เชียงราย-เกษตรกรชาวสวนมะม่วงอำเภอพญาเม็งรายและพ่อค้าผลไม้เริ่มปรับตัว หลังวิกฤติโควิดส่งผลให้ยอดส่งออกต่างประเทศลดลง เน้นส่งขายตลาดภายในประเทศมากขึ้น คาดปีนี้ยังคงสร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
ในอดีตชาวบ้านพื้นที่อำเภอพญาเม็งราย จ.เชียงราย จะประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา เป็นหลัก โดยเฉพาะการทำไร่ข้าวโพด ที่ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก เพราะต้องเผาหลังการเก็บเกี่ยวในทุกๆ ปี ทางเกษตรอำเภอพญาเม็งรายจึงได้พยายามจะหาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะนำมาทดแทนการปลูกข้าวโพด จนกระทั่งพบว่าคุณภาพดินและอากาศในพื้นที่ เหมาะกับการปลูกมะม่วง จึงนำตัวแทนเกษตรกรไปศึกษาการปลูกมะม่วงที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ.2540 และเริ่มทดลองปลูกกันมาตั้งแต่ตอนนั้น
นายปรีชา ลักษณาการ ผญบ.กระแล ม.7 ต.แม่เปา เผยว่า ตนเป็นเกษตรกรรายแรกๆของ อ.พญาเม็งราย ที่หันมาปลูกมะม่วง ตอนนี้ปลูกมานานประมาณ 23 ปีแล้ว มีพื้นที่ปลูก 116 ไร่ ปลูกมะม่วงหลายสายพันธุ์ เช่น โชคอนันต์ น้ำดอกไม้สีทอง เขียวใหญ่ เขียวเสวย มหาชนก อาร์ทูอีทู และมันศรีวิชัย สร้างรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายปีละประมาณ 8-9 ล้านบาท ปีนี้ผลิตผลมะม่วงมีคุณภาพดี ผิวสวย ลูกโต หากพ่อค้าแม่ค้าในประเทศสนใจจะนำไปจำหน่วยก็ลองมาเที่ยวชมก่อนได้
นายอนันต์ สมุทรารินทร์ นอภ.พญาเม็งราย เผยว่า ปีนี้ประสบปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการซื้อขาย ไม่สามารถส่งขายประเทศเพื่อนบ้านเหมือนเช่นทุกปีเพราะมีการปิดด่านควบคุมโรค ทำให้ราคามะม่วงที่ลดต่ำกว่าปีก่อน แต่ทางอำเภอ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องทางการจำหน่ายผลิตผล ทั้งการซื้อขายในสื่อโซเซียล การติดต่อขายกับโรงงานโดยตรง และพบว่าเกษตรกรมีการปรับตัวได้เป็นอย่างดี มีการติดต่อซื้อเข้ามาต่อเนื่อง
ข่าวน่าสนใจ:
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
ปัจจุบัน อ.พญาเม็งราย มีพื้นที่ปลูกมะม่วงรวม 8,710 ไร่ แบ่งเป็นที่ ต.ตาดควัน 3,755 ไร่ ต.แม่เปา 3,073 ไร่ และนอกนั้นก็กระจายตามพื้นที่อื่นๆทั่วอำเภอ สร้างรายได้เข้าอำเภอปีละกว่า 100 ล้านบาท นอกจากชาวบ้านมีรายได้เพิ่มแล้ว ยังเป็นการลดการเผาป่าจากการทำไร่ข้าวโพด นอกจากนี้เกษตรกรยังช่วยเฝ้าระวังไม่ให้ไฟป่าเกิดขึ้นจนส่งผลกระทบต่อสวนมะม่วง ถือเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว…
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: