เชียงราย-ชาวบ้านโอดครวญ งบประมาณ 3880.85 ล้าน ฟื้นฟูเวียงหนองหล่ม ส่งผลกระทบวิถีชีวิตและระบบนิเวศ
วันที่ 14 มี.ค.2567 ที่ปางควายปาสักหลวง ม.1 ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ชาวบ้านแต่ละปางควาย มารวมตัวกันราว 50 คน โอดครวญถึงปัญหาของโครงการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูเวียงหนองหล่ม บนพื้นที่ 14,220 ไร่ แบ่งเป็นโครงการย่อยอีก 65 โครงการ งบประมาณ 3880.85 ล้าน ซึ่งมีกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทยอยขุดลอกหนองน้ำลึกราว 7-8 เมตร และสร้างคันดินสูง เป็นบริเวณกว้างตามผังโครงการ ซึ่งได้ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตชาวบ้านที่เลี้ยงควาย และหาปลา ระบบนิเวศน์สัตว์บก-น้ำขนาดเล็กจากการสอบถามชาวบ้าน ทราบว่า ชาวบ้านเลี้ยงควายประมาณ 2,000 ตัว ซึ่งก่อนที่จะมีการขุดลอกหนองน้ำ มีประชาคมไปแล้วหลายครั้ง จนมีข้อสรุปจากชาวบ้านขอขุดไม่เกิน 2 เมตร เนื่องจากควายจะสามารถลงน้ำได้ และมีหญ้ากินตามพื้นที่ชุ่มอุ้มน้ำ ซึ่งปัจจุบันมีการขุดลงไปลึกราว 7-8 เมตร ควายไม่สามารถลงไปได้ เนื่องจากคันดินสูง อีกทั้งดินที่ขุดขึ้นมาทับถมปรับพื้นที่โดยรอบ ไม่มีแร่ธาตุหญ้าไม่สามารถขึ้นได้ เป็นพื้นดินแห้งแตก ปลา-ปู-กุ้ง-นก-หอย-สัตว์ขนาดเล็กที่หากกินตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นหากินวัชพืชเป็นอาหารเริ่มทยอยหาย หากมีการนำปลามาปล่อยใหม่ กว่าปลาจะโตคงไม่ทันคนหาปลาเลี้ยงชีพ ซึ่งทราบว่าคนที่มาหาปลา มีหลายอำเภอละแวกใกล้เคียงเวียงหนองหล่ม หาปลาเลี้ยงชีพ ส่งเสียลูกจนเรียนจบซึ่งผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ พบว่าบริเวณโดยรอบโครงการพัฒนาเวียงหนองหล่ม พบว่ามีเครื่องจักร และรถขนาดใหญ่ทำการปรับหน้าดิน มีบางแห่งมีคันดินที่สูงราว 10 เมตร หนองน้ำไม่มีวัชพืช ควายที่กำลังหาหญ้าแห้งกิน มีพื้นที่เป็นหญ้าน้อยมาก ซึ่งอย่างไรก็ตาม ชาวบ้านอยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขุดลงไป 2 เมตร ไม่ใช่ขุดลงไป 7-8 เมตร ควายที่ไหนจะลงไปในน้ำได้ อีกทั้งคันดินสูงควายตกลงไปขึ้นไม่ได้ และดินที่ขุดขึ้นมาปรับหน้าดิน เป็นดินไม่มีแร่ธาตุ หากปลูกหญ้าก็ไม่ขึ้น หรือปลูกได้ไม่ทันควายที่กำลังอดกินหมด อยากจะขอให้โครงการขุดเท่านี้พอ ขอเว้นช่วงที่ไม่ได้ขุดให้ชาวบ้านได้ดำรงวิถีชีวิตแบบดังเดิมตามปู่ย่าตายาย ที่มีมาไม่ต่ำกว่า 300 ปีด้านนายธนพัฒน์ แว่นนันท์ ตัวแทนชาวบ้าน (พร้อมด้วยคณะทำงาน) เผยว่า หลังจากมีการประชุมหารือร่วมกับชาวบ้าน 3 หมู่บ้าน โดยชาวบ้านขอให้มีการทบทวนในการขุดลอกให้เหลือ 2 เมตร ตามที่ได้ยื่นข้อเสนอให้ชาวบ้านตั้งแต่แรก และเตรียมจะยื่นหนังสือให้กรรมาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการทบทวน อีกครั้ง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: