เชียงราย-ร่วมยินดีกับเด็กเก่ง! 3 นักเรียนโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย คว้ารางวัลอันดับ 2 การประกวดโครงงานวิทย์ระดับโลกที่สหรัฐอเมริกา
เวลา 13.00 น. วันที่ 25 พ.ค. 66 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีคณะครู เพื่อนนักเรียน และผู้ปกครอง มารอต้อนรับและร่วมแสดงความยินดีกับคณะนักเรียนและครูที่ปรึกษาจากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ที่กลับจากการไปร่วมแข่งขันประกวดโครงงานระดับโลก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 2 สร้างความปิติยินดีกับนักเรียนผู้เข้าร่วมแข่งขัน คณะครู และบรรดาผู้ปกครอง ที่มารอต้อนรับอย่างอบอุ่นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2023 ที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จัดโดย Society for Science & the Public วันที่ 13-19 พ.ค. 66 โดยในปีนี้มีนักเรียนกว่า 1,600 คน จาก 63 ประเทศทั่วโลก โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำทีมเยาวชนไทยเข้าร่วมปรากฏว่า ทีมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สมาชิกประกอบด้วย นายปูรณ์ ตระกูลตั้งมั่น นายทีปกร แก้วอำดี และนายปัณณธร ศิริ มีนายชนันท์ เกียรติสิริสาสน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา คว้ารางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวด คือรางวัลสุดยอดนักวิทยาสตร์รุ่นเยาว์ Regeneron Young Scientist Awards สนับสนุนโดย Regeneron and Society for Science รางวัลโครงงาน “นวัตกรรมการวิจัยที่สะท้อนถึงการทำงานอย่างจริงจังของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ในการหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายของโลกในอนาคต โดยใช้แนวที่สร้างสรรค์ และแตกต่าง” ได้รับเงินรางวัล 50,000 ดอลล่าร์ พร้อมรางวัล Grand Awardsมอันดับ 1 สาขาสัตวศาสตร์ พร้อมเงินรางวัล 5,000 ดอลล่าร์ กับโครงงาน “การเพิ่มอัตราการรอดของแมลงช้างปีกใส (Mallada basalis) จากพฤติกรรมการกและการเลือกกินอาหาร (Innovation for Optimizing Lacewing Survivability)”นอกจากนี้ ยังมีทีมเยาวชนไทยใน จ.เชียงราย ที่สามารถคว้ารางวัล Grand Awards ได้แก่ โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ รับรางวัล Grand Awards อันดับที่ 2 สาขาสัตวศาสตร์ โครงงานวิธีการใหม่ในการตรวจสอบการติดเชื้อโรคเพบริน (Pebrine Disease Detection Using Silkvom Phototaxis) มีสมาชิกคือ นายธนวิชญ์ น้ำใจดี นายพณทรรศน์ ชัยประการ และ น.ส.กัญญาริณทร์ ศรีวิชัย มีนายเกียรติศักดิ์ อินราษฎร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษานายเกียรติศักดิ์ อินราษฎร อาจารย์ที่ปรึกษา เผยว่า สำหรับรางวัลที่เด็กนักเรียนได้รับในครั้งนี้เป็นรางวัลอันดับ 2 ของสาขาสัตววิทยา (Animal Sciences) ซึ่งมีการแข่งขันของเด็กนักเรียนประมาณ 1,300 กว่าทีมจาก 63 ประเทศทั่วโลก โดยครั้งนี้ไปแข่งขันกันที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในเรื่องของการเตรียมความพร้อมเข้าร่วมการแข่งขัน เด็กๆต้องผ่านการคัดเลือกในระดับภาคที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อผ่านในระดับภาคก็ต้องไปคัดในระดับประเทศ และต้องไปผ่านการคัดเลือกรอบ 8 ทีมสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งกว่าจะผ่านไปถึงขั้นตอนนั้นก็ต้องใช้ระยะเวลาที่นานมากๆ กว่าที่จะผ่านเข้าไปแข่งขันเป็นอะไรที่ยาก เพราะเราไปแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งความพร้อมของที่โรงเรียนจะมีอยู่แล้ว แต่หากเทียบด้านทรัพยากรต่างๆ เราค่อนข้างจะน้อยกว่าโรงเรียนอื่น เด็กๆ ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก เราต้องใช้บริบทของชุมชน มีการซักซ้อมในเรื่องของภาษา รูปแบบเนื้อหาคอนเทนต์ต่างๆ จนสามารถส่งเด็กๆไปทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศไทยและชั้นนำของโลกได้ ส่วนหนึ่งก็มาจากความพยายามของเด็กๆเอง ส่วนหนึ่งก็มาจากการร่วมแรงร่วมใจของทีมงานเบื้องหลังจากกลุ่มสาระต่างๆที่มาช่วยดูแล ทั้งเรื่องคอนเทนต์เนื้อหาโครงงานซึ่งมีครูภาษาอังกฤษเข้ามาช่วยชี้แนะ แม้แต่ครูที่ดูแลด้านโสตทัศนศึกษาก็ได้เข้ามาช่วยดูในเรื่องการตัดต่อวีดีโอ ตนก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นตัวแทนของโรงเรียนเพื่อไปดูแลและให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนในระหว่างการไปร่วมแข่งขัน ก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ได้กล่าวมา ตลอดถึงผู้บริหารโรงเรียน สมาคมต่างๆ ที่เข้ามาดูแลช่วยเหลือในครั้งนี้“สำหรับโครงงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้เป็นโครงงาน Pebrine Disease Detection Using Silkworm Phototaxis (วิธีการใหม่ในการตรวจสอบการติดเชื้อโรคเฟบรินในหนอนไหม) ซึ่งโรคเฟบรินเป็นโรคที่ปรากฏในหนอนไหม หากหนอนไหมตัวไหนที่ติดโรคก็จะตาย วิธีการดั้งเดิมหากพบว่าหนอนไหมตัวไหนที่ติดโรคก็จะนำมาฆ่า โดยตัดหัวตัดท้ายแล้วนำไส้ออกมาดูว่ามีสปอร์ของเชื้อตัวนี้อยู่ในตัวหรือเปล่า ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเลี้ยงหนอนไหมไปแล้ว 7-10 วัน ซึ่งแต่เดิมหากเกษตรกรตรวจพบก็จะนำหนอนไหมไปเผาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด แต่เด็กๆสามารถค้นพบวิธีการใหม่คือ การนำหนอนไหมที่ออกจากไข่มาไม่นาน มาศึกษาพฤติกรรมการเข้าหาแสงของหนอนไหม เพื่อศึกษาว่ามีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไร แล้วจึงมีข้อค้นพบใหม่ของโลกว่า หนอนไหมที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อมีพฤติกรรมการเข้าหาแสงที่ไม่เหมือนกัน และได้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยทำให้กระบวนการในการคัดแยกหนอนไหมง่ายมากขึ้น” นายเกียรติศักดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: