เชียงราย-ปศุสัตว์เชียงรายเร่งลงพื้นที่บ้านดอยสะโง้ แก้ไขปัญหาหมูดำตาย มีชาวบ้านมานั่งรับฟัง
วันที่ 29 ก.ย.2566 นายจำนงค์ สันกว๊าน นายวัตว์แพทย์ชำนาญการพิเศษ หน.กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สนง.ปศุสัตว์เชียงราย และ น.ส.นัฐชารียา มุสิวัน นายสัตว์แพทย์ชำนาญการ รักษาราชการแทนปศุสัตว์ อ.เชียงแสนได้ลงพื้นที่ตรวจหมูที่ตายเป็นโรคระบาด พร้อมให้คำแนะนำชาวบ้านเกษตรกรเลี้ยงหมูดำ บ้านดอยสะโง้ ม.7 ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งได้มีชาวบ้านชนเผ่าอาข่าราว 10 กว่าคนเข้ารับฟัง
จากการรับปัญหา นายจำนงค์ นายวัตว์แพทย์ชำนาญการพิเศษ หน.กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สนง.ปศุสัตว์เชียงราย เผยว่า ในจังหวัดเชียงราย ได้รับรายงานการตายของหมูทั่วไป ยังมีปริมาณประปรายตามรายงานทั่วจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบผิดวิธี ในส่วนของหมูดำตายที่บ้านดอยสะโง้ เกิดจากที่มีอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้หมูเกิดอาการเครียด ทำให้ภูมิต้านทานของสุกรอ่อนแอ ทำให้เชื่อโรคเข้าสู่ตัวสัตว์ได้ง่าย ทำให้สุกรตายได้ง่าย
ซึ่งได้ชี้แนะให้ชาวบ้านได้เข้าใจ ให้ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงแบบปิด รอบรัวขอบชิด ไม่ว่าจะเลี้ยงไม่กี่ตัว ไปถึงจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่โรคระบาดจะมาจากคน ที่ไปสัมผัสเชื่อ แล้วนำไปสู่เล้าหมูได้ ในการบริโภคช่วงนี้ก็ต้องควรระวัง ในการซื้อเนื้อหมูสดมาทาน ต้องเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ การที่ซื้อหมูมาเลี้ยงของเกษตรกร ห้ามซื้อหมูเข้ามาเลี้ยงรวมกับหมูที่มีอยู่แล้ว เล้าหมูซื้อขายเข้าออกของหมูต้องให้หมดเล้า เป็นชุด ๆ ไป และต้องพักเล้าหมู 30 วัน ฉีดยาฆ่าเชื่อ ถึงจะนำหมูใหม่เข้ามาได้
ข่าวน่าสนใจ:
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- โหดเหี้ยม!หนุ่มถูกมีดฟันยับดับกลางถนน คาดทะเลาะในวงเหล้า
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
ซึ่งในส่วนที่ชาวบ้านดอยสะโง้เลี้ยงหมูดำตายนั้น ต้องการอยากให้รัฐชดเฉย ซึ่งที่ผ่านมาทางรัฐบาลก็มีการชดเฉย แต่ต้องมีการลงทะเบียน ไม่ว่าจะเลี้ยงน้อย หรือเลี้ยงมาก หรือสัตว์อื่น ๆ ต้องลงทะเบียนเพียงนำบัตรประชาชนมาให้เจ้าหน้าที่กรอก ก็สามารถทำได้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบ มีสัตว์นั้นๆตายกี่ตัว และทางรัฐจะชดใช้ให้ 75 เปอร์เซ็นของราคาตลาด และต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากมีการอนุมัติ จะมีเงินโอนเข้าบัญชี่เกษตรกรโดยตรง
ซึ่งจากการมารับฟังปัญหาของชาวบ้าน สงสัยทำไมไม่ได้รับเงินค่าชดเชย ได้แนะนำให้ชาวบ้านต้องไปลงทะเบียนไว้ก่อน ทางรัฐถึงจะชดเชยได้ ซึ่งทั้งนี้ ทางปศุสัตว์จะต้องปรับการเลี้ยงให้ความเข้าใจชาวบ้านที่ไม่เข้าใจ ว่าเลี้ยงน้อยเลี้ยงมาก ไม่ให้หมูตาย ต้องมีการล้างรองเท้าก่อนเข้า และมีเสื้อคลุมก่อนเข้า เพื่อป้องกันหมูตาย เบื้องต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: