สวพส. นำโครงการหลวงลดจุด Hotspot เพิ่มพื้นที่สีเขียว ทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วันที่ 4 ก.พ.2565 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบของหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้น โดยสวพส.มีภารกิจในการนำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนบนพื้นที่สูง ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดการเผาเพื่อการเกษตร เน้นการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่สูงลดลง และมีแนวโน้มว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเอ่ยถึงปัญหาหมอกควันและไฟป่าในประเทศไทยคงจะทราบกันดีว่ามีมานานหลายปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือนั้นนับว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษาภาคม 2563 เกิดจุดความร้อนสะสมในพื้นที่การดูแลของ สวพส. 8 จังหวัด จำนวน 7,322 จุด ทำให้ป่าต้นน้ำลำธารเสียหาย และค่า PM 2.5 สูงมาก ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตของประชาชน ซึ่งในส่วนของการแก้ไขปัญหานั้นทุกส่วนของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ และที่เห็นเป็นประจำทุกปีคือการพ่นน้ำ การดับไฟป่า การจัดทำแนวกันไฟ และอีกหลาย ๆ กิจกรรม ซึ่งยังไม่สามารถที่จะลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ จากปัญหาดังกล่าว สวพส. ได้ขยายองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งการทำการเกษตรแบบไม่เผา โดยการจัดพื้นที่รายแปลงที่เหมาะสม เน้นการใช้พื้นที่น้อยให้มีรายได้มาก ใช้พืชผักที่ขายได้ในราคาสูงและทำได้ตลอดทั้งปี
ด้านนายเดชธพล กล่อมจอหอ นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า สวพส. ได้ดำเนินงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยส่งเสริมการปลูกไม้ผลและกาแฟใต้ร่มเงาในพื้นที่ป่า และการประสานกับหน่วยงานภาคีในการช่วยเหลือชุมชนบนพื้นที่สูงให้มีวิถีชีวิตที่ดีและพอมีพอกินตามหลักปรัชญาเศรฐกิจพอเพียง โดยการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ เมื่อชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีเวลาที่จะดูแลป่าไม้ที่อยู่รอบชุมชนมากขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ทำการเกษตรที่มีไม้ยืนต้น ไม่บุกรุกทำลายป่า โดยการทำเกษตรแบบไม่เผา ส่งผลให้ในปี 2564 นี้ จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่การดูแลของ สวพส. 8 จังหวัด มีจำนวนลดลงมากถึง 70 % เมื่อเทียบกับปี 2563 และบางพื้นที่ไม่มีจุดความร้อนเกิดขึ้นเลย
ในขณะเดียวกันที่ผ่านา สวพส.ได้เข้าไปร่วมดำเนินการโครงการลุ่มน้ำสาละวิน มีพื้นที่ทั้งหมดล้านกว่าไร่ ครอบคุมพื้นที่จังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ปัญหาเรื่องการเผาเพื่อทำการเกษตรเกิดขึ้นเยอะมาก สวพส. จึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินงานด้วยการสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำชุมชนและชาวบ้าน และการนำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่สูงในทุกมิติ เพื่อให้ชุมชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ให้คนอยู่กับป่าได้อย่างลงตัว ส่งผลให้ปัจจุบันการเผาป่าและจุด Hotspot ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินลดลงอย่างต่อเนื่อง และบางพื้นที่อย่างพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงสบโขงไม่เกิดจุดความร้อนแม้แต่จุด
ข่าวโดย : น.ส.รมณ ภัทรทองศักดิ์ นายจักรภัทร แสนภูธร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
- ระทึก เพลิงไหม้บ้าน 2 ชั้นวอดทั้งหลัง น้องแมว 7 ชีวิต รอดตายหวุดหวิด โดย 3 ตัวโดนไฟลวกบาดเจ็บ
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: