เชียงราย- ด่วน!! ผวจ.เชียงราย ส่งหนังสือ แจ้งเทศบาลเวียงเชียงแสน ว่า ไม่รับอุทธรณ์ กรณี บอร์ดท่าเรือเวียงเชียงแสน ขออุทธรณ์คำสั่งถูกนายกเวียงเชียงแสน ปลดยกขุด ฟันธง…
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 64 มีหนังสือ ด่วนที่สุด ลงวันที่ 12 ม.ค. 2565 ที่ ชร 0023.4/798 การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง (คำสั่งเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน ที่ 2336/2564 ให้ยกเลิกคณะกรรมการท่าเรือเวียงเชียงแสน ลงวันที่ 18พฤศจิกายน 2564) กรณีที่เจ้าหน้าที่ ผู้ทำคำสั่งไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ตามที่อำเภอเชียงแสน แจ้งการพิจารณาคำอุทธรณ์ของเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน กรณี เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน มีคำสั่ง ที่ 2336/2564เรื่อง ยกเลิกคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 64 ซึ่งคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน คู่กรณีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง คำสั่งอื่นใด หรือการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลว่านายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสน ไม่มีฐานอำนาจตามกฎหมาย ตามหระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเนื่องจากการบริหารท่าเรือหรือการใช้ท่าเรือเวียงเชียงแสน ได้ปรากในเทศบัญญัติเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เรื่อง การใช้ท่าเรือเวียงเชียงแสน พ.ศ.2558 ปัจจุบันเทศบัญญัติ ดังกล่าวถือเป็นกฎที่ชอบด้วยกฎหมายและยังมีผลบังคับใช้อยู่ ตามที่บัญญัติในข้อ 4 ของเทศบัญญัติดังกล่าว ซึ่งกำหนดคำนิยามคำว่า “คณะกรรมการบริหารท่าเรือ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง จากนายกเทศมนตรีตำบลเวียงเขียงแสน โดยความเห็นชอบของสภาเทศบาลเวียงเชียงแสน เพื่อบริหารจัดการ ท่าเรือเวียงเชียงแสน (ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1) ให้เป็นไปด้วยความราบรื่นและสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีดังนั้น การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งหรือการยกเลิกคณะกรรมการบริหารท่าเรือ ย่อมจะต้องผ่าน การแต่งตั้งจากนายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสนโดยความเห็นชอบจากสภาเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน และให้หมายความรวมถึง การยกเลิกหรือถอดถอนคณะกรรมการบริหารท่าเรือดังกล่าว ย่อมจะต้อง ผ่านความเห็นชอบจากสภาเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เช่นเดียวกัน คำสั่งเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน ที่ 2336/2564 เรื่อง ยกเลิกคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 จึงเป็นคำสั่งที่เป็นโมฆะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองดังกล่าวได้พิจารณาคำอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกเลิกคำสั่งจึงไม่เห็นด้วยกับคำ อุทธรณ์ทั้งหมด จึงรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลมายังผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้มีอำนาจพิจารณา คำอุทธรณ์ ตามมาตรา 45 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รายละเอียดดังที่แจ้งไว้ให้ทราบแล้ว นั้นจังหวัดเชียงรายพิจารณาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองเรื่องดังกล่าวแล้วมีความเห็น ดังนี้ 1.เมื่อพิจารณาจากเทศบัญญัติเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เรื่อง การใช้ท่าเรือเวียงเชียงแสน พ.ศ.2558 ตามข้อ 4ที่กำหนดให้ในเทศบัญญัตินี้ “คณะกรรมการบริหารท่าเรือ”หมายความว่า คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสนโดยความเห็นชอบ จากสภาเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เพื่อบริหารจัดการท่าเรือเวียงเชียงแสน (ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1)ให้เป็นไปด้วยความราบรื่นและสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ข้อ 5 คณะกรรมการบริหารท่าเรือมีหน้าที่ยกร่างระเบียบ การใช้ท่าเรือ ให้สอดคล้องกับอำนาจ หน้าที่ พันธกิจ ที่ได้รับมอบจากทางราชการ เสนอต่อนายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสนอนุมัติเพื่อนำไปประกาศบังคับใช้ต่อไป และข้อ 11 การเปิด-ปิดการให้บริการท่าเรือ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารท่าเรือ ประกอบกับคำสั่งเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนที่ 1406/2560 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) นั้น เป็นการออกคำสั่งโดยไม่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ใดที่กำหนดให้เทศบาล มีอำนาจในการมอบหมายให้เอกชนหรือบุคคลอื่นดำเนินกิจการท่าเรือดังกล่าวแทนเทศบาลตำบล เวียงเชียงแสน ได้โดยเทียบเคียงตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 55/2556 ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า การดำเนินการใดๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ที่กำหนดในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและตามที่มีกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ้างบุคคลอื่นมาบริหารจัดการ หรือดำเนินการกิจการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกระทำได้หรือไม่นั้นเห็นว่าในการจัดจ้างบุคคลอื่นมาบริหาร จัดการหรือดำเนินการกิจการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องกระทำนั้นอาจแยกได้เป็นสองลักษณะ
กล่าวคือ ถ้ากิจการนั้นเป็นภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนห้องถิ่นจำต้องกระทำเพื่ออำนวยความสะดวก หรือเพื่อให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่สามารถดำเนินการไปได้โดยสะดวกหรือเป็นระเบียบเรียบร้อย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมจ้างเหมาเอกชนหรือบุคคลใดให้มาดำเนินการให้ได้แต่ในกรณีที่กิจการใด เป็นกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริการประซาชนย่อมเป็นภาระหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องดำเนินการนั้นเองตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจะมอบหมายให้เอกชนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินกิจการนั้นแทนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นได้ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้ ดังนั้น เมื่อการจัดให้มีท่าเทียบเรือเพื่อบริการสาธารณะแก่ประชาชนเป็นอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลเวียงเขียงแสนซึ่งได้รับมอบหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 ให้เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เป็นผู้บริหารจัดการท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสนที่จะต้องรับผิดชอบในการบริหารกิจการดังกล่าว ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการมอบหมายให้เอกชน หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนิน กิจการแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ เมื่อไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลสามารถมอบหมาย ให้เอกชนหรือบุคคลอื่นดำเนินกิจการนี้แทนเทศบาลได้ นอกจากนั้นการที่เอกชนหรือบุคคลอื่นเข้ามาบริหาร จัดการย่อมมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร การดำเนินการจึงยากจะอยู่ภายใต้การควบคุมของ ฝ่ายนิติบัญญัติตามระบอบการปกครองท้องถิ่นที่กฎหมายกำหนดไว้จึงไม่อาจกระทำได้เป็นการนอกเหนือ จากชอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนจึงไม่สามารถมอบหมายให้เอกชนหรือบุคคลอื่นดำเนินการแทนได้ ทั้งนี้ ดังที่จังหวัดเชียงรายได้เคยแจ้งแนวทางดังกล่าวให้เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนทราบ ไว้แล้วตามหนังสือจังหวัดเชียงราย ที่ ชร 0023.4 /17834 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เรื่อง การพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติ เรื่อง การบริหารจัดการท่าเรือเวียงเชียงแสน ของเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน และหนังสือจังหวัดเชียงราย ที่ ชร 0023.4/21762 ลงวันที่ 7 กันยายน 2564 เรื่อง การหารืออำนาจของนายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสน ในการแต่งตั้งหรือยกเลิกคณะกรรมการบริหารท่าเรือตามเทศบัญญัติเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เรื่อง การใช้ท่าเรือเวียงเชียงแสนพ.ศ.2558
2.การที่เทศบัญญัติเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เรื่อง การใช้ทำเรือเวียงเชียงแสน พ.ศ.2558 กำหนดให้ คณะกรรมการบริหารท่าเรือ หมายความว่า คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง จากนายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสน โดยความเห็นชอบจากสภาเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน จึงเป็น การออกกฎขึ้นมาจำกัดอำนาจการบริหารของนายกเทศมนตรี ตามมาตรา 48 เป็นการนำอนุบัญญัติ อันเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามาตัดอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีตามพระราชบัญญัติ โดยยกอำนาจ การบริหารและการตัดสินใจทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการบริหารท่เรือเชียงแสน ทำให้นายกเทศมนตรีตำบล เวียงเชียงแสนไม่อาจเข้าใช้อำนาจบริหารตามที่พระราชบัญบัติเทศบาล -พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กำหนดได้ นอกจากการขัดกับกฎหมายอย่างชัดแจ้งแล้วยังทำให้เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนไม่สามารถ เข้าควบคุมซึ่งรายได้รายจ่ายอันเกิดจากการประกอบกิจการท่าเรือได้ด้วย อันเป็นเหตุสภาพร้ายแรง ที่ทำให้ เทศบัญญัติเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เรื่อง การใช้ท่าเรือเวียงเชียงแสน พ.ศ.2558 ไม่อาจใช่บังคับได้ต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
3.การแต่งตั้งบุคคลภายนอกราชการมาเป็นผู้มีอำนาจในราชการเป็นไปตามหลักความไว้วางใจมื่อปรากฏว่าตลอดระยะเวลาการเข้าเรือนับตั้งแต่ พ.ศ.2558 เป็นต้นมา ได้ส่งเงิน เข้าเป็นรายได้ของเทศบาล เพียง 300,000 บาท และได้มีการถอนเงินบางส่วนไปใช้จ่ายโดยไม่มีกฎหมาย และระเบียบสั่งจ่าย ไม่มีรายงานรายรับรายจ่ายประจำปีเสนอต่อฝ่ายสภาท้องถิ่นและฝ้ายบริหารให้รับทราบ มีปัญหาหนี้ค้างชำระ ประกอบกับปรากฎข้อเท็จจริงอันบ่งชี้ถึงปัญหาการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน ที่ไม่สามารถตรวจสอบใด้ และไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนท้องถิ่นดังปรากฎตามเหตุผลที่ระบุไว้ ในคำสั่งเทศบาลเวียงเชียงแสน ที่ 2336 /2564 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เห็นว่าคณะกรรมการ ท่าเรือเวียงเชียงแสน มุ่งปกปิดข้อเท็จจริง คุ้มครองประโยชน์ของเอกชนมากกว่าประโยชน์ของเทศบาล จึงเป็นเหตุสภาพร้ายแรงทำให้เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน ขาดความไว้วางใจต่อคณะกรรมการบริหาร ท่าเรือเวียงเชียงแสน
4.การยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน มิได้เป็นเหตุให้บุคคลในคณะกรรมการท่าเรือเวียงเชียงแสนสูญเสียสิทธิ์ใดๆ เพียงแต่หมดหน้าที่ความรับผิดชอบการบริหารทำเรือ ลงไปเท่านั้น เพื่อให้เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนสามารถเข้าควบคุมการบริหารกิจการท่าเรือได้ โดยถูกต้อง ตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ให้แก่ประชาชนห้องถิ่น ประโยชน์ของประชาชนท้องถิ่นจึงสูงกว่าการคงไว้
ซึ่งสถานะของคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสนด้วยเหตุผลข้างต้นการให้คณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสนคงอยู่ต่อไป ขาดทั้งความชอบด้วยหมาย คือ เป็นการกระทำที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ขาดทั้งความไว้วางใจ คือ การบริหารงานที่ขาดความโปร่งใส ไม่สามารถตรวจสอบได้ ไม่รักษาประโยชน์ให้กับประชาชนในท้องถิ่น เมื่อการออกคำสั่งเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน ที่ 1406/2560ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ตามเทศบัญญัติเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เรื่อง การใช้ท่าเรือเวียงเชียงแสน พ.ศ.2558 กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้และการกระทำของคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน ขาดซึ่งความไว้วางใจ
จึงเป็นอำนาจหน้าที่/ของนายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสน ในการพิจารณาดำเนินการ สั่ง อนุญาต อนุมัติ อันเกี่ยวกับเรื่องการบริหารกิจการท่าเรือดังกล่าวให้เป็นไปโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และเป็นผลดีต่อกิจการของเทศบาลตามนัยของมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมการที่นายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงแสน พิจารณามีคำสั่งเทศบาลตำบลเวียงเขียงแสน ที่ 2336/2564 เรื่อง ยกเลิกคณะกรรมการบริหารท่าเรือเวียงเชียงแสน ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 จึงเป็นการออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงยกคำอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าว จึงเรียนมาเพื่อแจ้งให้เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนทราบต่อไป ลงนามโดย นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เมื่อ 12 ม.ค. 2565
ทาง นางเกศสุดา สังขกร นายกเทศมนตรีเวียงเชียงแสน หลังรับคำสั่งจากจังหวัดเชียงราย จะเร่งแจ้งหนังสือดังกล่าวให้ทาง คณะผู้บริหาร หรือ บอร์ดท่าเรือเวียงเชียงแสน เพื่อทราบ ส่วนจะมีการเคลื่อนไหวใดใดต่อก็เป็นสิทธิ์ แต่ตนเชื่อว่าคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ของ ผู้ว่าราชการจังหวัด ถือว่าเป็นความชัดเจนว่า เทศบาลเวียงเชียงแสน ปฎิบัติตามกฎหมายถูกต้องที่สุด เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน และก่อนหน้าที่มีกระแสข่าวปลุกปั่นโดยสื่อโซเชียลบางแห่ง อ้างว่าจะมีการร้องเรียนเพื่อจะปลดตนออกจากตำแหน่งนั้น เรื่องนี้น่าจะเป็นข่าวสร้างกระแสจากคนบางกลุ่มเท่านั้น ชาวบ้านในพื้นที่ยังคงสนับสนุนตนเองในการบริหารเทศบาลเวียงเชียงแสน และกำลังให้ฝ่ายกฎหมายดูว่ามีการลงข้อความใส่ร้ายป้ายสีตนให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายด้วย
ข่าวโดย : นายธีรวัฒน์ คำธิตา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: