ที่หอประชุมโรงเรียท่าปลานอนุสรณ์ 1 อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ โรงเรียนประถมศึกษา เปิดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย –ประถมศึกษาปีที่ 6 ให้กับลูกหลานชาว อ.ท่าปลา ซึ่งเสียสละที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน ย้ายถิ่นฐานเพื่อการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ มาตั้งแต่ ปี 2514 หรือ 48 ปี คณะกรรมการสภานักเรียน นำนักเรียนทุกระดับชั้นกว่า 600 คน จัดพิธีไหว้ครูประจำปีการศึกษา 2562 เพื่อแสดงออกถึงแสดงความเคารพรักและระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์
นักเรียนแต่ละสายชั้น พากันจัดทำพานไหว้ครูที่มีความสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ ที่เรียกเสียงฮือฮา คือปีนี้ การจัดทำพานนอกจากเพื่อระลึกถึงพระคุณครูและอาจารย์แล้ว ยังเน้นให้เด็กและเยาวชน ชาวอำเภอท่าปลา ตระหนักถึงตัวคนคนท่าปลา รักษ์และภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอน และ อนุรักษ์ภูมิปัญญา วิถีวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ซึ่งหลังจากชาวท่าปลา อพยพบ้านถิ่นฐานมาอยู่ในที่ดินราชการจัดสรรให้ เพื่อการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ แหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ และก่อให้เกิดอาชีพประมงน้ำจืด อาชีพหล่อเลี้ยงชาวท่าปลา เนื่องจากสภาพดินไม่เอื้อต่อการทำการเกษตร ดังนั้นพานไหว้ครูของนักเรียนจึงแสดงออกถึงวิถีชาวประมงน้ำจืด การจับปลากลางอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ แบบชนเป็นการจำลองยอยักษ์ หรือยอขนาดใหญ่ ที่ใช้ดักปลาซิวแก้วในคืนเดือนมืด ด้วยการจุดใช้ตะเกียงเจ้าพายุจุดแขวนกลางยกเพื่อล่อปลา พร้อมพานฆ้องใส่ปลา และต้องยกกันมาเป็นตัวๆพร้อมรับประทาน คือ พานไหว้ครู “เมี่ยงปลานิลเผาเกลือและปลาตะโกกเผา”ที่ปัจจุบันปลาทุกชนิดกลายเป็นของดี จากเขื่อนสิริกิติ์ และเป็นที่ถูกอกถูกใจของคณะครูที่ได้รับพานจากนักเรียน เนื่องจากเสร็จพิธี สามารถรับประทานได้สำหรับปลาเผาเกลือดังกล่าว นายศักดิ์ สิงห์ทอง ผอ.รร.ท่าปลาอนุสรณ์ 1 กล่าวว่า พานไหว้ครูปีนี้ เป็นที่ชื่นชอบและเรียกความสนใจให้กับคุณครูและนักเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะแฝงไปด้วยความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ตัวคนคนท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ โดยนักเรียน แต่ละดับชั้นต่างช่วยกันคิด ศึกษาประวัติศาสตร์บ้านเกิดเมืองของตัวเอง นำมาสู่การจัดรูปแบบพานไหว้ครูเชิงสร้างสรรค์ แต่ยังคงประเพณีอันดีงามตั้งแต่สมัยก่อน คือ ทุกพานยังใช้ดอกดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม สัญญาลักษณ์สื่อความหายที่ดีของพิธีไหว้ครู
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: