วันที่ 9 มกราคม 2562 สหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดจุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลังนาเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ หลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ใช้ระบบสหกรณ์ในการรวบรวมผลผลิตข้าวโพดจากเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ ที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯปลูกข้าวโพดหลังฤดูทานา ปี 2561/62 ซึ่ง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่นำร่อง
นายกกฤษฎา กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ และช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้มีรายได้ที่มั่นคง โดยนำร่องที่ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 221 ราย พื้นที่ 3,240 ไร่ ซึ่งได้เริ่มปลูกมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2561 เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว และการวางแผนการตลาด โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ใช้ระบบสหกรณ์ที่มีอยู่ในพื้นที่ เป็นจุดรวบรวมรับซื้อผลผลิต เพื่อส่งต่อให้สหกรณ์แม่ข่าย นำส่งขายโรงงานผลิตอาหารสัตว์ โดย อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ มีสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิต จากเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ จากการตรวจเยี่ยมถือว่ามีความพร้อมและศักยภาพ ทั้งลาน เครื่องชั่ง การวัดความชื้น และประกาศราคาให้เกษตรกรทราบอย่างเปิดเผย เช่นความชื้น 30 เปอร์เซ็นต์รับซื้อกิโลกรัมละ 7 บาท
ข่าวน่าสนใจ:
- ระทึก ไฟไหม้โรงงานผลิตกล่องโฟมใส่อาหารหวิดวอดหมดหลัง
- ระทึก เพลิงไหม้บ้าน 2 ชั้นวอดทั้งหลัง น้องแมว 7 ชีวิต รอดตายหวุดหวิด โดย 3 ตัวโดนไฟลวกบาดเจ็บ
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
“ในส่วนภาพรวมทั่วประเทศ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกพืชหลังนา จำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่ง จนท.ได้มีการตรวจสอบพบว่ามีกว่า 9 แสนไร่ที่ลงมือปลูกข้าวโพดแล้ว จากเกษตรกรกว่า 4 หมื่นครัวเรือน จากเป้าหมายตั้งไว้ 2 ล้านไร่ เป็นการเริ่มต้นปีแรกได้ร้อยละ 50 ถือว่าผ่าน เนื่องจากปีนี้ราคาข้าวดี เกษตรกรบางส่วนยังเลือกที่จะทำนา การส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนาทำในรูปแบบรวมกลุ่มสหกรณ์การเกษตร ซึ่งสามารถจัดหาปัจจัยการผลิตได้ในราคาถูกและขายผลผลิตได้ในราคายุติธรรม มีตลาดรองรับที่แน่นอน และจัด จนท.ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนองค์ความรู้เทคนิคการปลูก การดูแลรักษา การลดต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต ส่งผลให้เกษตรกรพื้นที่นำร่อง อ.พิชัย เก็บเกี่ยวผลผลิตได้สูงสุดไร่ละ 1.8 ตัน โดยเกษตรกรจะมีรายได้จากการขายข้าวโพดเฉลี่ย 8,365 บาท/ไร่ และเมื่อหักต้นทุนจะมีกำไรเฉลี่ยไร่ละ 4,555 บาท มากกว่าการทำนาขายข้าว แต่ทั้งนี้ในฤดูการหลังนาต่อๆไป อาจจะเพิ่มพืชทางเลือกใหม่เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง พืชผัก ซึ่งต้องใช้โมเดลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นต้นแบบ”นายกกฤษฎากล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: