ที่ สุสานทหารสัมพันธมิตร (ดอนรัก) อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เจ้าชายริชาร์ด ริชาร์ด อเล็กซานเดอร์วอลเตอร์ จอร์จ, ดยุกแห่งกลอสเตอร์แห่งสหราชอาณาจักร เป็นประธานในพิธีรำลึกครบรอบ 75 ปี การสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า พร้อมด้วย คุณสิริกิติยา เจนเซน พระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี นายไบรอัน เดวิดสัน เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พันเอก โรจเจอร์ เลวิส ทูตทหารประจำสถานทูตอังกฤษ นายจูเลี่ยน อิวานส์ ผู้อำนวยการคณะกรรมการสุสานแห่งเครือจักรภพ และภริยา Mr.Gregoire Legault ผู้แทน มูลนิธิเอเชีย แปซิฟิกแห่งแคนนาดา Mr.Van Leeuwen รองทูตเนเธอร์แลนด์ เข้าร่วมพิธี
สุสานสงครามแห่งเครือจักรภพ จัดงานรำลึกครบรอบ 75 ปี การสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต ในการสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย – พม่า ซึ่งทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดีย อีกจำนวนมากมาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง
ข่าวน่าสนใจ:
สุสานสงครามแห่งเครือจักรภพ จัดงานรำลึกครบรอบ 75 ปี การสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต ในการสร้างเส้นทางรถไฟสายไทย – พม่า ซึ่งทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดีย อีกจำนวนมากมาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: