เชียงราย-จังหวัดเชียงราย จัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28กรกฎาคม 2567
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอแม่ลาว ตำบลป่าก่อดำ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย นายรุ่งโรจน์ ตันวุฒิ นายอำเภอแม่ลาว เป็นประธานในพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28กรกฎาคม 2567 โดยมีนายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย กล่าวรายงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชน สมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของโครงการธนาคารโค-กระบือฯ ในพื้นที่ เข้าร่วมพิธีเนื่องในโอกาสมหามงคลพุทธศักราช 2567 กรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการ มอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีกิจกรรมไถ่ชีวิตโค-กระบือ เพื่อนำไปส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ การมอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือแก่เกษตรกรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการเป็นกรณีพิเศษ พร้อมการบริการด้านสุขภาพสัตว์สำหรับการดำเนินงานตามโครงการมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดเชียงราย ได้มอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือแก่เกษตรกรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาของโครงการเป็นกรณีพิเศษ เกษตรกรที่ส่งคืนลูกตัวแรกให้กับโครงการและอยู่ในสัญญามาไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 796 ราย จำนวนแม่สัตว์และรวมลูกโค-กระบือ ตัวที่ 2 ,3 , 4 จำนวน 1,642 ตัว แยกเป็นโค 1,173 ตัว กระบือ 469 ตัว เป็นมูลค่า รวม 55,217,750 บาทโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ เป็นโครงการพระราชดำริโครงการหนึ่ง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งกรมปศุสัตว์รับสนองพระราชดำริ ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรให้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงานและเพิ่มผลผลิตทางก
ข่าวน่าสนใจ:
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาโครงการฯ ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงรายไปแล้วกว่า 6,000 ราย และยังมีเกษตรกรอยู่ในความดูแลของโครงการกว่า 2,000 ราย โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินงาน ประกอบกับมีการทำงานบูรณาการร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ตลอดจนมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ เช่นการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยในไร่นา การทำแก๊สชีวภาพ การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: