พิษณุโลก คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมทีมวิจัยลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (โดรนทางการเกษตร) พร้อมเตรียมเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน “หลักสูตรแม่นยำ” ในปี การศึกษา2563
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมทีม ได้สาธิตเกี่ยวกับเครื่องมือลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (โดรนทางการเกษตร) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหลักสูตรเกษตรแม่นยำ รวมถึงการสาธิตการใช้โดรนเพื่อส่งเอกสารระหว่างอาคาร ซึ่งแสดงถึงนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และเตรียมเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน “หลักสูตรแม่นยำ” ในปี การศึกษา2563
ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกับทีมวิจัย ได้วิจัยการนำโดรนมาใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุน และสามารถลดค่าจ้างแรงงานคนที่พบว่า การจ้างตกวัน ละ 500-600 วันต่อวัน โดยปัจจุบันการนำโดรนมาฉีดพ่นยา เพียงไร่ละ 60 บาทเท่านั้น สามารถฉีดพ่นได้ถึง 100 ไร่ต่อวัน นอกจากนี้ยังได้ทำวิจัย ด้านของการเพิ่มความหวานของอ้อยก่อนที่จะเข้าโรงงานอีก ทำงานวิจัยที่ทำร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ในการที่จะเพิ่มความหวาน ccs ของอ้อย ถึง 3-4 ccs ซึ่งเกษตรกรจะได้เปรียบคือ ทุก ccs ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรจะได้ ccs ละ 50 บาท
ทั้งนี้การใช้โดรนทางการเกษตร การฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนพืช ตลอดจนการควบคุมศัตรูพืชด้วยโดรนทางการเกษตร ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมละไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดรนทางการเกษตรสามารถทำงานได้และทำให้ช่วยประหยัดได้หลายอย่าง เช่น ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดน้ำ หลังจากที่ได้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เครื่องบินเล็กในการฉีดพ่นสารแทนคนแล้ว ก็มีจุดประสงค์อยากให้คนอื่นๆ ได้เห็นถึงประโยชน์ด้วย หลังจากนั้นก็นำเครื่องไปสาธิตทำแปลงทดลองให้เพื่อนๆ ชาวไร่และหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงานน้ำอ้อย เป็นต้น
/////////////
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: