ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รอง ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และ ดร.กิตติ เมืองตุ้ม อาจารย์จาก ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ หัวหน้าโครงการการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผลไม้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ การผลิตสับปะรดห้วยมุ่นครบวงจร ภายใต้โครงการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชนสังคม ลงพื้นที่สถานประกอบการ ที่ ต.ผาจุก จ.อุตรดิตถ์ ของ นายภาสกร มณฑากุล อายุ 35 ปี และ น.ส.รุจิเรศ กล่ำเหม็ง อายุ 34 ปี ซึ่งเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมโครงการฯ ด้วยการนำผลิตสัปปะรดห้วยมุ่นตกเกรด ที่ตลาดไม่ต้องการ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีทีมวิจัยและอาจารย์ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษา จนสามารถแปรรูปและสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง ที่สำคัญสินค้าที่แปรรูปเป็นที่ต้องการของตลาด และไม่ตกยุค ดร.วิภารัตน์ ได้เข้าเยี่ยมชมและติดตามขั้นตอนการผลิต “ไอศกรีมฟรีชซ็อตสัปปะรดห้วยมุ่น”และร่วมประชุมกับทีมวิจัย เกษตรกรผู้ปลูกสัปปะรดห้วยมุ่น และ จนท.ที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในภาคจังหวัดอุตรดิตถ์ นำงานวิจัยและนวัตกรรมพัฒนาสัปปะรดห้วยมุ่น ที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นการยกระดับการผลิตสับปะรดห้วยมุ่นแบบครบวงจร ตั้งแต่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การใช้เทคโนโลยียืดอายุวัตถุดิบ การใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร และการจัดจำหน่าย เพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตำบลห้วยมุ่น และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในชุมชนของจังหวัดอุตรดิตถ์ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยีสามารถเสริมสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร การพัฒนาให้มีศูนย์วิจัยชุมชน การสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพของชุมชน และการวางแผนการตลาด ซึ่งปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์สับปะรดห้วยมุ่นที่นำมาเพิ่มมูลค่า เช่น ไอศกรีมฟรีชซ็อตสัปปะรดห้วยมุ่น นำมาจากผลิตผลทางการเกษตรที่ตกเกรดที่มีปริมาณหลายพันตันในรอบการปลูก สามารถพัฒนาและผลิตเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ และสินค้ายังสามารถขายได้ตลอดทั้งปี โครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ภายใต้แผนงานโครงการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชนสังคม Research and Innovation Utilization for Communityด้าน ดร.กิตติ กล่าวว่า ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ยังให้ความสำคัญต่อเนื่อง คือ การจัดการปลายน้ำ ของภาคการผลิตสับปะรดห้วยมุ่น ซึ่งในกระบวนการปลูก ตลอดจนการเก็บเกี่ยว และการแปรรูป ได้มีหลายฝ่ายใดให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ในการดำเนินงานครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มช่องทาง ในการให้นักวิชาการเป็นตัวเชื่อมระหว่างการผลิต คือ พี่น้องเกษตรกร ภาคการแปรรูป คือ ภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ และ ภาครัฐ ที่มีกลไกการเปิดตลาดหาช่องทางในการส่งเสริมให้ผลผลิตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผลไม้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ผลิตสับปะรดห้วยมุ่นครบวงจร ซึ่งได้รับการวนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มาที่ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการร่วมเป็นทีมวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการระบบการผลิตสับปะรดห้วยมุ่นให้สอดคล้องกับคุณภาพ และปริมาณการรับซื้อในตลาด การพัฒนารูปแบบการเพิ่มมูลค่าโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปที่สามารถผลิตผลผลิตได้อย่างมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ตลอดจนการพัฒนา กระบวนการยืดอายุของสับปะรดทานสดระหว่างการขนส่ง และการแปรรูปส่วนเหลือทิ้งทางการเกษตรจากไร่สับปะรดให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสับปะรดห้วยมุ่น มีพื้นที่ปลูกกว่า 2 หมื่นไร่ ผลผลิตมากกว่า 1 แสน ตันต่อปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- บุรีรัมย์ เตือนวัยรุ่นอย่าทำ ขับรถหวาดเสียว ยกล้อโชว์ จับส่งศาล ศาลพิพากษาสั่งปรับและจำคุก
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: