เชียงราย-กรมทรัพยากรธรณี จัดงานครบรอบ“1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว : บทเรียนสำคัญสู่ความร่วมมือการจัดการธรณีพิบัติภัยอย่างยั่งยืน” จังหวัดเชียงราย
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18.08 น. เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ครั้งรุนแรงที่สุดในประเทศไทย ขนาด 6.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลดงมะตะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เหตุการณ์ครั้งนั้น สร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนประชาชนกว่า 10,000 หลังคาเรือน ศาสนสถานต่าง ๆ โรงเรียน ถนนเกิดรอยแยกเป็นทางยาวหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย และอาคารสูงในกรุงเทพมหานครสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดงานประชุมสัมมนา เรื่อง “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว : บทเรียนสำคัญสู่ความร่วมมือการจัดการธรณีพิบัติภัยอย่างยั่งยืน” จังหวัดเชียงราย ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักและถอดบทเรียนจากแผ่นดินไหวสู่องค์ความรู้ในการป้องกันและเตรียมความพร้อมรับมือในอนาคต ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของทุกภาคส่วน ไปสู่การขับเคลื่อนการจัดการธรณีพิบัติภัยอย่างเป็นรูปธรรม ผู้เข้าร่วมงานประชุมประกอบด้วย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) หน่วยงานราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ชุมชน เครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย และประชาชนในจังหวัดเชียงรายกว่า ๓๕- คน รูปแบบการประชุม ครั้งนี้ประกอบด้วย การเสวนาถอดบทเรียน ในหัวข้อ “ถอดบทเรียน ๑0 ปี แผ่นดินไหวเชียงราย สู่ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการป้องกันและลดผลกระทบจากพิบัติภัยธรรมชาติ ” โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ด้านแผ่นดินไหว การบรรยายพิเศษ “บทบาทของสถาบันการศึกษาและภาคีเครือข่ายเยาวชนในการร่วมขับเคลื่อนการบริหารจัดการ ภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” และ การอภิปราย เรื่อง “บทเรียนสำคัญสู่ความร่วมมือการจัดการธรณีพิบัติภัยอย่างยั่งยืน” ภายในงานจะมีนิทรรศการองค์ความรู้ด้านธรณีพิบัติภัย
นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีข้อสั่งการมอบหมายให้กรมทรัพยากรธรณี เร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจและความเชื่อมั่นแก่ประชาชน โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแจ้งเดือนภัย เร่งติดตั้งเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว จัดทำแผนที่แสดงจุดปลอดภัยและซักซ้อมแผนอพยพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
“กรมทรัพยากรธรณี นำองค์ความรู้ทางวิชาการด้านธรณีพิบัติภัยมาใช้เพื่อลความสูญเสีย ผละลตผลการะทบต่อทุมชน บนหลักการ “อยู่ในพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัย อยู่อย่างไร ให้ปลอดภัยอย่างยั่งยืน” โดยถ่ายทอดสู่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้อาศัยอยู่อย่างมั่นใจและปลอดภัย เสริมสร้างศักยภาพของภาคีเครือข่ายและชุมชนให้พร้อมรับมือธรณีพิบัติภัย และสามารถพื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่อประสบภัย รวมถึงประชาชนทั้งที่อยู่ในเขตเมืองที่เสี่ยงต่อแผ่นตินไหว และประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่สูงที่เสี่ยงต่อการดินถล่ม จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวทางประสบการณ์การดำเนินชีวิตได้รับรู้วิธีการอยู่อาศัยในที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัย สามารถนำไปปรับใช้ได้กับชีวิตประจำวัน และมีศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยได้อย่างมีสติ” นายพิชิต กล่าว
ประเทศไทยมีกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังทั้งหมด 16 กลุ่มรอยเลื่อนกระจายในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ พาดผ่าน 23 จังหวัด โดยรอยเลื่อนมีพลังที่สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางที่ประชาชนรู้สึกได้อยู่ในภาคเหนือ เช่น กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน กลุ่มรอยเลื่อนแม่ลาว กลุ่มรอยเสื่อนแม่ทา กลุ่มรอยเลื่อนพะยา กลุ่มรอนเลื่อนเถิน กลุ่มรอยเลื่อนแม่อิง กลุ่มรอยเอนเวียงแหง กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน กลุ่มรอยเมย กลุ่มรอยเลื่อนปัว กลุ่มรอยเสื่อนอุตรดิตถ์ และรอยเลื่อนเพชรบูรณ์ ภาคตะวันตก อาทิ กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และกลุ่มรอยเสื่อนศรีสวัสดิ์ และภาคใต้ ประกอบด้วย กลุ่มรอยเลื่อนระนอง และกลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย
ทั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการ สำรวจศึกษา ติดตั้งเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว เพื่อติดตามประเมินผลกระทบแผ่นดินไหว แผ่นดินไหว ตามรอยเลื่อนที่ช่อนตัว จัดทำแผนที่แสดงภัยพิบัติแผ่นดินไหว แผนที่แสดงจุดปลอดภัยสำหรับเป็นจุดรวมพลชั่วคราวและการอพยพกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว จัดทำแผนการชักซ้อมอพยพภัยแผ่นดินไหว ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ เผยแพร่แผนที่ มาตรการเกี่ยวกับแผ่นดินไหวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ และสร้างความเข้าใจกับประชาชน แนะนำข้อปฏิบัติให้ประขาชนเตรียมรับมือแผ่นดินไหว เพื่อความปลอดภัย และลดความตระหนกให้เกิดความสบายใจในการอยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยง
ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี มีแผนการดำเนินงานต่อไปในอนาคต โดย เร่งดำเนินการใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการประเมินสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยของประเทศ เช่น ศึกษารอยเสื่อน มีพลัง รอยเลื่อนที่ซ่อนตัว จัดทำแผนที่ภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่แม่นยำ นำไปสู่การใช้ประโยซน์เพื่อการอพยพหลบภัย และการออกแบบอาคารรองรับแผ่นดินไหวตามหลักวิชาการ โดยเน้นการศึกษา วิจัยธรณีพิบัติภัยเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการประเมินสถานการณ์แผ่นตินถล่มเพื่อการเฝ้าระวังเตือนภัยที่แม่นยำ และทันท่วงที พร้อมสร้างภาคีเครือข่ายประชาชน ถ่ายทอดองค์ความรู้ ซักซ้อมการรับมือธรณีพิบัติภัยให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศในทุกภัย ในรูปแบบ “อาสาสมัครพิทักษ์ธรณี รู้วิธีพิชิตธรณีพิบัติภัยเพื่อความปลอดภัยในการอยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงกันอย่างยั่งยืน” นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าว
ข่าวโดย : นางจันทร์ฉาย สมศักดิ์ศรี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: