เชียงราย-“กว่างยอดนักสู้แห่งล้านนา” คึกคักคนกว่างนำลูกรักท้าชน ต่างฮาฮ่าสนุกสนาน
วันที่ 8 กันยายน 2566 คึกคักกับคอ กว่างชล ที่บริเวณสวนรุกขชาติโป่งสรี ตำบลสันทราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดกิจกรรมชนกว่างและประกวดกว่าง เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์กีฬาพื้นบ้านที่คู่มากับคนเหนือ หรือชาวล้านนา โดยมีชมรมต่าง ๆ และผู้เพาะพันธุ์กว่าง นำกว่าง มาร่วมการแข่งขันชนกว่าง-ประกวดกว่าง ในครั้งนี้
ซึ่งทำให้บริเวณคึกคักไปด้วยบรรดาคนชอบกีฬาชนกว่างได้มาพบกัน และมีการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องกว่างกัน และยังมีเสวนากับผู้ที่คร่ำหวอดในวงการกว่าง สามารถเพาะเลี้ยงกว่างออกทุกฤดูได้ และยังมีผลิตพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับกว่างมาจำหน่าย เช่นคอนชนกว่าง ไม้ผั่น และตัวกว่าง ที่ทางฟาร์มผู้เพาะเลี้ยงนำมาจำหน่าย ในราคาตัวละ 20-50 บาท และยังมีกว่างสตั๊ฟฟ์ ราคาเริ่มต้น 800 บาท จนไปถึง 3,500 บาท ซึ่งเป็นกว่างที่สวยงามนำมาสตั๊ฟฟ์อย่างสวยงาม เพื่อให้ผู้ชื่นชอบนำไปประดับบ้าน
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่งภายในงาน มีคนชอบชื่นชอบรักกีฬาชนกว่างจำนวนมาก ต่างหิ้วกล่องใส่กวางมา คนละหลายกล่อง บางคนก็มาในงาน หาซื้อในงานกลับไปเลี้ยง ทำให้สถานที่คึกคัก แลกเปลี่ยนชมกว่างกัน ในการแข่งขันชนกว่างและประกวดกว่าง มีคณะกรรมการคอยตรวจเช็คกว่าง ที่จะลงแข่งขัน วัดขนาดของแต่ละรุ่น โดยแบ่งเป็น ขนาด 25*62 มม 26*64 มม 27*66 มม 28*68 มม 29*70 มม และรุ่นโอเพ่น มีทั้งหมด 6 รุ่น
ด้านอาจารย์บรรจง จินะสาม ผู้ผลักดันและผู้เพาะเลี้ยงกว่าง แรกๆของจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า กว่างธรรมชาติจะออกตั้งแต่เดือน ส.ค.ไปถึง ต.ค.ปีละ 1 ครั้ง จะมีอายุอยู่ได้ 3 เดือน กว่างจะกินอาหารเช่น หน่อไม้ ลำไย อ้อย และเปลือกไม้บางชนิด กว่างจะมีหลายชนิด แต่ที่นิยมเล่นคือกว่าง 2 เขา ซึ่งต่างประเทศก็มีกว่าง แต่จะตัวใหญ่อยู่ได้นานกว่า ซึ่งปัจจุบันนี้สามารถเพาะเลี้ยงได้เองแล้ว สามารถเล่นได้ตลอดทั้งปี หากมีผู้สนใจที่จะเพาะเลี้ยงถ้าเข้าใจวงจรชีวิตกว่าง ก็สามารถเพาะเลี้ยงได้ หรือศึกษาในโซเชียล
ซึ่งการซื้อขายกว่างมีหลากหลาย พ่อ-แม่พันธุ์ราคา 300 บาท จนถึงหลัก 1,000 บาท ซึ่งเคยมีแม่พันธุ์เก่ง ราคาสูงถึง 65,000 บาท ซึ่งการซื้อขายของแต่ละฟาร์ม ก็ขึ้นอยู่กับขนาด ความยาว หรือความเก่ง ซึ่งการจักกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่ออนุรักษ์กีฬาชนกว่าง และให้คนที่รักกว่างได้มาร่วมตัวกัน ซึ่งอีกไม่นาน ทางคนรักกว่างเชียงราย พยามผลักดันจัดตั้งเป็นสมาคมกว่า แห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาชนกว่างแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งมีความงามที่แตกต่างกันไป และชมขั้นตอนการเพาะเลี้ยงกว่าง อย่างไร ที่สามารถออกได้ทุกฤดู ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: