เชียงราย-นพ.สสจ.เชียงราย เปิดประชุมส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายของผู้บริหาร
วันที่ 22 ส.ค. 2565 ที่ห้องประชุมโรงแรม เฮอริเทจ โฮเทลแอนด์คอนเวนชั่น จังหวัดเชียงราย นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายของผู้บริหาร โดยมีผู้บริหารจากทั้งภาครัฐ และเอกชนเข้าร่วมประชุม จำนวน 50 ท่าน ประกอบด้วย รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), รศ.ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุ รองผู้อำนวยการด้านกลยุทธ์วิจัย, รศ.ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ (บพข.), รศ.ดร.วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ หัวหน้าโครงการความร่วมมือนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ความร่วมมือระหว่างเกาหลีใต้และไทยในด้านระบบ แฟลตฟอร์มสำหรับการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมและต่อเนื่อง, ผศ.ดร.โกวิทย์ นามบุญมี จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้บริหารจากโรงพยาบาลในภาครัฐ โรงพยาบาลเครือเอกชน และบุคคลากรจาก กิน-อยู่-ดี แฟลตฟอร์ม
หลังพิธีเปิดที่ประชุมมีการเสวนาการนำข้อมูลไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานและการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อต่อยอดการให้บริการทางสุขภาพ โดยมีนายแพทย์ คงศักดิ์ ชัยชนะ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย นายแพทย์พฤฒ พันธุ์พฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด พร้อมสาธิตการใช้งานจริงของการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการคัดกรองสุขภาพฟัน ภาพถ่ายจอประสาทตา ภาพถ่ายผิวหนัง ที่มีความผิดปกติของคนไข้ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีนายพีรเดช ลออธรรม ตำแหน่ง Software Architect Manager บริษัท เซนโกรท จำกัด ,นายจักรพงษ์ บุญใหญ่ ตำแหน่ง AI specialists บริษัท แวมสแตค จำกัด ,Mr.Jay Choi ตำแหน่ง Chief Operating Officer (COO) บริษัท QTT,Mr. Alex Park ตำแหน่ง Director Imaging Business Development Unit บริษัท VUNO ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ อรนิช สาลีวงษ์ ที่ปรึกษาศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้
การจัดประชุมในครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่สนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดให้โรงพยาบาลและหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศนำระบบดิจิทัลมาพัฒนาระบบบริการและการบริหารจัดการให้มีระบบปฏิบัติงานที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็ว มีคุณภาพ ปลอดภัย อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รองรับการเป็น MOPH 4.0 ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องได้รับการอบรมเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ ให้ทันต่อยุค สมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล เพื่อให้สามารถนำนโยบายดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการ ขับเคลื่อนและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ในทุกด้านเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงบริหารของผู้บริหารหน่วยงาน และสอดรับกับนโยบายการสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข และนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยบูรพ คณะทำงาน กิน-อยู่-ดีแพลตฟอร์ม ผู้แทนจากประเทศเกาหลีใต้และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: