เชียงราย-แห่กราบขอโชคพระ 100,000 แซ่ หนึ่งเดียวในประเทศไทยไม่มีที่ไหน เป็นพระองค์ที่มีความสวยงาม เตรียมไปแห่ขบวน สวมชุดแต่งกายล้านนา และเมียนมา ร่วมแห่องค์พระแสนแซ่
วันที่ 10 มิถุนายน 2567 ที่บริเวณพระเจ้าสาน ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย ซึ่งเป็นวันที่มีชื่อเสียง พระสิงห์สานชนะมาร พระพุทธรูปสานด้วยไม้ไผ่ปางมารวิชัย องค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สานด้วยไม้ไผ่ หน้าตักกว้าง 9.9 ศอก สูง 19 ศอก เป็นพระพุทธรูป ลักษณะพระสิงห์หนึ่งเชียงแสน ใช้เวลาสร้าง 99 วัน ใช้ไม้ไผ่ทั้งหมด 39,000 ท่อน ซึ่งทางวัดได้จัดสร้างพระสมเด็จองค์ปฐมมหาจักรพรรดิหลวงแสนแซ่ ขึ้นมาอีกองค์ที่มีหน้าตัก 5 เมตร สูง 7 เมตรครึ่ง น้ำหนัก 28,000 กิโลกรัม ทำจากทองเหลืองโดยทางพระครูหิรัญอาวาสวัตร เจ้าอาวาสวัดหิรัญญาวาส (พระเจ้าสาน) ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย เผยว่า เมื่อปี 2564 ได้มีศรัทธาชาวพุทธไทยและชาวเมียนมา ได้ร่วมสร้าง พระองค์สมเด็จองค์ปฐมมหาจักรพรรดิหลวงแสนแซ่ ตามคนโบราณหากที่ไหนมีโรคระบาดจะสร้างพระแสนแซ่ ขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งการออกแบบสร้างทำแบบสมัยโบราณ แบ่งเป็น 3 ส่วน และจะมีลงสลัก-เดือย แบบโบราณ ซึ่งที่แปลกที่สุดจะไม่เหมือนที่ไหนในประเทศไทย ว่าได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย จะใช้พระองค์ขนาดเล็กจำนวน 100,000 องค์ เสียบไปที่ช่องที่ทำไว้ เมื่อเสียบครบจะคล้ายเป็นเสื้อเกราะหรือชุดผ้าไตรห่มพระพุทธรูป พระองค์สมเด็จองค์ปฐมมหาจักรพรรดิหลวงแสนแซ่ พร้อมกับลงสีจะทำให้ตัวรูปพระพุทธรูปประดับไปด้วยพระองค์ขนาดเล็กทั่วรูป
ซึ่งในพิธีจะมีสวดคาถามหาจักรพรรดิ วันละ 10,000 บทสวด รวมแล้วประมาณ 10 วันจะได้บทสวด 100,000 บท เท่ากับพระพุธรูปองค์เล็ก หรือตามชื่อ 100,000 แซ่ พระครูหิรัญอาวาสวัตร กล่าวว่า ซึ่งพิธีเริ่มตั้งแต่ 10 มิ.ย.ไปจนถึงวันที่ 20 มิถุนายน 67 เวลา 15.00 น. จะมีการมีประกอบพิธีอัญเชิญชักลากพระสมเด็จองค์ปฐมมหาจักรพรรดิหลวงแสนแซ่ ชักลากแบบโบราณ โดยจะให้ศรัทธาญาติโยมชักลาก ไปประดิษฐาน ณ ศาลาปฏิบัติธรรมเยาวนิจ ซึ่งในขบวนจะเดินลากแบบโบราณมาการแต่งการวัฒนธรรมล้านนา และชาวเมียนมา ที่มาเข้าร่วมพิธี
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: