เชียงราย-ททท. จัดโครงการ “ช่วยชุมชน ช่วยช้าง ช่วยชาติ”
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2563 รัฐบาลหลายประเทศ ประกาศมาตรการการควบคุมการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ จากวิกฤตครั้งนี้
จึงทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งหนึ่งในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ได้แก่ สถานประกอบการที่มีช้างเพื่อการท่องเที่ยว มีธุรกิจหลายแห่งหลายแห่งที่ต้องปิดตัวลง ซึ่งไม่เพียงแต่เจ้าของสถานประกอบการที่ขาดรายได้แต่ยังส่งผลกระทบต่อ ช้าง ควาญช้าง พนักงานที่ทำงาน ภายในสถานประกอบการ เจ้าของช้าง รวมไปถึง ชุมชน เกษตรกรผู้ปลูกและส่งอาหารช้าง รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียอื่น ๆ อาทิ กลุ่ม โรงแรมที่พัก บริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ รถนำเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ
ภายในชุมชน
โดย ศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา กล่าวว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงได้จัดทำโครงการ “ช่วยชุมชน ช่วยช้าง ช่วยชาติ” ขึ้นระหว่าง วันที่ 27 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2563 โดยมีวัตุประสงค์เพื่อเยียวยาสถานประกอบการที่มีช้างเพื่อการ
ท่องเที่ยว ชุมชนเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสฯ และปัญหาภัยแล้ง
ทั้งทางตรงและทางอ้อมในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาฟื้นฟูธุรกิจและให้ ททท. สามารถดำเนินงานด้านการตลาดและสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องช้างเพื่อการ
ท่องเที่ยวและเป็นการปรับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวประเทศไทยสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวโลกต่อไป
ในการจัดทำโครงการ “ช่วยชุมชน ช่วยช้าง ช่วยชาติ” ททท. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลช้าง ได้แก่ สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถาบันวิจัยและบริการสุขภาพช้างแห่งขาติ, กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กรมปศุสัตว์,
โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์ (องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์), ศูนย์วิจัยช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมเป็นคณะทำงานบริหารโครงการ “ช่วยชุมชน ช่วยช้าง ช่วยชาติ” ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการพิจารณาคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ เอกสารหลักฐานของ “สถานประกอบการ” “ช้าง”
“ชุมชนเกษตรกร” ที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งนี้ สถานประกอบการที่ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานฯ จะได้รับความช่วยเหลือด้านงบประมาณสำหรับการจัดซื้ออาหารช้างที่จัดซื้อจากชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกอาหารช้างจากแหล่งต่าง ๆ โดยมูลค่าของอาหารช้างขั้นต่ำที่ข้างแต่ละเชือกจะได้รับอยู่ที่ประมาณ 3,000-6,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ กับจำนวนสถานประกอบการ และจำนวนช้างที่เข้าร่วมโครงการฯ
ทั้งนี้โครงการได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้น สามารถช่วยเหลือช้างได้ ทั้งสิ้น 1,456 เชือก เชือกละ 9,500 บาท ต่อเชือก โดยอยู่ในสังกัดของปางช้างประมาณ 109 ปาง ทั่วประเทศ
ข่าวโดย นายสัญชัย ขัติครุฑ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- จัดกิจกรรมวิ่งการกุศล UNITHAI-CUEL Run for Charity 2025 ครั้งที่ 3 วิ่งด้วยใจ ในสวนสวย ช่วยผู้ป่วยมะเร็ง
- ธุรกิจโก-ลกเริ่มหวั่น! นทท.ลดฮวบ-หลังมาเลย์ดีเดย์ 1 ธค.เข้า-ออกผิดกฎหมาย - จับทันที
- สูงวัยตรัง ปลื้ม เตรียมตัวรับเงินหมื่น ฝันใช้ยามแก่-ต่อยอดอาชีพบั้นปลาย
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: