เชียงราย-พชภ. เปิดโครงการเดินหน้าด้านสุขภาวะ “เด็ก กาย ดี” ต่อเนื่อง ระดมความเห็นเครือข่ายเดินหน้าส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แก้ไขพฤติกรรมเนือยนิ่ง สู้ภัยโรค NCDs
วันที่ 14 กันยายน 2566 นางจุฑามาศ ราชประสิทธิ์ ผู้จัดการโครงการเด็กกายดี เปิดว่า มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้เดินหน้าโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน ชุมชนพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดเชียงราย เพื่อสุขภาวะจังหวัดเชียงราย ภายใต้ชื่อโครงการ “เด็ก กาย ดี” เป็นการดำเนินการต่อเนื่องด้านสุขภาวะเป็นปีที่ 7 ด้วยการสนับสนุนจาก สสส. เพื่อสร้างกิจกรรมเครือข่ายแก้ไขความเนือยนิ่ง เนื่องจากความสะดวกของสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่สะดวกสบายที่สมัยก่อนคนชาติพันธุ์ที่เด็กๆ เดินไปโรงเรียน ผู้ใหญ่เดินไปทำไร่ทำสวน แต่ปัจจุบันใช้รถ และการอยู่นิ่งกับมือถือ ทำให้เป็นที่มาของโรคร้ายแรงแบบไม่ติดต่อ หรือ NCDs
จากการเริ่มต้นโครงการเด็กดอยกินดีที่เริ่มเก็บข้อมูลในปี 2559 และดำเนินโครงการในปี 2560-2562 เข้าไปส่งเสริมเรื่องอาหารในโรงเรียนเว้นอาหารกรุบกรอบน้ำอัดลมที่ไม่มีประโยชน์ การคัดสรร เมนูอาหาร 9 ชาติพันธุ์ และในวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมาได้เชิญเครือข่ายที่ทำงานด้านสุขภาพทั้งส่วนราชการ อปท. ชุมชน มาร่วมหารือเพื่อรับฟังและระดมความเห็นวางแผนการทำงานร่วมกัน ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า จากการแลกเปลี่ยนพูดคุยทุกคนมีความตระหนักรับทราบว่าเป็นสถานการณ์ปัญหาของเชียงราย มีการดำเนินโครงการด้านสุขภาวะหลายภาคส่วน เพราะฉะนั้นทุกคนที่มาประชุมร่วมกัน เพื่อวางแผนสถานการณ์ร่วมกันในอนาคตว่าจะร่วมอย่างไรบ้าง เช่น ในโรงเรียนจะได้จัดกิจกรรมเป็นชมรมเด็กแกนนำ ส่งเสริมสุขภาวะทางกายในโรงเรียนมากขึ้น และทำให้เห็นว่าจะมีช่องทางร่วมมือกับสาธารณสุขอย่างไรในอนาคต หรือแม้แต่ชุมชน ที่บอกว่าจะมีกระบวนการในการจัดแข่งกีฬา กีฬาพื้นบ้านกีฬาชุมชนต่าง ๆ
การประชุมครั้งนี้เห็นว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี โดยเห็นว่าในตัวเทศบาลนครเชียงราย ต้องการให้นครเชียงราย เป็นเมืองแห่งความสุขเพราะฉะนั้นเราก็เห็นมิติหลาย ๆ ภาคส่วนที่จะมาเชื่อมต่อกันให้มีผลกระทบให้มากที่สุด สำหรับโครงการ เด็ก กาย ดี เป็นโครงการระยะ 12 เดือน ในปี 2566 และจะมีต่อเนื่องอีก เพราะสิ่งที่คาดหวังสูงสุดอยากให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ จังหวัดเชียงรายไปใช้ ไปบรรจุอยู่ในเทศบัญญัติเพื่อที่จะได้มีกิจกรรม มีงบประมาณ มีการส่งเสริม และปฏิบัติในทุกพื้นที่ ทั้งในสถานศึกษา การสาธารณสุข และพื้นที่ของชุมชน จะต้องมีกิจกรรมทางกายมีความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด โดยมีความท้าทายที่จะดำเนินการต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
- คึกคักวันแรก สมัครนายก อบจ.เชียงราย กองเชียร์ล้นทะลัก อาทิตาธร เบอร์1 สลักจิฤฏดิ์ เบอร์2
ด้านนายปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล ประธานแขนงวิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มร.ชร.) ในฐานะผู้ประเมินโครงการ กล่าวว่า จากการหารือมองว่าการปฏิบัติงาน แต่ละหน่วยงานมีอยู่แล้ว แต่เป็นงานรับจากนโยบายชาติสู่นโยบายท้องถิ่น ชุมชน ทำให้เป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ขาดการประสานงานในเชิงกลยุทธ์ ทำให้คิดว่าทำอย่างไรให้กิจกรรมมีมูลค่าเพิ่ม เมื่อทำอออกแล้วชาวบ้าน เจ้าของโครงการผู้ดำเนินงาน หน่วยงานจะรู้สึกว่าภาคภูมิใจว่าโครงการที่ทำในมีคุณค่า
ดังนั้นจึงคิดว่าระดับจังหวัดน่าเข้ามามีส่วนร่วม การออกใบรับรอง หรือการจัดสรร การประกวดการแข่งขัน เมื่อสิ้นสุดโครงการ 1 ปี ควรมีการประกาศรับรองโครงการ ไม่เป็นเพียงแค่การรายงานผลการดำเนินการ ทำให้เป็นเพียงการสำเร็จในผู้ทำงาน แต่ไม่สำเร็จในภาคสังคมในระดับจังหวัดที่กว้างขึัน ที่จะทำให้รับรู้ในสังคมทำให้เกิดความภูมิใจและมูลค่าของโครงการ
สำหรับการประชุมครั้งแรกนี้มีตัวแทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายเข้ามาร่วมประชุมเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ต้องการเห็นสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงได้มีส่วนร่วม เพราะสามารถกำกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เอื้ออำนาจเชิงนโยบาย และสนับสนุนและทิศทางการดำเนินงาน ส่วนการดำเนินงานของมูลนิธิและเครือข่ายเดินแผนงานไป และการประเมินภายหลังโครงการทำให้เห็นความสำเร็จได้ ในนามโครงการ เด็ก กาย ดี เช่นการประเมินโครงการโรงเรียน เด็ก กาย ดี ไม่เป็นเพียงความสำเร็จเพียงคนทำงานและพื้นที่เป้าหมาย แต่ระดับคนที่จะยกภาพลักษณ์ของจังหวัด
ประธานแขนงวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มร.ชร.กล่าวว่า การทำงานขององค์กรเอกชนอิสระ เช่น ทีมโครงการ เด็ก กาย ดี จาก พชภ. ที่ทำงานต่อเนื่องด้านสุขภาวะอย่างยั่งยืน 7 ปี จึงควรจะยกระดับมูลค่าของโครงการ โดยตัวชี้วัดคือชุมชนเข้มแข็งและสุขภาพคนชุมชน ที่ตรวจสอบได้จากดัชนีชี้วัดสุขภาพของ รพ.สต. เช่น มวลร่างกาย หรือการตรวจโลหะหนัก จากที่โครงการเด็กดอยกินดีได้นำโครงการนี้เข้าไปในชุมชน ทำให้มีการตรวจเลือด จึงทำให้พบว่ามีโลหะหนักในเลือดมาก ณ ปีนั้นเป็นค่าอ้างอิง และมาตรวจต่อเนื่องว่าลดหรือเพิ่มอย่างไร นโยบายทางสังคมยังต้องมีการใช้ดัชนีด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาตรวจสอบด้วย ซึ่งใช้เวลาหลายปีถึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงเห็นว่าควรมีการทำวิจัยเก็บข้อมูลเชิงสถิติเป็นฐานเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายที่เห็นได้ชัดด้านสุขภาวะ
ข่าวโดย วรพล ตะติ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: