ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ “อาคารครบรอบ 99 ปี” จ.อุตรดิตถ์โชว์สเต็ปร้องเต้น “เรียนอย่างมีความสุข” พร้อมดัน กศน.ใช้อาคารเรียนจากการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กวันที่ 4 มีนาคม 2565
ผู้สื่อข่าวรายว่า ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ “อาคารครบรอบ 99 ปี” ของ โรงเรียนบ้านในเมือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการ จัดการเรียนรู้ ทักษะด้านวิชาการและอาชีพ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสังกัด สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1,โรงเรียนเอกชน และ กศน.ของจังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากนี้เป็นประธานมอบทุนการศึกษา 32 ทุนให้นักเรียน รร.บ้านในเมืองที่มีผลการเรียนดี โดยมีนายสหวิช อภิชัยวิศรุตกุล ,นายพยงค์ ยาเภา รองผู้ว่าฯจ.อุตรดิตถ์ ,นายอมรศักดิ์ ปิ่นทอง ศึกษาธิการ จ.อุตรดิตถ์ , นายมงคล รุณธาตุ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ,และนายชุมพร แก้วเปี้ย ผอ.รร.บ้านในเมือง พร้อมราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตัวแทนนักเรียน ของ จ.อุตรดิตถ์ให้การต้อนรับ ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ผู้สื่อข่าวรายงาน ดร.กนกวรรณ ให้ความสนใจกระบวนการเรียนการสอนจากนิทรรศการ การแสดงผลงานของครู นักเรียน ได้สอบถามให้แนะนำ และเมื่อมาถึงซุ้มนิทรรศการโรงเรียนบ้านนาอิน อ.พิชัย นักเรียนได้แสดงดนตรีสากลของนักเรียนวงพร้อมโชว์เพลง “ชอบที่เธอเป็นเธอ” ดร.กนกนวรรณ อดใจไม่ไหวต้องรวมเต้น โชว์สเต็ปขยับบตามจังหวะเพลง ชูมือโยกไปมา ขณะที่ผู้ชมด้านก็ร่วมสนุกสนานด้วย หลังบทเพลงจบลงได้รับเสียงปรบมือดังกึ่งก้อง โดย ดร.กนกนวรรณ กล่าวกับนักเรียนที่ร้องและเล่นดนตรีว่า “เรียนให้มีความสุข”
ดร.กนกวรรณ กล่าวว่า โรงเรียนบ้านในเมือง สังกัด สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 พ.ย. 2465 หรือ 99 ปี จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย-ประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 1,068 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 72 คน และได้รับงบประมาณปี พ.ศ.2564 จำนวน 4,617,980 บาท ก่อสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 8 ห้องเรียน โดยอาคารเรียน “99 ปี” ใช้จัดการเรียนการสอน และเป็นห้องกิจกรรมสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ตามนโยบายพัฒนาการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ
“การลงพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ ยังได้มอบนโยบายให้กับผู้บริการสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเน้นเรื่องสำรวจ โรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อ “ควบรวบ” หนึ่งในนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน มี เป็นจำนวนมาก ต้องมีการจัดทำแผนและรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชน ก่อนจะเสนอให้ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ สำหรับอาคารสถานที่ขึ้นอยู่แต่ละจังหวัดเห็นสมควรให้หน่วยงานใดเข้าไปใช้ประโยชน์ ซึ่ง กศน.หลายแห่งก็สามารถใช้เป็นศูนย์ฯ อาคารจะได้ไม่ปล่อยร้าง พุพัง ไม่เป็นแหล่งมั่วสุม สถานที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง
ดร.กนกวรรณ กล่าวว่า จากที่จะมีการประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการนั้นต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล และ ศบค. ในส่วนของการเรียนการสอนนั้นบริบทของแต่ละจังหวัดจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แพร่ระบาด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีมติอย่างไร ทั้งนี้ต้องให้ประชาชนปลอดภัย การเรียนการสอนก็เช่นกันปรับตามสถานการณ์ เน้นความปลอดภัย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: