กรมชลประทาน เปิดเวทีเสวนารับฟังความคิดเห็นโครงการผันน้ำยวม นักวิชาการชี้มีประโยชน์มากกว่าเสีย เพิ่มพื้นที่ในการปลูกข้าวในฤดูแล้ง 1.6 ล้านไร่ ช่วยผลักดันน้ำเค็ม ผลิตพลังงานไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลเพิ่มเฉลี่ย 417 ล้านหน่วย
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 15 มีนาคม ที่หอประชุมชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทานอ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี กรมชลประทาน จัดงานเสวนา “ได้”หรือ “เสีย” โครงการผันน้ำยวมเปิดทุกมุมมอง ตอบทุกประเด็น เป็นเวทีกลางเปิดกว้างพร้อมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากสาขา ตัวแทนจากภาคเกษตรกร โดยมีการการถ่ายทอดสด ผ่านช่องทางออนไลน์ในเว็บไซต์ของกรมชลประทาน ให้ประชาชนสามารถร่วมรับชมและสอบถามแบบได้สดๆ
ข่าวน่าสนใจ:
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- นนทบุรี กระบะเลี้ยวตัดหน้า จยย.พุ่งชน ร่างหนุ่มชาวลาวลอยก่อนตกกระแทกพื้นดับ
- นนทบุรี ผัวหึงโหด ใช้ปืนจ่อยิงหัวเมียเสียชีวิตหลังนำส่งโรงพยาบาล
โดยในเวทีเสาวนาได้มีการพูดถึง การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล หรือโครงการผันน้ำยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่าจะสามารถช่วยสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยอย่างไร รวมทั้งยังเป็นเวทีในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนและถูกต้อง จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และตัวแทนภาคเกษตรกรมาร่วมให้ความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนมุมมอง เกี่ยวกับโครงการนี้ได้แก่ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต, รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตรและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยนเรศวร, นายพรชัย กันสิทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพื้นที่เฉพาะและโครงการสำคัญ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และนายศรชัย สิบหย่อม ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ร่วมเสวนาและตอบคำถาม
แม้ว่าโครงการนี้จะมีประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย แต่เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่จึงมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาจึงได้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมทุกด้าน แต่ยังมีประชาชนในพื้นที่บางส่วนได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ ซึ่งยังคงมีข้อห่วงกังวลในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรการชดเชยให้กับประชาชนที่สูญเสียที่ดินทำกิน ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่โครงการ ความคุ้มค่าในการลงทุนไปจนถึงความโปร่งใสในเรื่อง การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ สำหรับโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล หรือ โครงการผันน้ำยวมเพื่อสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำปิงและลุ่มเจ้าพระยา แก้ไขและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่ด้านท้ายเขื่อนภูมิพลในปัจจุบันและอนาคต สนับสนุนการสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580
โดยเวทีเสวนายังระบุอีกว่า โครงการนี้ได้ประโยชน์มากกว่าเสีย สามารถผันน้ำจากแม่น้ำยวมมาเติมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลได้เฉลี่ยปีละ 1,795.25 ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมจากผลประโยชน์ด้านการเกษตรได้มากกว่า 17,431 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งยังสร้างประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมอีกมากมาย ได้แก่ 1.การเพิ่มพื้นที่ในการปลูกข้าวในฤดูแล้ง จำนวนกว่า 1.6 ล้านไร่ แบ่งเป็น กำแพงเพชร 286,782 ไร่ และเจ้าพระยาใหญ่ 1,323,244 ไร่2.การผลักดันน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง ลดค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาน้ำเค็ม 3.เพิ่มการผลิตพลังงานไฟฟ้า ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพลเฉลี่ย 417 ล้านหน่วย/ปี และผลิตพลังงานไฟฟ้าท้ายเขื่อนน้ำยวมได้อีก 46.02 ล้านหน่วย/ปี 4. สร้างอาชีพการทําประมงในอ่างเก็บน้ำ มีการเพาะพันธุ์ปลาและปล่อยปลาให้ประชาชนในพื้นที่จับปลาไปบริโภคและสร้างรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น และ 5. ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ขยายระยะเวลาการท่องเที่ยวในพื้นที่ทะเลสาบดอยเต่า ซึ่งปัจจุบันสามารถประกอบกิจการแพท่องเที่ยวเฉพาะในเดือนที่มีน้ำเท่านั้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม–มกราคมแต่เมื่อมีการผันน้ำจะส่งผลให้สามารถประกอบกิจการได้ตลอดทั้งปี ขณะที่บริเวณเขื่อนน้ำยวม – อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มีการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจทั้งในส่วนของชุมชนและนักท่องเที่ยว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: