสกล
สกลนครแห่งคราม!โชว์ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ สู่เครื่องนุ่งห่มแสนเสน่หา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: