X

เมืองเชียงแสนเมืองโบราณเก่าแก่ของประเทศไทย

เชียงราย-เมืองเชียงแสนเป็นเมืองเล็กๆ ในจังหวัดเชียงรายและเป็นหนึ่งในเมืองโบราณเก่าแก่มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่เลียบแม่น้ำโขง แม่น้ำสายนานาชาติไหลผ่านประเทศมากกว่า 6 ประเทศ ให้ผู้คนได้อาศัยหาปลาและลำเลียงสินค้า ชาวเชียงแสนใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสงบสุข ท่ามกลางโบราณสถานมากมายกระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่างๆทั่วทั้งอำเภอ

15 ก.พ.2562 เรื่องราวบนพื้นที่ราบริมฝั่งตะวันตกแม่น้ำโขง ล้านนาสั่งสมเวลามายาวนาน จากแผ่นดินสู่อีกแผ่นดินหนึ่ง ก่อนเรื่องราวของอาณาจักรล้านนาจะเริ่มขึ้นมีอาณาจักรยิ่งใหญ่ที่ถือเป็นต้นกำเนิดแห่งอาณาจักรทางตอนเหนือของไทยคือ อาณาจักเชียงแสน พื้นที่ราบริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงถูกกล่าวขวัญผ่านตำนานประวัติศาสตร์เรื่องราวผูกโยงก่อนอาณาจักรล้านนาจะมีตัวตนเสียอีก เพียงแค่การยืนยันจากหลักฐานทางโบราณสถานที่หลงเหลือไม่อาจรองรับความเก่าแก่ระดับตำนานได้ เวียงหนองหล่ม จึงดำดิ่งไปกับตำนานสถาปัตยกรรมโบราณ เล่าความกลับไปไม่มากนัก ทว่าบ่งบอกเรื่องราวเติมเต็มให้กับล้านนาได้มากมายเจดีย์วัดป่าสัก (เป็นวัดร้าง) แต่ครึ้มไปด้วยต้นไม้ องค์เจดีย์ป่าสักค่อนข้างสมบูรณ์แบบ(ผ่านการบูรณะพองาม) ฐานเจดีย์มณฑปยอดระฆัง 5 ยอด รูปแบบสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลมาจากหิริภุญไชย ฐานเจดีย์เป็นซุ้มพระ 12 ซุ้ม รูปแบบฐานคล้ายกับองค์เจดีย์กู่กุดจังหวัดลำพูน ส่วนมณฑปถึงยอดรับอิทธิพลมาจากเชียงยัน ด้านศิลปกรรมได้รับอิทธิพลมาจาก พุกาม ขอม สุโขทัย รวมๆกันแล้วเจดีย์วัดป่าสักค่อนข้างพิเศษ ดูแปลกตานักวิชาการหลายสาขากำหนดให้เป็นเจดีย์แบบพิเศษ (แบบเชียงแสน-เชียงใหม่)แนวกำแพงเมือง เรียงตัวไว้รายล้อม ชวนให้นึกถึงพญาแสนภู (กษัตริย์ราชวงค์มังรายลำดับที่3) พระราชนัดดาของพญามังราย (ปฐมกษัตริย์ล้านา) ทรงสถาปนาเมืองเชียงแสนแห่งนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 1871 หลังจากถูกทิ้งร้างด้วยความรุ่งเรืองใหม่ของอาณาจักรล้านาที่มีเวียงพิงค์ (เชียงใหม่) เป็นราชธานี โดยมีขนาดกว้าง 700วา ยาว 1,500 วา มีป้อม 8 แห่ง เมืองเชียงแสนถูกสร้างขึ้นบนเมืองเก่าที่ร้างไปแล้ว คาดว่าเป็นการสร้างทับ เมืองเงินยางในอดีตทำให้บางครั้งเราได้ยินคนพูดถึงเมืองว่า เมืองเงินยางเชียงแสน บ้าง หรือ หิรัญนครเงินยาง บ้าง ทั้งนี้ก็หมายถึง เมืองเชียงแสน อีกเช่นกัน เมื่อสร้างเมืองเสร็จ พญาแสนภูก็ประทับที่เชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพ เป้าหมายที่แท้จริงของการสร้างเมืองเชียงแสนคือการวางยุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางเมืองตอนบนและป้องกันข้าศึกทางด้านทิศเหนือ ช่วงหนึ่งเชียงแสนถึงถูกยกระดับให้มีความสำคัญเหนือเมืองเชียงใหม่ ด้วยซ้ำไป พระธาตุเจดีย์หลวง แม้เจดีย์องค์ไม่ใหญ่ที่สุดในล้านนา แต่ในเชียงแสนนี้ไม่มีเจดีย์ใดองค์ใหญ่กว่านี้อีกแล้ว ทางเข้าเป็นประตูซุ้มเก่าแก่ ผมนึกเล่นๆๆว่าถ้าซุ้มประตูนี้ในอดีตเป็นซุ้มประตูโขงอย่างวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ หรือวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง คงเข้าทีลวดลายคงพิถีพิถันไม่น้อย แต่โบราณสถานจะเป็นเช่นไรหลงเหลือเช่นไรยอดหัก หรือเหลือเพียงเสา โบราณสถานเหล่านั้นก็ยังคงความงดงามในตัวเอง ภาพซุ้มประตูที่ผมนึกถึงก้อดี หรือภาพซุ้มที่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ก็ดี ถ้ามันไม่ถูกต้องในรูปแบบของซุ้มเดิม ไปกันคนละทิศละทาง ต่อให้สร้างสวยงามยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็เป็นแค่เงาเบลอเบือนบนใบหน้าประวัติศาสตร์เท่านั้นเองแต่หลายอย่างก็เป็นข้อจำกัดบางทีจึงต้องยอมให้เกิดเงาดีกว่าปล่อยให้รากเหง้าของตัวเองสูญหายใช่หรือไม่ฐานเจดีย์แปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆังกลม รอบบริเวณก็ยังมีเจดีย์ธาตุต่างๆอีก 4 องค์ ผมแหงนคอมองปลายยอดแล้วยกมือไหว้ ก่อนเดินอ้อมผ่านซุ้มก่อนออกจากวัด พลางคิดถึงหนังสือ Temple and Elephents ของCarl Bock (หนังสือเล่มนี่ได้รับการยกย่องจากษมาคม Geographicical Socity of Lisbon มอบเหรียญทองให้และ Geographical Societies of Rome and Samarang กับ Anthropologicical of Florence ก็เชิญเป็นษมาชิกกิตมาศักดิ์ ตลอดจนได้รับเหรียญตราเกียรติยศจากกษัตริย์ Franz Bock ของ Austria ด้วยอีกทั้งยังอ้างอิงในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์เอเชียของมหาวิทยาลัย Standford ทั้งยังเป็นหนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องราวของชาติไทยที่ผิดเพี้ยนบิดเบือนน้อยที่สุดในสมัยรัชกาลพระพุทธเจ้าหลวง และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้กำกับและผู้สร้างภาพยนต์หลายเรื่องใน Holywood เอาไปสร้างภาพอดีตในฉากภาพยนตร์หลายตอนที่กล่าวถึงประเทศไทยในยุคนั้นอย่าง เรื่อง Ana and The King Aiexander มีตอนหนึ่งจากบันทึกของ Carl Bock กล่าวว่า …ตามที่พื้นดินมีระพุทะรูปสำฤทธิ์กองอยู่เกลื่อนกลาดบางองค์มีขนาดใหญ่โตมาก…ข้าพเจ้าไปดูตามซากพระเจดีย์หลายแห่ง และไปพบพระพุทธรูปแบบประทับนั่งอยู่ใต้เศียรพญานาค 5 หัว ซึ่งขดอยู่รอบองค์พระในเจดีย์องค์หนึ่งในการเข้าไปหาพระพุทธรูปองค์นี้ ข้าพเจ้าแทบสำลัก   เมื่อเจ้าราชสีห์เห็นพระพุทธรูปที่ข้าพเจ้าเอามาก็ห้ามข้าพเจ้าเอาเข้าบ้านหรือในบริเวณบ้าน อ้างว่าจะทำให้ผีป่าเข้าบ้านและสั่งให้นำพระพุทธรูปเอาไปไว้ที่วัดตรงข้ามบ้านและทิ้งไว้ที่นั้นจนกว่าข้าพเจ้าจะกลับ ….เมื่อมาถึงตอนนี้ข้าพเจ้าก็อยากจะกลับเชียงใหม่เหลือเกินจึงไปหาเจ้าหลวง(เชียงราย)เพื่อขอให้ช่วยส่งคน 30 คนไปยังเมืองฝางเพื่อขนข้าวของและพระพุทธรูปที่ข้าพเจ้าสะสมเอาไว้ที่นั่นกลับมา…ผมเข้าใจว่าแต่ก่อนนั้นคนไทยยังเห็นความสำคัญทางประวัติศาสตร์น้อยมากแต่ที่ดูเหมือนหวงนั้นเพราะกลัวเสียมากกว่านี้คงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เขตซากเมืองเก่าเชียงแสนทุกวันนี้มีบ้านเรือนแทรกอยู่ทุกมุมทุกจุด สถูปโบราณอายุกว่า 1000 ปี อยู่ติดกับบ้านราวกับเป็นส่วนหนึ่งของบ้านนั้นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเชียงแสนมองเห็นวัดร้างเก่าแก่แห่งหนึ่งชื่อ วัดมุงเมือง ภายในวัดมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 4 ชั้นรองรับฐานปัทม์ย่อมุมมีเรือนธาตุและซุ้มทิศทั้ง 4 ด้านส่วนยอดเป็นองค์ระฆังเจดีย์เล็กๆๆประดับอยู่ที่มุมวัดนี้ไม่ปรากฏการสร้างจากรูปทรงและสถาปัตยกรรมพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นที่ประดิษฐานในซุ้มทิศพอจะอนุมานได้ว่าคงสร้างขึ้นภายหลังวัดป่าสักเราะมีวิวัฒนาการรูปแบบเพิ่มมากขึ้นคงมีอายุอยู่ราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 20 วัดมุงเมืองเข้าสู่ วัดพระบวช ตามตำนานกว่าว่าพระเจ้ากือนา ทรงสร้างขึ้นในปี พ.ศ .1889 เมื่อพระองค์ยังดำรงตำแหน่งรัชทายาทเมืองเชียงแสนอย่างไรก็ดีรูปทรงสถาปัตยกรรมขององค์พระเจดีย์ตามการขุดค้นบูรณะของกรมศิปากร เมื่อปี พ. ศ 2514 พบหลักฐานว่ามีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 กลับสู่กลางซากเมืองเก่าอีกครั้งเพื่อนมัสการพระพุทธรูปที่เคารพของชาวเชียงแสนเป็นอย่างมากพระพุทธรูปที่กล่าวคือ พระเจ้าล้านทอง (พระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด)ในวัดพระเจ้าล้านทอง นี้มีพระเจดย์ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมขนาดใหญ่ มีพระเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมขนาดเล็กตั้งอยู่ตอนบนเจดีย์องค์นี้คาดว่าสร้างขึ้นภายหลังเพราะขนาดไม่ได้สัดส่วนกับฐาน ตามตำนานกล่าวว่าพระยารัชฎเงินกอง โอรสพระเจ้าโลกราชสร้างขึ้นในปี พ. ศ 2030วิถีชีวิตชาวเชียงแสนอดีตกับปัจจุบันอยู่ใกล้กันราวกับเป็นสิ่งสิ่งเดียวกันภาพหญิงแก่ถือสลุง(ขันเงิน)ไปวัด ภาพซากวัดซากเมืองเก่า งานก่อสร้างสมัยใหม่ตึกรามบ้านช่องผุดขึ้นท่ามกลางซากเมืองเก่า แสงแดดเริ่มแรงมากขึ้นแล้วทักทายผู้คนไต่ถามถึงวัดริมฝั่งโขงผู้ชายท่าทางแข็งแรง(คนแบกผลไม้จากเรือสินค้าจีน)ผมบอกเขาว้าไปวัดผ้าขาวป้านสิ..อยู่ติดกับริมฝั่งโขงเลย ภายในวัดผ้าขาวป้านมีพระเจดีย์ฐานสูง มีเรือนธาตุและซุ้มทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนแสดงปางประทานอภัย และพระพุทธรูปปางลีลา ส่วนยอดเจดีย์ทรงกลม ประวัติวัดผ้าขาวป้านตามตำนานกล่าวว่าพญาลาวแก้วมาเมืองโอรสพระลวะจักรราชสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1304 แต่หลักฐานทางสถาปัตยกรรมคาดว่าองค์พระเจดีย์น่าจามีอายุและการสร้างขึ้นภายหลังพระธาตุจอมกิติและเจดีพระเจ้าล้านทองคือราวพุทธศตวรรษมที่ 21 วัดบนเนินเขา และวิวเมืองเชียงแสนเขตปันแดนธรรมชาติแม่น้ำโขง วัดในเชียงแสนที่อยู่บนเนิน ก็เห็นจะมีอยู่ 2 วัด ที่มีชัยภูมิดีคือ วัดพระธาตุจอมกิติ กับ วัดพระธาตุผาเงาวัดพระธาตุผาเงา อยู่ทาวทิศใต้ของเมืองตรงบริเวณพระธาตุผาเงาด้านบนเป็นจุดชมวิวริมโขงอย่างชัดเจนและกว้างไกลมากหากท่านที่ต้องการภาพลำน้ำโขงโดยมีแผ่นดินทั้ง 3 ชาติด้วยแล้วนั้นไม่น่าพลาดที่นี่ทีเดียวเพราะสวยงามมากฝั่งไทยมองออกไปมีป่าไม้บางๆปนอยู่กับบ้านเรือน แม่น้ำกก แม่น้ำคำ และยอดดอยเชียงรายฝั่งลาวมองเห็นผืนป่า(ต้นงิ้วป่าขึ้นอย่างแน่นหนา)อุดมสมบูรณ์ คนลาวเค้ารักธรรมชาติมากกว่าบ้านเราเสียอีกฝั่งพม่าอยู่ไกลลิบไปทางตะ วันตก หากขึ้นมาในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจคงไม่เห็นส่วนแม่น้ำโขงทอดสายยาวไหลเชียวดุดันสีของสายน้ำขุ่นคล้ายเป็นสีโอวัลติน สานน้ำโขงทรงพลังทำหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติกั้นแนวเขตระดับชาติได้เป็นอย่างดีช่วงหน้าแล้งอย่างนี้น้ำโขงบางจุดเผยทรายกลางน้ำกว้างๆบางครั้งก็นึกสนุกอยากไปวิ่งเล่นดูสักครั้งเหมือนกันวัดพระธาตุจอมกิติ วิวจากดอยจอมกิตอนี้มองไม่เห็นเมืองเชียงแสนได้กว้างไกลมากนักเท่ากับดอยวัดพระธาตุผาเงาเพราะทางด้านซ้ายติดป่าส่วนแม่น้ำโขงก็มองเห็นไกลออกไปตามตำนานกล่าวว่าพระเจ้าพังคราชกษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกองค์ที่ 24 และพระเจ้าพรหมมหาราช ราชโอรส ทรงสร้างขึ้นราว พ. ศ .1483 เพื่อบรรจุเอาพระบรมสารีริกธาตุ 11 องค์จากทั้งหมด 16 องค์ เอาไว้ภายใน(พระบรมสารีริกธาตุส่วนอื่นๆๆก็กระจัดกระจายตามองค์เจดีย์พระธาตุอื่นๆในจังหวัดเชียงราย เช่น พระธาตุดอยจอมทอง จอมจ้อ จอมสัก จอมแว่ จอมแจ้ง และพระธาตุดอยตุง เป็นต้น) พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน แวะเป็นจุดสุดท้ายพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน เป็นสถานที่ที่มีคุณค่ามากมายมหาศาลทีเดียวเลยถือเอาสถานที่แห่งนี้เป็นจุดสุดท้าย ย้อนรอยอดีตโยนกเชียงแสนและล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 18-19 นั้นได้มีการกล่าวไว้ในพงสาวดารโยนกว่าได้เกิดชุมชนนครโคมคำ เมืองโยนก นาคนครเชียงแสน และอาณาจักรล้านนาไทยขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ตั้งแต่สิบสองปันนาลงมา จนถึงเมืองหริภุญชัย(ลำพูน)นั้นได้มีเจ้าครองนครสำคัญคือ พญาสิงหนวัติ พระเจ้าพังคราช พระเจ้าพรหมหมาราช และ พญามังราย (ครองราชย์ที่เมืองเงินยาง เมื่อราว พ.ศ. 1804

พญาสิงหนวัติ ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้สถาปนาเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัติขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย เมื่อ พ. ศ .1117 โดยทำการแย่งชิงที่ดินจากพวกขอมดำ หรือ กล๋อม ที่มีอิทธิพลอยู่ในแถบนั้น ทำให้ต้องพากันหนีไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้ บริเวณถ้ำอุโมงค์เสรานครครั้งนั้นพญาสิงหนวัติ ได้รวบรวมเอาพวกมิลักขุหรือ คนป่าคนดอยเข้ามาอยู่ในอำนาจของเมืองโยกนาคนครทำให้มีอาณาเขตทิศเหนือติดเมืองน่าน ทิศใต้จรดปากน้ำโพ ทิศตะวันออกจรดแม้น้ำดำ ในตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำสาละวินโดยมีเมืองสำคัญคือ เมืองไชยปราการ บริเวณแม่น้ำฝาง และแม่น้ำกก ดินแดนทางใต้สุด คือเมืองกำแพงเพชร

อาณาจักรโยนกนาคนครแห่งนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่น พญาพังคราช พระเจ้าพรมหมราช พระเจ้าไชยสิริ ต่อมาในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ พ.ศ.1552 อาณาจักร โยกนกนาคนคร ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องมาจากพนังกั้นน้ำ หรือเขื่อนเหนือน้ำพังทลายลง ทำให้ที่ตั้งของเมืองกลายเป็นแหล่งน้ำใหญ่ (เข้าใจเป็นบริเวณที่เรียกว่า เวียงหนองหล่ม ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากทะเลสาบ เชียงแสนและบริเวณแม่น้ำกก ต่อกับแม่น้ำโขงใกล้วัดพระธาตุผาเงา) จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงค์กษัตริย์ และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตด้วยเหตุน้ำท่วมเมืองทั้งหมดส่วนชาวบ้านที่รอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งคนกลุ่มหนึ่งมิใช่เชื้อสายราชวงค์ขึ้นดูแลพวกตน เรียกว่า ขุนแต่งเมืองจึงเป็นเหตุของชื่อ “เวียงปรึกษา” ขึ้น อีก 98 ปี อาณาจักร โยนกนาคนครจึงสิ้นสุดลง

ต่อมา พญามังราย ผู้สืบเชื้อสายมาจากผู้เมืองเงินยางเมืองเชียงแสน ได้ทรงทำการรวบรวมอาณาจักรล้านนาไทยที่กระจัดกระจายให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่และทำการสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเมื่อ พ.ศ.1805 ครั้งนั้นพระองค์ทรงยกทัพเข้ายึดอาณาหริภุญชัยจากพวกมอญเชื้อสายของพระนางจามเทวี ได้ใน พ.ศ. 1835 แล้วทำการตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรล้านนา โดยระยะแรกมี เวียงกุมกาม เป็นราชธานี แต่เวียงกุมกามเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง จนพญามังรายต้องขอคำปรึกษา จากพระสหายคือพญางำเมือง เจ้าผู้ครองนครภูกามยาว (พะเยาแคว้นอิสระ แค้วนเดียวในล้านนาขณะนั้น) และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช(กษัตริย์สุโขทัย)เพื่อหาชัยภูมิที่ดีเหมาะแก่การสร้างเมืองจึงพบกับที่ข้างแม่น้ำปิงและได้สร้างเมืองชื่อ “นพบุรีศรีนครพิงเชียงใหม่” หรือตัวเมืองเชียงใหม่ ณ ทุกวันนี้

การเดินทางจากเมืองเชียงราย ไปเชียงแสนใช้ทางหลวงหมายเลข 1 เข้าสู่ทางหมายเลข 110 ถึงอำเภอแม่จันเลี้ยวขวาที่เส้นทางหมายเลข 1016 ไปทางทะเลสาบเชียงแสน เข้าสู่ตัวเมืองเชียงแสนท่านจะพบกับเขตซากเมืองทันทีส่วนพระธาตุผาเงาให้ไปทางหลวงหมายเลข 1129 หากเลี้ยวไปอีกทางเป็นที่ตั้งของหอฝิ่นฯ พระพุทธนวล้านตื้อ และสามเหลี่ยมทองคำอยู่บนถนนหมายเลข 1290

สถานที่ติดต่อ :: สำนักงานเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 053-777081 โทรสาร 053-777081 053-777002 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน 702 พหลโยธิน อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย 57150 โทรศัพท์ 0 5377 7128 (เวลาทำการ วันพุธ-อาทิตย์ เวลา9.00-16.00น. ค่าเข้าชมชาวต่างชาติ 30บาทสำหรับคนไทย 10 บาท)

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สราวุธ คำฟูบุตร

สราวุธ คำฟูบุตร

เสนอข่าวทุกมิติ เจาะลึกทุกประเด็น ID LINE : yai8881