เชียงราย-เปิดโครงการศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญางานหัตถกรรม 2562 (craft communitties) พร้อมขับเคลื่อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยภูมิปัญญาอันแสดงถึงอัตลักษณ์ในชุมชน ศึกษาความเป็นไทลื้อตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้
15 ส.ค.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเร็วๆนี้ ที่วัดท่าข้ามศรีดอนชัย บ้านศรีดอนชัย อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสิรมศิลปาชีพระหว่างประเทศ พร้อมด้วยนายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันทำพิธีเปิดโครงการศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญางานหัตถกรรม 2562 (craft communitties) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ภายหลังศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน) หรือsacict ได้เลือกให้บ้านศรีดอนชัย ม.7 ต.ศรีดอนชัย และบ้านหาดบ้าย ม.1 ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เป็นชุมชนเรียนรู้หัตถกรรม จำนวน 2 แห่งใน 13 แห่งทั่วประเทศนางอัมพวัน กล่าวว่าปัจุจบันชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมในประเทศไทยมีจำนวน 37 แห่ง แต่ทาง sacict ได้เลือกเปิดในปีนี้จำนวน 13 แห่ง เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการอนุรักษณ์ สืบสาน ต่อยอดและถ่ายทอดองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมขับเคลื่อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยภูมิปัญญาอันแสดงถึงอัตลักษณ์ในชุมชน โดยกระจายอยู่ในภาคเหนือค่อนข้างมาก เพราะมีเสน่ห์ในด้านชาติพันธุ์และชนเผ่าต่างๆ รวมทั้งศิลปินที่มีชื่อเสียงที่หลากหลาย ผนวกกับเชียงรายมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายอยู่แล้วก็จะทำให้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น โดยที่ อ.เชียงของ เป็นชุมชนไทลื้อที่มีจุดเด่นคือมีครูช่างที่มีฝีมือถึง 2 คน คือแม่ดอกแก้วของบ้านศรีดอนชัยและแม่สุขาวดี ของบ้านหาดบ้าย หากไม่มีการสืบทอดก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย ชาวไทลื้อนอกจากจะมีงานทอผ้ายังมีหัตถกรรมอื่นไอีกหลายแขนงไม่ว่าจะเป็นงานจักรสาน งานเครื่องเงิน และงานลูกปัดเป็นต้นนายสมชาย วงค์ชัย ผู้ใหญ่บ้านศรีดอนชัย กล่าวว่าบ้านศรีดอนชัย เกือบทั้งหมดเป็นพี่น้องชาติพันธุ์ไทลื้อ ที่อพยบมาจากเมืองสืบสองปันนา มณฑลยูนนาน เมืองทางตอนใต้ของประเทศจีน มาอยู่ที่ สปป.ลาว และเมื่อปี 2492 หรือเมื่อประมาณ 60 ปีก่อนได้ข้ามน้ำโขงเข้ามาปักหลักสร้างชุมชนศรีดอนชัยขึ้น สิ่งเป็นเอกลักษณ์คือยังคงใช้ภาษาไทลื้อ และกว่าร้อยละ 98 มีนามสกุลเดียวกันคือนามสกุลวงค์ชัย มีประชากรประมาณ 2,000 คน จำนวน 600 หลังคาเรือน นอกจากนี้ยังมีแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีไทลื้อ โดยมีพิพิธภัณฑ์มากถึง 3 แห่ง คือเฮือนไทลื้อ 100 ปี เฮือนคำแพงและพิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ ที่สามารถเข้ามาท่องเทียวหรือศึกษาความเป็นไทลื้อตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้นางดอกแก้ว ธีระโคตร ครูช่างศิลปหัตถกรรมและที่ปรึกษากลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านศรีดอนชัย กล่าวว่าชาวไทลื้อที่้บ้านศรีดอนชัยจะปลูกฝ้ายเอง นำมาปั่นฝ้ายและนำมาย้อมเป็นสีธรรมชาติและสีเคมี โดยลวดลายเป็นเป็นแบบโบราณที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่มาเป็นรุ่นๆ ไป โดยมีลวดลายที่หลากหลายอาทิลายเกาะล้วง ลายจก ลายน้ำไหล ลายเกาะพาด ลายเกาะยอด ลายเกาะต้นต่อและเกาะเครือ โดยผ้าทอที่นี่จะมีสีสดใสกว่าผ้าไทลื้อพื้นที่อื่นๆ ด้วยสีธรรมชาติจากสีคลั่ง สีฮ่อม สีคราม สีไม้ดู่ สีน้ำตาล สีเปลือกมะม่วงและสีเพกานางดอกแก้วกล่าวว่าอดีตตลาดจำหน่ายผ้าทอไทลื้อจะจำหน่ายภายในชุมชนหรือนำไปจำหน่ายตามตลาดหรืองานต่างๆ นอกพื้นที่ ปัจจุบันทางศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศได้เข้าส่งเสริมด้านการออกแบบลวดลายทำให้ผ้าทอบ้านศรีดอนชัยยกระดับสามารถนำไปจำหน่ายบนเครื่องบินของสายการบินไทย มีสินค้าประเภทผ้าคลุมไหล่ ผ้าถุง ผัาโพกหัวและผ้าตัดเสื้อ รวมทั้งมีการจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย สำหรับราคาผ้าทอไทลื้อนั้นจะขึ้นอยู่กับลวดลายที่ยากหรือง่าย โดยราคาจะอยู่ประมาณ 800 บาทขึ้นไปจนถึงราคา 8,000-9,000 บาท เนื่องจากผ้าทอไทลื้อจะทำยากและใช้เวลานาน ผ้าทอแต่ละผืนจะใช้เวลานานนับเดือนถึงจะได้ 1 ผืนใครที่มีโอกาสผ่านไปแถวพื้นที่ จ.เชียงราย ก็สามารถที่จะเดินทางเข้าท่องเที่ยวยังชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมบ้านศรีดอนชัยและบ้านหาดบ้ายได้ ไม่ว่าจะเดินทางเป็นด้วยตนเองหรือเป็นหมูคณะ ทางหมู่บ้านจะมีครูช่างเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และมีชาวบ้านสาธิตการทอผ้าไทลื้อให้ชมในทุกขั้นตอนตั้งแต่การปั่นฝ้าย สาวเส้นด้าย การย้อมสี และการทอแบบลวดลายต่างๆ ซึ่งผู้ที่สนใจจะทดลองลงมือปฎิบัติด้วยตนเองทางหมู่บ้านก็ให้ได้ทดลองทำในทุกขั้นตอน เรียกได้ว่านอกจากจะได้รับความสนุกสนานยังได้ภูมิปัญญาท้องถิ่นติดตัวกลับบ้านได้อีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: