X

ซาไก ทึ่ง ! ยกนิ้ว ชาวบ้านระนองไม่หวงความรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาทำผลิตภัณฑ์ “กาบหมาก”ให้กับซาไก

ซาไก ทึ่ง! ยกนิ้ว ชาวบ้านระนองไม่หวงความรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาทำผลิตภัณฑ์ “กาบหมาก”ให้กับซาไก

ระนอง-น.ส.ณัฐกานต์  ไท้สุวรรณ   ตำแหน่ง ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.ระนอง กล่าวว่าเมื่อวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2562 กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ชุมชนอยู่ดีมีสุข ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง ได้รับการประสานงานจาก เจ้าของรีสอร์ต(พี่ไก่ สตูล)เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน ภูผาแดง โฮมสเตย์&ล่องแก่งสตูล  ให้ทางกลุ่มฯ ได้มีโอกาสมาถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์งานทำมือ

ให้กับชาวมานิ (มันนิ)  หรือที่เรียกขานว่าเงาะป่าซาไก ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองที่พบในพื้นที่ป่าภาคใต้ของไทย ชาวมานิ กลุ่มนี้อาศัยอยู่ บริเวณต้นน้ำวังสายทอง บ้านวังนาใน ต.น้ำผุด อ.ละงู จ.สตูล จำนวน 43 คน มีเฒ่าไข่ ศรีมะนัง เป็นหัวหน้ากลุ่ม

มานิจะอาศัยอยู่ใน ‘ทับ’ มีลักษณะเป็นกระท่อมขนาดเล็กสร้างด้วยไม้ ใช้อิเหนาสานฝากระท่อม และใบตองในการมุงหลังคา โดยชาวมานินิยมก่อการไฟเพื่อให้ความอบอุ่นในกระท่อมตลอดเวลา

ซึ่งทางเครือข่ายพี่น้องจากระนอง ได้ถ่ายทอดความรู้ การแปรรูปกาบหมากเป็นชิ้นงาน เช่น จานเรือ ชะลอม  กระเป๋า กล่องทิชชู และอื่นๆ  ตั้งแต่ขั้นตอนแรก การเก็บกาบหมาก มาทำความสะอาด การตากกาบหมาก  และนำกาบหมากมาออกแบบเป็นชิ้นงาน

 

ลงมือทำตามขั้นตอน ให้กับชาวมานิ ทั้งหญิงชายและเด็กๆ จำนวน 15 คน พี่น้องมานิ เรียนรู้เร็ว  มีความสนใจ  ที่จะทำผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ซึ่งในพื้นที่มีมีกาบหมาก  และทรัพยากรอื่นๆ ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ รวมทั้งการนำมาใช้ประโยชน์  เช่น กระเป๋ากาบหมาก

“ครูแอ๊ด  เป็นชาวมานิ  บอกว่า อยากฝึกทำ  เพื่อเอาไว้ใส่ของใช้ เวลาไปหาของป่า”  ชะลอม จานเรือ เด็กๆและกลุ่มผู้หญิงมานิ สนใจฝึกหันจนทำได้

แม้ว่าการสื่อสารด้วยภาษาที่ต่างกัน  มีบางคนพูดภาษาไทยได้บ้าง  ได้แต่เรามีภาษากาย ภาษาใจ  จนสามารถถ่ายทอดความรู้  ฝึกทำผลิตภัณฑ์จากกาบ ให้กับพี่น้องมานิ จนทำเป็น  ในอนาคตเราคงจะได้เห็นผลิตภัณฑ์จากกาบหมาก ที่เป็นฝีมือของพี่น้องมานิ    ด้วยการถักทอเชื่อมร้อย หนุนเสริมจากเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดสตูลต่อไปและเราก็สรุปเป็นเสียงเดียวกันว่า..มานิคือครูเรา….

น.ส.ณัฐกานต์  ไท้สุวรรณ   กล่าวว่าภายใต้โครงการศึกษา แนวทางการบริหารจัดการผลผลิตจากหมาก เพื่อเพิ่มมูลค่าแบบครบวงจรสู่การเป็นผู้ประกอบการ  กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่2และหมู่4 ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง  ทีมวิจัยชุมชน สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้

และสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรสวนหมากในพื้นที่ เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรสวนหมาก สร้างมูลค่าให้กับเกษตรกรด้วยการเพาะขยายพันธุ์หมากขาย  การสร้างมูลค่าเพิ่มจากส่วนประกอบของหมากส่วนต่างๆ เช่น เปลือกหมาก  กาบหมาก ต้นหมาก

โดยเฉพาะกาบหมาก  ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย  สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เช่น จานเรือกาบหมาก  กล่องทิชชู  รองเท้ากาบหมาก  ตะกร้ากาบหมาก  เป็นต้น

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดระนอง บรรณาธิการ นสพ.เซ้าท์เทิร์นนิวส์ระนอง