สกลนคร- พายุพัด ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่าสนั่นหวั่นไหว และลมกระโชกแรงหลายพื้นที่ อาคาร บ้านเรือน วัด โรงเรียน ห้างร้าน ฯ ได้รับความเสียหาย ต้นไม้หักโค่น ไฟดับ จนท.เร่งเข้าช่วยเหลือ
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 17 พ.ค. 2561 จังหวัดสกลนครเกิดเหตุ พายุพัด ถล่มเขตเทศบาลนครสกลนคร โดยมีฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ วงของพายุอยู่ที่อำเภอเมือง โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสกลนคร จึงได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง โรงเรียน วัด ร้านค้า บ้านเรือน ป้ายโฆษณา ฯได้รับผลกระทบ ต้นไม้หักโค่น เวลาของพายุประมาณ 30 นาที และมีฟ้าผ่าลงมาอย่างต่อเนื่อง เสียงดังสนั่น
เกิดไฟดับในเขตพื้นที่เทศบาลนครสกลนคร นานกว่า 30 นาที จนท.การไฟฟ้าเข้าแก้ไข มีรายงานเสาวิทยุหักโค่น เต้นท์จัดงานหักทับรถยนต์เสียหาย 3 คัน กระจกประตูธนาคารย่านศูนย์การค้าแตก ที่โรงเรียนเทศบาล 1 แรงลมได้พัดกระจกหน้าต่างแตกอุปกรณ์การเรียนและสื่อการสอนเสียหาย และยังมีน้ำท่วมขังฉับพลันบางจุด
ด้านนายสุมนิศร์ ทีฆธนานนท์ รักษาราชการนายกเทศมนตรีนครสกลนคร ได้สั่งการให้ จนท.กองช่างออกช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะซากหักพัง เศษสังกะสี ตามท้องถนน และเข้าตัดต้นไม้ที่หักโค่นพาดสายไฟ หรืออาคารบ้านเรือนต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาอำนวยความสะดวกการจราจรในจุดคับขันต่างๆ
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกฯ ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมสั่งการหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร…
- รับบุญใหญ่ งานนมัสการองค์พระธาตุเชิงชุมฯ สกลนคร 6-13 มกราคม 2568 ร่วมบูชาเมล็ดข้าวใหญ่ในตำนานเมืองสกลนคร
- สุราษฎร์ ฯ อ่วม ฝนตกหนักตลอดทั้งคืน จนท.เร่งช่วยเหลือประกาศภัยพิบัติเพิ่มเป็น 8 อำเภอ เสียชีวิตแล้ว 2 ราย
- สลด เจ็ทสกีชน นทท.จมทะเลหาย ศพโผล่กลางดึก หาดกะรน ต.กะรน จนท.เร่งสืบสวน
นอกจากนี้ยังมีรายงานความเสียหายจากบ้านเรือนประชาชนที่อยู่นอกเขตเทศบาลนครสกลนครอีกหลายแห่ง ส่วนใหญ่จะได้รับความเสียหายจากแรงลมพัดหลังคา กระเบื้อง สังกะสี และกรณีต้นไม้-กิ่งไม้หักโค่น อย่างไรก็ดียังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บจากพายุดังกล่าว ล่าสุดสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ไม่ควรประมาทเมื่อเกิดพายุประชาชนควรหลบอยู่ในที่ที่ปลอดภัยเช่นในบ้านที่มีความมั่นคงแข็งแรง และไม่ออกมาอยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือใต้ต้นไม้
พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดลักษณะโดยปรากฏการณ์จากผลกระทบของ แสง และ เสียง บนบรรยากาศของโลก ที่รู้จักกันในชื่อ ฟ้าร้อง อุตุนิยมวิทยาได้กำหนดชนิดของ เมฆ ที่เกี่ยวข้องกับพายุฝนฟ้าคะนองว่าเป็นคิวมูโลนิมบัส ปกติแล้วพายุฝนฟ้าคะนองจะมาพร้อมกับลมแรง, ฝนตกหนัก และบางครั้งมี หิมะ ฝนหิมะ [ลูกเห็บ] หรืออาจไม่ตกลงสู่พื้นดินเลยก็ได้ ทั้งหมดนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดลูกเห็บตกซึ่งเรียก พายุลูกเห็บ พายุฝนฟ้าคะนองอาจจะตกหนักเป็นหย่อม ๆ หรือตกหนักแบบกระจายตัวที่เรียก ซูเปอร์เซลล์ ก็ได้ พายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนักหรือรุนแรงอาจเกิดการหมุนตัวซึ่งเรียกว่าซูปเปอร์เซลล์ ในขณะที่พายุฝนฟ้าคะนองส่วนใหญ่เคลื่อนที่ด้วยแรงลมปกติผ่านชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่มันสถิตย์อยู่ เมื่อเกิดแรงลมพัดเฉือนในแนวตั้งเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดการหันเหเบี่ยงเบนในทิศทางที่ลมพัดเฉือนนั้นพัดมาเป็นสาเหตุให้พายุเคลื่อนตัว
เครดิตภาพข่าว/กลุ่มสายข่าว ฅนภูพาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นรกเรียกพี่! วินาที “พายุ” พัดถล่มอำเภอพังโคน เสียหายยับ!!
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: