เชียงราย-แพเปียกที่ตำบลแม่คำจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ไปแบบช้าๆ ที่ต้องฝ่าดงน้ำ 2 ฝั่ง ไม่ต้องใช้ไม้ถ่อแพ แต่ใช้คนลากจูงไปแบบช้าๆ เนิบๆ แต่มันที่ต้องฝ่าดงน้ำ
วันที่ 25 มี.ค.2567 ที่บริเวณตำบลแม่คำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ฝายน้ำล้นผาม้า ขุดลอกสายน้ำคำตลอดสายน้ำ เพื่อนำน้ำไปใช้ทำการเกษตร ซึ่งก็มีชาวบ้านในพื้นที่ ได้มีแนวคิดในช่วงฤดูแล้ง และสงกรานต์นี้ เปิดล่องแพเปียกเป็นครั้งแรก เพื่อให้ชาวบ้านนำอาหารเครื่องดื่มมาขายริมสายน้ำคำ ซึ่งเปิดเป็นครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ไปจนถึง 25 เม.ย 67 ซึ่งเปิดครั้งแรกมีนักท่องเที่ยวต่างท้องที่ และคนในพื้นที่ เดินทางมาเที่ยวเล่นน้ำคลายร้อนกันเป็นจำนวนมาก วันละประมาณ 1,500 คนต่อวัน ซึ่งก็สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งทางชุมชนก็จะมีบริการซุ้มในนั่งทานอาหารแช่น้ำเย็นสบาย สามารถพาเด็กลงเล่นน้ำได้ นั่งแช่น้ำกันได้ทั้งวัน และน้ำจะไหลช้าต่างจากแหล่งน้ำของที่อื่น ทำให้แพเปียกที่ตำบลแม่คำ เป็นแพเปียกที่ไหลช้าที่สุด และจะมีความมันในการล่องแพเปียก
ด้านนายวีระยุทธ์ ไมตรีจิตร (เจมส์) เผยว่า ปีที่ผ่านมาเคยเปิดให้คนในชุมชนมาเล่นน้ำไม่มีอะไรมาก แต่ปีนี้เปิดเป็นครั้งแรกเต็มรูปแบบ มีซุ้มนั่งร้านอาหาร 300 ซุ้มรองรับนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก วันละประมาณ 1,500 คน หากช่วงเทศกาลสงกรานต์คนจะแห่มาเที่ยว 10 เท่า ซึ่งวันที่ 9 เม.ย จะมีพิธีสืบชะตาสายน้ำคำ จะมีชาวบ้านตำบลแม่คำมาจำนวนมากมาร่วมพิธีมากกว่าทุกปี และยังมีการประกวดร้องเพลง การละเล่นพื้นบ้านมากมาย และจะมีการตักทรายเข้าวันตามพิธีทางศาสนาของล้านนา
ซึ่งจุดความมันของการล่องแพเปียกที่ตำบลแม่คำ การล่องแพเปียกจะช้า น้ำไหลช้า ระหว่างที่ล่องต้องฝ่าดงน้ำระหว่าง 2 ฝั่ง ที่มีคนนั่งในซุ้ม จะพากันสาดใส่แพเปียกที่ล่องมาอย่างสนุกสนาน กว่าจะใช้เวลาฝ่าดงน้ำ 2 ฝั่งได้ต้องใช้เวลาราว 40 นาที ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกคนในพื้นที่และอำเภอใกล้เคียงไม่ต้องไปคลายร้อนไกล ที่ตำบลแม่คนยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่าน
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: