เชียงราย-รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน ช่วยกันดึงต้นเสาเอกลงหลุม ทำพิธีลงเสาเอกสร้างศาลาอนุสรณ์สถานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ภายในวันอุทยานถ้ำหลวง
เวลา 14.00น. วันที่ 12 ก.ย.2561 พล.อ. สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ นายประจญ ปรัชญสกุล ผวจ.ชร.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางมาเข้าร่วมพิธีลงเสาเอกศาลาอนุสรณ์สถานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนพล.อ. สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์. ถึงบริเวณวนอุทยานถ้ำหลวง ได้พบปะพูดคุยเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และมีชาวบ้านมาคอยตอนรับ พล.อ. สุรศักดิ์ได้กล่าวให้ชาวบ้านที่มาต้อนรับ ให้ช่วยกันดูแลสถานที่ เพราะถ้ำหลวงจะมีผู้เข้ามาเที่ยวชมจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและต่างชาติ และจะต้องให้คนในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์มากสูงสุดส่วนศาลาอนุสรณ์สถานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน.ที่อาจารย์เฉลิมชัย ร่วม ศิลปินเชียงราย กรมวนอุทยานแห่งชาติ สร้างศาลาอนุสรณ์สถานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ ศิลปะภาพวาดต่างฯ ถึงเหตุการณ์ วันที่ 23 มิ.ย.2561 มี13ชีวิตติดภายในถ้ำหลวง มีหน่วยงานจิตอาสา รวมไปถึงชาวต่างชาติ ที่ร่วมแรงร่วมใจกันระดมกำลังกายและใจ นำวัสดุอุปกรณ์ต่างฯเข้ามาช่วยเหลือ 13 ชีวิตหมูป่า ติดภายในถ้ำหลวงจนออกมาได้ ทำให้การช่วยเหลือครั้งนี้ สื่อไปถึงความสามัคคีกันของคนไทย รวมไปถึงชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประเทศไหนหากมีภัย ก็เดินทางมาช่วยเหลือกันอย่างเต็มกำลังสถานที่สร้างศาลาอนุสรณ์สถานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ห่างจากปากถ้ำราว 50 เมตร ความกว้าง 12.40 เมตร ยาว 22.40 เมตร สูง 9.20 เมตร ลงเสาเอกสูง 13 เมตร เสาไม้สักใช้ทำโครงสร้างตัวศาลา 14 ต้น สูง 4 เมตร และยังมีไม้สักที่กองเตรียมไว้รวมทั้งหมด 58 ต้น สูง 6 เมตร เตรียมไว้ทำส่วนตัวอาคาร ภายด้านหน้าศาลาเป็นจุดตั้งรูปปั้นจ่าแซม ที่มีความสูงรวมฐานประมาณ 4.30 เมตร เวลาต่อมา พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ นายประจญ ปรัชญสกุล ผวจ.ชร.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน ได้ทำพิธีลงเสาเอกศาลาอนุสรณ์สถานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน โดยดึงเชือกผูกติดเสาเอก เจ้าหน้าที่และชาวบ้านช่วยกันดึงเชือกยกขึ้น จนเสาเอกตั้งขึ้น ถือเป็นการทำพิธีลงเสาเอกเป็นที่เรียบร้อย จากนั้นพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์.ได้เข้าหารือเจ้าหน้าที่ส่วนเกี่ยวข้องภายในอาคารการฟื้นฟูธรรมชาติภายในวนอุทยานถ้ำหลวงคาดว่าจะเปิดให้เข้าชมราวปลายเดือนมกราคมหรือก็ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนบริเวณหน้าทางเข้าวนอุทยานถ้ำหลวง ยังมีพ่อค้าแม่ค้ามาจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ของฝาก ให้ผู้ที่เดินทางมาเที่ยวชมอย่างไม่ขาดสาย แตละวันไม่ต่ำกว่า 500 คน วันหยุดราว 1000 กว่าคน ต่างมากราบไหว้ขอพรเจ้าแม่ดอยนางนอน บริเวณหน้าปากถ้ำ มีประตูเหล็กสีเขียวกั้นไม่ให้เข้าไปภายในถ้ำ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: