เชียงราย-ระดมพลจิตอาสาจำนวนมากจัดปัดทำความสะอาดลานถ้ำหลวงและขุนน้ำนางนอน บางส่วนระดมกำลังเก็บกู้อุปกรณ์ออกจากถ้ำ
วันที่26 มี.ค.2562 พล.ร.อ.ปวิตร รุจิเทศ ผอ.ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ณ บริเวณถ้ำหลวง อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (เตรียมการ) ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงรายโดยได้ระดมกำลังจิตอาสาจำนวนมาก แบ่งออกเป็น3กลุ่มใหญ่ คือบริเวณถ้ำหลวงและขุนน้ำนางนอน จุดจอดเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สถานที่มีความสะอาดและร่มรื่นสมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในปัจจุบัน นอกจากนี้ พล.ร.อ.ปวิตร ยังได้รับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการเก็บกู้ทรัพยากรที่ตกค้างภายในถ้ำหลวงระหว่างวันที่ 18-20 มี.ค.ที่ผ่านมาและกำลังปฏิบัติการอยู่ในช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-29 มี.ค.นี้ จากนั้นในช่วงบ่าย พล.อ.ศิวะ ภระมรทัต ผู้บัญชาการกองกำลังจิตอาสา ยังมีกำหนดจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และจิตอาสาพัฒนา ณ ถ้ำหลวง อีกด้วยดังนั้นระหว่างวันที่ 26-29 มี.ค.นี้ เจ้าหน้าที่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จ.เชียงราย จึงได้ปิดการท่องเที่ยวบริเวณถ้ำหลวงชั่วคราวเพื่อเปิดให้เจ้าหน้าที่เก็บกู้ภายในถ้ำและให้จิตอาสาพัฒนาได้ทำความสะอาดตามจุดต่างๆ และมีกำหนดเปิดให้เข้าเที่ยวชมได้ตามปกติในวันที่ 30 มี.ค.นี้เป็นต้นไปแต่สำหรับสถานที่อืนๆ เช่น ขุนน้ำนางนอน ฯลฯ ไม่มีการปิดและเปิดให้เข้าชมตามปกติ ทำให้ตลอดทั้ง 4 วันนี้เจ้าหน้าที่ต่างเข้าขนอุปกรณ์ออกมาอย่างคึกคักโดยใช้กำลังกว่า 300 นาย จาก ปภ.ทหารจาก ร.17 พัน.3 ในพระองค์ฯ มณฑลทหารบกที่ 37 องค์กรหรือมูลนิธิสาธารณกุศลต่างๆ รวมทั้งมีภาคเอกชนเจ้าของอุปกรณ์บางชิ้นที่เคยขนไปช่วยเหลือในปฏิบัติการช่วยชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีจำนวน 13 คน ระหว่างเดือน มิ.ย.-ก.ค.2561 ที่ผ่านมา เข้าไปดูอุปกรณ์เพื่อเก็บกู้ออกมาจากถ้ำตลอดทั้งวันวันเดียวกันทางมิสเตอร์เวิร์น อันสเวิร์ธ นักสำรวจถ้ำชาวอังกฤษ ได้เข้าไปสำรวจผู้มีบทบาทในการช่วยเหลือที่ผ่านมาได้นำทีมเข้าไปสำรวจในถ้ำบริเวณหาดพัทยาหรือพัทยาบีชที่มีปัญหาทรายอุดตันก่อนถึงจุดเนินนมสาวที่ทีมหมูป่าเคยติดถ้ำอยู่ ซึ่งเป็นจุดที่เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถเก็บกู้อุปกรณ์ได้เพื่อจะได้เก็บหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่ทางกองอำนวยการฯ จะส่งมอบพื้นที่ให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช ได้กลับมาดูแลสถานที่เหมือนเดิมต่อไป ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปขนอุปกรณ์ออกมาในวันนี้พบว่าส่วนใหญ่เป็นท่อน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้สูบน้ำออกจากถ้ำช่วงปฏิบัติการช่วยเหลือซึ่งคงค้างอยู่ภายในเป็นทางยาวพร้อมข้อต่อจำนวน 2 เส้นๆ ละประมาณ 1,500 เมตร ท่อน้ำเล็กอีก 3 เส้นๆ ละประมาณ 1,000 เมตร และยังมีสายไฟขนาดใหญ่ที่ทอดยาวตั้งแต่ปากถ้ำถึงโถงที่ 3 ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร โดยส่วนใหญ่วางอยู่ที่โถงที่ จำนวน 4 เส้น โถงที่ 2 จำนวน 4 เส้น โถงที่ 3 จำนวน 5 เส้น แต่ละเส้นมีความยาวเส้นละกว่า 1,000 เมตร และบางส่วนจมทรายรวมทั้งมีสภาพแข็งเพราะความเย็นทำให้การเก็บกู้และขนย้ายออกมาเป็นไปด้วยความยากลำบากนายไพฑูรย์ นาคแท้ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เขต 15 ซึ่งทำหน้าที่ผู้บัญชาการการปฏิบัติการเก็บกู้ทรัพยากร เปิดเผยระหว่างวันที่ 18-20 มี.ค.ที่ผ่านมากองอำนวยการฯ นำโดยหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือหรือหน่วยชีลได้เข้าไปเก็บกู้อุปกรณ์รอบแรกออกมาแล้ว เช่น ถังอ๊อกซิเจน วิทยุสื่อสาร อุปกรณ์อิเล็อคทรอนิคส์ สายไฟฟ้า ท่ออากาศ ฯลฯ สำหรับช่วงที่ 2 นี้กำหนดระยะเวลาเอาไว้ 4 วันดังกล่าวซึ่งตนก็ยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้เสร็จหรือไม่เพราะภายในถ้ำยังมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวซึ่งเป็นอุปกรณ์หนัก โดยเฉพาะมีเครื่องสูบน้ำน้ำหนักตั้งแต่ประมาณ 50-160 กิโลกรัม ซึ่งต้องใช้คนขนเครื่องละตั้งแต่ 4-10 คน ผ่านภูมิประเทศภายในถ้ำที่เป็นอุปกรณ์และตอนขนเข้าไปมีน้ำช่วยพยุงแต่เมื่อต้องนำออกมาน้ำได้แห้งหมดแล้วต้องใช้แรงคนจึงต้องใช้ความระมัดระวังเพราะเป็นอันตรายอย่างมาก รวมทั้งมีอุปกรณ์เฉพาะที่ต้องให้ผู้บริจาคเข้าไปดู เช่น บริษัท ช.การช่าง ฯลฯ ซึ่งต้องเข้าไปเปิดและปิดอุปกรณ์ร่วมในการขนย้ายด้วย จึงได้มีการวางหลอดไฟตั้งแต่ปากถ้ำถึงสามแยกและชนิดส่องสว่างมากตรงจุดสำคัญ รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ ปภ.ประจำตามจุดต่างๆ เพื่อสนับสนุนกำลงพลที่เข้าไปขนและให้คำแนะนำเป็นช่วงๆ จนกว่าจะขนอุปกรณ์ทั้งหมดออกมาแล้วเสร็จนายไพฑูรย์ กล่าวอีกว่าปัญหาอีกประการคือสายไฟฟ้าจำนวนมากที่เมื่อมีการเปิดกระแสไฟใช้งานในช่วงแรกและเมื่อปิดแล้วน้ำท่วมหรือถูกความเย็นจะแข็งตัวทำให้เก็บกู้ไดยากมากโดยที่ไม่สามารถตัดหรือแยกส่วนได้เหมือนท่อน้ำแต่ต้องดึงออกมาพร้อมกันทั้งหมดทั้งเส้น รวมทั้งไม่สามารถใช้เครื่องดึงออกมาเพราะอาจไปเกาะเกี่ยวกับหินงอกหินย้อยภายในถ้ำหรือทำให้เครื่องดึงเสียหายเสียก่อนได้ กระนั้นหากพ้น 4 วันไปแล้วก็ยังไม่แล้วเสร็จก็คงจะเปิดให้ประชาชนได้เข้าไปท่องเที่ยวที่ถ้ำหลวงได้ตามปกติเพราะการปฏิงานส่วนใหญ่จะเน้นภายในถ้ำที่ยังปิดปากถ้ำอยู่ส่วนภายนอกจะเบาบางลงแล้ว ส่วนการจะพิจารณาขยายวันปฏิบัติงานนั้นจะมีการประเมินผลจากการขนย้ายอุปกรณ์หนักออกมารอบแรกก่อนในเย็นวันที่ 27 มี.ค.นี้ ขณะเดียวกันอาจทิ้งสายไฟฟ้าบางส่วนเอาไว้ภายในเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของเหตุการณ์ส่วนการพิจารณามอบคืนสถานที่ให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาซึ่งจะได้หารือกันหลังเสร็จภารกิจเก็บกู้นี้ต่อไป.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: