เชียงราย-อ้าง “กองพล93” เป็นยันต์กันผีหากินบุกรุกป่าดอยแม่สลองฃื้อขายที่ดินป่าและออกบัตรประชาชนเป็นขบวนการของจนท.รัฐ ไม่เว้นแม้แต่กระทรวงมหาดไทย
วันที่ 27 ม.ค. 2563 ตามข่าวโรงแรมผุดเป็นดอกเห็ดบนดอยแม่สลองเพราะเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยละเลยละเว้นต่อการปฎิบัติหน้าที่อ้างเป็นพื้นที่”มั่นคง” นั้นผู้สื่อข่าวได้ติดตามตรวจสอบพื้นที่ความมั่นคงจะต้องอยู่ห่างชายแดนยาวไม่น้อยกว่าสามกิโลเมตรห้ามราษฎรอยู่ในพื้นที่เขตความมั่นคงเด็ดขาดแต่ผอ.หญิงสังกัดสปก.กลับสุ่มหัวกับข้าราชการในพื้นที่หลอกลวงหน่วยงานกลางรายงานว่าดอยแม่สลองเป็นเขตพื้นที่ความมั่นคงเนื่องจากเป็นเขตกองพล93 อาศัยอยู่ตามที่ทหารได้อนุญาตมาแต่ครั้งโบราณกาล ผู้สื่อข่าวตรวจสอบที่มาของกองพล93 มีบุญคุณต่อประเทศหรือประเทศไทยมีบุญคุณต่อกองพล93 เพื่อจะได้ไม่ใช้กองพล93อ้างหากินไปในทางที่ผิดๆอีกต่อไปคือ เมื่อสงครามโลกครั้งสองสิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2488 สถานการณ์ในจีนในช่วงเวลาหลังจากนั้นได้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในปีพ.ศ. 2492 พรรคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งโดยมีนายพลเจียงไคเช็คเป็นผู้นำในขณะนั้นทำให้จีนจึงอยู่ภายใต้การปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์
จากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้นายพลเจียงไคเช็คจำเป็นต้องถอยไปตั้งรัฐบาลใหม่ยังเกาะฟอร์โมซา (ประเทศไต้หวันในปัจจุบัน) อย่างไรก็ตามก๊กมินตั๋งได้วางกำลังของตนเองไว้ที่มณฑลยูนนาน 2 กองทัพด้วยกันคือกองทัพที่8 และกองทัพที่ 26 ซึ่งแต่ละกองทัพประกอบด้วย 2 กองพลโดยที่กองพล 93 เป็นหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อกองทัพที่ 26 ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังของอีกฝ่ายไล่ตามกองกำลังที่เคลื่อนย้ายไปยังเกาะฟอร์โมซาได้ทัน ในเวลาต่อมากองทัพที่8 และกองทัพที่26 ก็ถูกกองทัพของฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายและถอยลงมายังพื้นที่พม่าตอนบนใกล้กับพรมแดนมณฑลยูนนานของจีนกองทัพที่ 26 ได้ถูกกองกำลังของจีนคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายอีกครั้งและได้ถอยร่นไปยังลาวและเวียดนามอีกส่วนก็ถอยเข้ามายังรัฐฉานของประเทศพม่าผ่านทางรัฐฉานด้านเมืองเชียงตุงแล้วผ่านมาทางขี้เหล็กของประเทศไทยโดยมีกำลังประมาณ 1,700 คนจำนวนทหารที่อยู่ในส่วนนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นกำลังพลที่มาจากหน่วยกองพล 93
ในปีพ.ศ. 2493 เป็นต้นมาพม่าได้ทำการผลักดันกองกำลังของกองทัพที่ 26 ออกจากประเทศพม่าและส่วนหนึ่งเข้ามายังชายแดนไทยอย่างไรก็ดีสถานการณ์การเมืองที่เกาหลีนั้นได้สร้างความกังวลต่อนานาประเทศเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจาก[สงครามเกาหลี|[เกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้]]ในปีพ.ศ. 2493 ทำให้สหรัฐอเมริกาเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่กระจายของคอมมิวนิสต์ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการสร้างแนวยับยั้งคอมมิวนิสต์จากธิเบตถึงประเทศไทยและในขณะเดียวกันก็สนับสนุนทหารจีนคณะชาติในการบุกคืนสู่จีน กองพล 93 ใหม่นี้เกิดขึ้นภายใต้การนิยามโดยพลหลี่เหวินฝานได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวนี้ว่า“…กองพล 93 นั้นเป็นชื่อของกองพลหนึ่งในกองทัพแห่งชาติของจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 … เมื่อเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กองพล 93 ถูกถอนกลับหมด… ข้าพเจ้าไม่เคยเป็นทหารประจำการอาชีพแต่พวกข้าพเจ้าเป็นเพียงอาสาสมัครเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตน…”
ข่าวน่าสนใจ:
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- รวบสาวใหญ่ซิ่งมอไซค์ขนยาบ้า 516,000 เม็ด
กองพล93 ใหม่นี้ได้ขยายกำลังเป็นกองทัพกู้ชาติโดยมีนายพลหลี่มี่เป็นผู้บัญชาการและมีกองกำลังสนับสนุนของหน่วยข่างกรองกลางของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมาได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเหล่าทหารปืนใหญ่และเหล่าเทคนิคโดยจัดตั้งขึ้นที่บ้านปงป่าแขมใกล้กับชายแดนไทยคืออำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่อีกทั้งยังเป็นเส้นทางในการส่งกำลังบำรุงอีกเส้นทางหนึ่งที่นอกเหนือจากเส้นทางด้านท่าตอนอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ในปีพ.ศ. 2496 คณะกรรมการ4 ชาติกำหนดให้มีการถอนกำลังทหารของจีนคณะชาติกลับไต้หวันหลังจากปีพ.ศ. 2504 เมื่อกองบัญชาการกองทัพสนามร่วมของนายพลหลิวเหยี่ยนหลิงที่เมืองเชียงลับถูกทหารผสมจีน–พม่าบุกเข้าทำลายทำให้ทหารจีนคณะชาติที่อยู่ในบริเวณของรัฐฉานไม่มีฐานที่มั่นทำให้อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย นโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อการอพยพเข้ามาของกองกำลังทหารจีนคณะชาตินั้นดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนโยบายของรัฐบาลไทยก่อนและหลังจากปีพ.ศ. 2501 เป็นต้นมาได้มีการดำเนินการส่งทหารจีนคณะชาติกลับไต้หวันครั้งแรกในปีพ.ศ. 2496 และครั้งที่สองคือพ.ศ. 2504อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคมปีเดียวกันนี้เองรัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ได้ประกาศเจตนาที่จะปฏิบัติการตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัดและได้ยื่นคำขาดให้กองทหารจีนคณะชาติออกจากเขตแดนไทยภายใน3 วันอีกทั้งได้เตรียมกำลังเคลื่อนย้ายออกไปในปีพ.ศ. 2505 ได้มีกองทหารจีนคณะชาติล้ำแดนเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมากอีกทั้งได้ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในเขตแดนของไทยทำให้รัฐบาลต้องประกาศนโยบายให้ปฏิบัติต่อกองทหารจีนคณะชาติด้วยการผลักดันให้ออกนอกประเทศโดยจะมีการปลดอาวุธและควบคุมตัวหากไม่เดินทางออกไปนอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายที่คุมเข้มต่อกลุ่มทหารจีนคณะชาติเนื่องจากว่าในพื้นที่ชายแดนลาวกับเขตอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ที่เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มจีนฮ่อนำโดยจางซีฟู(ขุนส่า) กับกองทหารจีนคณะชาติกองทัพที่3 และกองทัพที่5 ซึ่งในความเข้าใจของคนไทยโดยทั่วไปเห็นว่ากองทัพทั้งสองนี้คือกองพล93 อาจจะกล่าวได้ว่า นโยบายและการปฏิบัติของรัฐบาลต่อทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่อระหว่างปีพ.ศ. 2506-2510 นั้นเป็นนโยบายคุมเชิงและควบคุมกองทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างในประเทศไทยซึ่งไม่ได้กลับประเทศไต้หวันตามโครงการส่งกลับในรอบที่สองในปีพ.ศ. 2504 ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2513 บก. ทหารสูงสุดส่วนหน้าได้เปิดประชุมปัญหาทหารจีนคณะชาติที่ยังตกค้างอยู่ในประเทศไทยโดยมีพล.อ.อ. ทวีจุลละทรัพย์เป็นประธานเนื้อหาในการประชุมคือการที่ทหารจีนคณะชาติเป็นปัญหาเรื้อรังนานถึง21 ปีถึงแม้จะมีการอพยพแล้วสองครั้งคือพ.ศ. 2496 และพ.ศ. 2504 แต่ก็ยังพบว่ามีทหารจีนคณะชาติตกค้างอยู่ในชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นหลังจากที่มีการประชุมในเดือนกันยายนปีเดียวกันได้มีมติให้กองบัญชาการทหารสูงสุดเข้าควบคุมเคลื่อนย้ายกำลังบางส่วนไปจัดตั้งหมู่บ้านผู้อพยพที่หมู่บ้านผาตั้งบนดอยผาหม่นและที่บ้านแม่แอบบนดอยหลวงทั้งนี้มติดังกล่าวได้อนุญาตให้กองทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างมีอาวุธป้องกันตนเองได้ไประยะหนึ่งก่อนนอกจากนี้แล้วรัฐบาลไทยในช่วงเวลาดังกล่าวได้ยอมรับสถานะของกองกำลังจีนคณะชาติที่ตกค้างให้อยู่ในสถานะผู้อพยพรวมถึงจัดสถานที่พักให้เป็นหลักแหล่งอีกทั้งมีการพัฒนาอาชีพและความรู้โดยอยู่ภายใต้การดูแลของกองบัญชาการทหารสูงสุด นอกจากนี้แล้วทางรัฐบาลไทยในช่วงปีพ.ศ. 2515 ได้เล็งเห็นว่าควรให้กองทัพไทยควบคุมผู้อพยพแทนโดยเฉพาะเรื่องยาเสพติดและการกำหนดที่อยู่ตลอดจนถึงเรื่องของอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2515 รัฐบาลได้มีคำสั่งฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติเรื่องการกำหนดที่อยู่การพัฒนาอาชีพของกองทหารจีนคณะชาติอพยพและครอบครัวรวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับหมู่บ้านและในเวลาต่อมากองทหารจีนคณะชาติดังกล่าวได้แปรสภาพกลายเป็นพลเรือนและจัดตั้งหมู่บ้านจำนวน13 หมู่บ้านด้วยกันซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยติดต่อเจรจากับรัฐบาลไต้หวันในเรื่องการส่งกองทหารจีนคณะชาติตกค้างกลับ
ในหมู่บ้านของกองกำลังทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างนั้นมีการตั้งโรงเรียนการสอนภาษาจีนที่ดอยแม่สะลองจังหวัดเชียงราย โดยที่ชุมชนเป็นผู้จัดการศึกษาให้กับบุตรหลานของกองทหารจีนคณะชาติอพยพโรงเรียนสอนภาษาจีนนี้สร้างเป็นเหมือนโรงเรียนประจำมีหอพักนักเรียนชายและนักเรียนหญิงนอกจานี้ยังเปิดโอกาสให้มีนักเรียนจากต่างถิ่นเข้ามาเรียนร่วมด้วย ในปีพ.ศ. 2518 รัฐบาลได้มีมติเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่เป็นบุตรหลานของกองทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่ออพยพโดยอนุโลมให้เด็กสามารถเข้าศึกษาในโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชนด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งโรงเรียนราษฎรขึ้นในพื้นที่พร้อมทั้งมีการคัดเลือกเด็กชาวจีนที่เป็นชายจากหมู่บ้านดอยแม่สะลองและถ้ำง็อบเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนชาวไทยภูเขาที่อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่อีกทั้งยังมีการสอนภาษาไทยให้กับลูกหลานของกองทหารจีนคณะชาติอพยพ
นอกจากนี้แล้วกองบัญชาการทหารสูงสุดได้เสนอให้สัญชาติไทยแก่บุคคลเหล่านี้โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่30 พฤษภาคมพ.ศ. 2521 โดยจัดตั้ในหมู่บ้านของกองกำลังทหารจีนคณะชาติตกค้างนั้นมีการตั้งโรงเรียนการสอนภาษาจีนที่ดอยแม่สะลองโดยที่ชุมชนเป็นผู้จัดการศึกษาให้กับบุตรหลานของกองทหารจีนคณะชาติอพยพโรงเรียนสอนภาษาจีนนี้สร้างเป็นเหมือนโรงเรียนประจำมีหอพักนักเรียนชายและนักเรียนหญิงนอกจานี้ยังเปิดโอกาสให้มีนักเรียนจากต่างถิ่นเข้ามาเรียนร่วมด้วย
ในปีพ.ศ. 2518 รัฐบาลได้มีมติเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่เป็นบุตรหลานของกองทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่ออพยพโดยอนุโลมให้เด็กสามารถเข้าศึกษาในโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชนด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งโรงเรียนราษฎรขึ้นในพื้นที่พร้อมทั้งมีการคัดเลือกเด็กชาวจีนที่เป็นชายจากหมู่บ้านดอยแม่สะลองและถ้ำง็อบเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนชาวไทยภูเขาที่อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่อีกทั้งยังมีการสอนภาษาไทยให้กับลูกหลานของกองทหารจีนคณะชาติอพยพ นอกจากนี้แล้วกองบัญชาการทหารสูงสุดได้เสนอให้สัญชาติไทยแก่บุคคลเหล่านี้โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่30 พฤษภาคมพ.ศ. 2521 โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาให้สัญชาติแก่อดีตทหารจีนคณะชาติ
รัฐบาลไทยในปีพ.ศ. 2527 ได้มีการพิจารณาสาระสำคัญของสถานะภาพของกองทหารจีนคณะชาติหรือกองพล93 ที่คนไทยเรียกการให้สัญชาติไทยต่อกลุ่มผู้อพยพอดีตกองทหารจีนคณะชาติให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณาในเรื่องนี้ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอย่างเคร่งครัดโดยไม่กระทำในลักษณะกรณีพิเศษเช่นที่เคยปฏิบัติมาทั้งในระยะก่อนที่จะให้สถานภาพคนต่างด้าวและหลักจากได้รับสถานะต่างด้าวแล้วรวมทั้งก่อนที่จะแปลงสัญชาติเป็นคนไทยทั้งนี้โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการแปลงสัญชาติแทนกองบัญชาการทหารสูงสุดที่เป็นหน่วยงานหลักซึ่งพื้นที่บางส่วนเช่นบ้านเปียงหลวงบ้านถ้ำง็อบอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่พื้นที่บนดอยแม่สะลองบ้านแม่แอบบ้านผาตั้งจังหวัดเชียงรายส่วนที่บ้านหัวลางและบ้านนาป่าแปกจังหวัดแม่ฮ่องสอนกลายเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของอดีตกองทหารจีนคณะชาติหรือกองพล93 และจีนฮ่ออพยพในปัจจุบันนี้ (ที่มากองพล93 ของกองทัพจีนคณะชาติในภาคเหนือของไทยจากสถาบันพระปกเกล้าผู้เรียบเรียงนิติยาภรณ์และรศ.ดร.นครินทร์เมฆไตรรัตน์)
ประเทศไทยจึงมีบุญคุณต่อกองทหารจีนคณะชาติกลุ่มนี้และจีนฮ่อที่เข้ามาอาศัยในดินแดนไทยทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เมื่อประเทศไทยต้องการกำลังพลช่วยปราบปรามคอมมิวนิสต์ที่บุกรุกมาตามชายแดนจังหวัดอื่นจึงได้กลุ่มบุคคลกองพล93 นำโดยนายพลต้วนเข้าช่วยเหลือผลักดันสู้รบกลุ่มคอมมิวนิสต์ให้พ้นประเทศไทย ประเทศไทยโดยกองบัญชาการทหารสูงสุดจึงมอบที่ดินให้กลุ่มกองพล93ได้อยู่อาศัยและทำกินในเวลาต่อมากับลูกหลานทหารจีนคณะชาติเหล่านี้ โดยออกเป็นหนังสืออนุญาตให้อยู่อาศัยและประกอบการเกษตรบนที่ดินบริเวณดอยแม่สลองโดยระบุไว้บนหัวหนังสือดังกล่าวว่า เอกสารที่ดินใช้ประโยชน์ในทางราชการทหารเพื่อกำหนดแนวเขตสำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยและประกอบการเกษตรเป็นการชั่วคราวห้ามนำไปจำหน่ายแจกจ่ายหรือฃื้อขายไม่ว่ากรณีใดๆ
โดยเนื้อหาในหนังสือดังกล่าวนี้ระบุชัดเจนว่า ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ327 โดยอนุมัติผู้บัญชาการทหารบกอนุญาตให้…………..(ระบุชื่อผู้ได้รับอนุญาต) อดีตทหารจีนคณะชาติและครอบครัวฃึ่งได้รับการแปลงสัญชาติเป็นไทยแล้วได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและประกอบอาชีพทำการเกษตรได้ในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติฃึ่งกองบัญชาการทหารสูงสุดได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในราชการทหารตามแนวเขตแผนที่รูปที่ดินโดยประมาณดังนี้(ดูรูปภาพหนังสือประกอบ– ตัวอย่างที่มอบให้กับอดีตทหารจีนคณะชาติเลขที่ดิน58)โดยแต่ละรายให้ทำกินได้เพียงรายละไม่เกิน15 ไร่มาตั้งแต่ปี2535)
ฃึ่งมีอยู่จำนวนไม่มากนัก แต่ปัจจุบันมีการขยายการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบริเวณดอยแม่สลองจากบุคคลต่างด้าวอื่นๆจำนวนเพิ่มขึ้นมากโดยกองบัญชาการทหารสูงสุดไม่ได้ออกหนังสืออนุญาตแต่อย่างใดอีกทั้งการออกหนังสืออนุญาตนี้ก็กำหนดให้ทำกินเป็นการชั่วคราวเท่านั้นมีระยะเวลาในการครอบครองชั่วระยะหนึ่ง ทำให้พื้นที่บนดอยแม่สลองทุกตารางนิ้วแม้ริมผาถูกบุกรุกจับจองเข้าทำกินมากมายโดยเจ้าหน้าที่รัฐต่างพากันเงียบเฉยอ้างว่าธุระไม่ใช่เพราะคนที่เป็นเจ้าของที่อย่างกรมป่าไม้และสปก.ควรมาดูแลเองตน(อบต.แม่สลองนอกมีหน้าที่เก็บภาษีโรงเรือนกรมสรรพากรมีหน้าที่เก็บภาษีรายได้ไม่ใช่มีหน้าที่ในเรื่องตรวจตราการใช้ที่ดิน)
ด้วยเหตการบุกรุกจำนวนมากเช่นนี้จึงกลายเป็นชุมชนทำให้ป่าสงวนแห่งชาติกลายสภาพเป็นพื้นที่โล่งเตียนเป็นชุมชนจึงมีการออกพระราชกฤษฎีกาประกาศเป็นพื้นที่สปก. มาตั้งแต่ปี2537 ทำให้ยิ่งมีการบุกรุกพื้นที่เพิ่มมากขึ้นจนยากควบคุมเพราะเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นเป็นใจเปิดช่องอ้างคำว่า”กองพล93” มีบุญคุณต่อประเทศไทย ทั้งที่ประเทศไทยต่างหากที่มีบุญคุณให้เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศมาช้านาน เมื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดพลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ มาดูพื้นที่บนดอยแม่สลอง เห็นสภาพการบุกรุกเกินพื้นที่ที่ทหารอนุญาตให้ทำกินเพื่อการเกษตรเท่านั้นกลายเป็นอาคารขนาดใหญ่มีโรงแรมใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมากจึงทำหนังสือขอคืนพื้นที่บนดอยแม่สลองที่ทหารไว้ใช้ในราชการทหารนี้ให้กับกรมป่าไม้ดูแลต่อ เมื่อปีพ.ศ 2552 ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต อธิบดีกรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนขณะนั้น
ผู้ได้รับสิทธิจากทหารในพื้นที่คือกลุ่มทหารจีนคณะชาติภายใต้การดูแลของนายพลต้วนต่างพากันกระทำผิดเงื่อนไขที่ทหารได้ให้ไว้เกือบทั้งสิ้นนั่นคือมีการนำที่ดินนั้นไปขายและไม่ได้ทำเกษตรอีกต่อไปเนื่องจากมีการขยายตัวจากการบุกรุกของคนต่างด้าวที่ลอบเข้าประเทศมาปักหลักบนดอยแม่สลองเป็นจำนวนมากมีการขายที่ดินสละสิทธิไปเป็นจำนวนเกือบหมดแล้วผู้มาอยู่ใหม่ล้วนเป็นต่างด้าวแปลงสัญชาติบ้างสวมบัตรประชาชนบ้างบัตรหัวศูนย์บ้างมีคนไทยไม่กี่รายที่พวกต่างด้าวที่นี่พยายามขับไล่ให้ออกพื้นที่แม้กระทั่งธงไทยยังไม่มีให้เห็นบนดอยนี้จะเห็นแต่ธงจีนติดเต็มไปหมด กระทรวงมหาดไทยก็ทำตัวเป็นม้าอารีย์ออกใบแปลงสัญชาติ ออกบัตรประชาชนออกบัตรหัวศูนย์ หรือออกบัตรประชาชนปลอมถึงขนาดว่านายอำเภอทุจริตส่งส่วยกินค่าหัวคิวการออกบัตรประชาชนรายละ200,000-300,000 บาท ทั้งบัตรหัวศูนย์ และ บัตรตกสำรวจ(ไม่จบสิ้นทั้งที่เวลาหมดไปนานแล้วก็ยังมีตกสำรวจทุกปี ) เป็นช่องทางทำมาหากิน มีราคาถึง55,000บาทต่อหัวตกสำรวจ
ด้านกรมการปกครองนายทะเบียนบัตรประชาชนก็พยายามจะใช้มาตรการอ้างให้ต่างด้าวเข้ามาอยู่อาศัยในไทยโดยไม่คัดกรองคุณภาพต่างด้าวให้เข้ามาอยู่อาศัยทำให้เกิดการค้ายาผลิตยาเสพติดขึ้นในเขตภาคเหนือเพราะต่างด้าวพวกนี้ไม่มีงานทำมีรายได้ไม่ดีพอจึงค้ายาเสพติดฟอกเงินนำเงินมาสร้างอาคารร้านค้าขึ้นบางคนจู่ๆจากจนมาตลอดรวยขึ้นทันตาเห็นเพียงเพราะมีบัตรประชาชนสามารถออกนอกพื้นที่เคลื่ยนย้ายไปยังจังหวัดอื่นๆได้ด้วยการขนส่งยาเสพติดจะเห็นว่าการระบาดยาเสพติดเกิดขึ้นมากมาจากเขตภาคเหนือของปท.ก็เพราะนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในเรื่องบัตรประชาชนเพราะเป็นนโยบายที่ทำให้ข้าราชการขี้ฉ้อหากินกับการเรียกรับเงินผ่านกำนันในการออกบัตรต่างๆเหล่านี้
โดยเมื่อปี 2560 สำนักงานทะเบียนกลางมหาดไทยได้มีหนังสือที่ มท0309.1/ว13 ลงวันที่1 มีนาคม 2560 แจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยเพื่อให้แจ้งสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักทะเบียนท้องถิ่นถือปฏิบัติไว้แล้วก่อให้เกิดการสร้างเรื่องร้องเรียนโดยอ้างเจ้าหน้าที่แจ้งว่าทำไม่ได้ไม่มีระเบียบหรือหนังสือสั่งการหรือระบบคอมพิวเตอร์ไม่เปิดให้ดำเนินการดังเช่นกรณีของบุคคลที่เกิดในประเทศไทยโดยขณะที่เกิดบิดาหรือมารดาเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับมีเลขประจำตัวเป็นบุคคลประเภท00 ซึ่งปัจจุบันถูกจำหน่ายรายการทะเบียนแล้วเป็นต้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนนั้น
ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต อธิบดีกรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนขณะนั้นได้ออกคำสั่งมาเอื้อประโยชน์ให้กับการออกบัตรได้ง่ายขึ้นโดยอ้างว่าต่างด้าวเดือดร้อนจากการที่ราชการปฎิบัติงานเข้มงวดจึงแจ้งให้อำเภอท้องถิ่นปฎิบัติดังนี้คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีหลักฐานการทะเบียนราษฎรและเลขประจำตัว13 หลักอายุตั้งแต่5 ปีจนถึง70 ปีบริบูรณ์สามารถขอมีบัตรประจำตัวได้ทุกกรณีไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่เกิดในประเทศไทยหรือเป็นผู้ที่เดินทางเข้ามาอาศัยในประเทศไทยก็ตามยกเว้นเฉพาะคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (มีหนังสือเดินทางหรือวีซ่า) เท่านั้นที่ไม่บังคับให้ต้องมีบัตรประจำตัวแต่หากบุคคลดังกล่าวประสงค์จะขอมีบัตรก็ให้นายทะเบียนดำเนินการให้นั้น คำสั่งของอดีตอธิบดีกรมการปกครองจึงเปิดทางให้กิจการค้าบัตรประชาชนบัตรหัวศูนย์บัตรตกสำรวจเป็นไปอย่างสะดวกโยธิน ทั้งที่มาตรการให้คนต่างด้าวเข้าเมืองควรที่จะคัดกรองตรวจสอบไม่ใช่เอาคนขยะเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศ แล้ว “แดก”กันเป็นขบวนการคนพวกนี้ต้องสาปแช่งทั้งตระกูล แหล่งข่าวกล่าว (ผู้สื่อข่าวจะติดตาม นำเสนอข่าวต่อไป)
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: