X

ชาวสวนยางและสวนปาล์มระนองถอดใจราคาร่วงหันโค่นนับพันไร่เปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน

ชาวสวนยางและสวนปาล์มระนอง ถอดใจราคาร่วง หันโค่นนับพันไร่เปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน

ระนอง- เกษตรกรชาวสวนยางพารา และสวนปาล์มในจังหวัดระนอง ตัดสินใจโค่นสวนยางพารา และสวนปาล์มแล้วนับพันไร่ หลังไม่สามารถทนต่อการขาดทุนได้อีกต่อไป ทั้งยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่หนีเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมแทบหมด เปลี่ยนมาทำสวนเกษตรผสมผสานแทนเพื่อกระจายความเสี่ยงด้านราคา

นายสันติ เปล่งแสง เกษตรกรชาวสวนยางพารา จ.ระนอง กล่าวว่า จากปัญหาราคายางพาราคาที่ตกต่ำ และยังไม่มีท่าทีว่าจะปรับเพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อเกษตรชาวสวนยางพาราเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เพราะประสบปัญหาขาดทุนจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ปัจจุบันตกกิโลกรัมละ 45 บาท แต่ราคายางพาราคาอยู่ในระดับราคาที่ต่ำกว่ามาก ทำให้ขณะนี้มีเกษตรกรหลายรายเริ่มทยอยโค่นยางพาราแล้วนับพันไร่ทิ้งเพื่อหันไปทำเกษตรแบบผสมผสานแทนเพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาราคา นอกจากนี้พบอีกปัญหาที่รุมเร้าเกษตรกรชาวสวนคือปัญหาการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่เคยทำงานในสวนยางพาราหันไปทำงานในเมืองหรือภาคอุตสาหกรรมแทนเพราะมั่นคงและมีรายได้ดีกว่ามาก นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรชาวสวนปาล์มหลายคนได้ตัดสินใจโค่นปาล์มแล้วเช่นกันใน จ.ระนองที่พบไม่ต่ำกว่าพันไร่ที่โค่นปาล์มแล้ว โดยส่วนหนึ่งบอกว่าจะหันมาปลูกทุเรียนแทนเพราะปัจจุบันทุเรียนเป็นผลไม้ที่ตลาดต้องการสูง และมีราคาสูง แต่ต้องใช้ดูแลกว่าจะได้ผลผลิตเกือบ 10 ปี
ด้านสำนักงานเกษตรจังหวัดระนอง แจ้งว่าปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันปี 2560 มีจำนวน 13.5 ล้านตัน และคาดว่าปี 2561 จะมีปริมาณผลผลิต 14.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลที่เพิ่มขึ้นในทุกภาคจากต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่เมื่อปี 2558 ที่เริ่มให้ผลได้ในปีนี้ ประกอบกับปริมาณน้ำฝนในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมามีปริมาณค่อนข้างมากทำให้โอกาสการเกิดจั่นตัวเมียเพิ่มขึ้นส่งผลให้จำนวนทะลายเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณน้ำฝนในปี 2560 มีมากเพียงพอต่อความต้องการของต้นปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ตามแนวโน้มผลผลิตปาล์มน้ำมันในเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561 จะเริ่มมีปริมาณลดลง
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการตัดปาล์มคุณภาพเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมัน นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้ เนื่องจากอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มทุกๆ 1% ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรจะได้ราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ0.30 บาท นอกจากนั้น การตัดปาล์มสุกที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ยังมีผลทำให้น้ำหนักต่อทะลายปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นได้อีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 5-10 หรือไม่น้อยกว่า 150 – 280 กิโลกรัมต่อไร่
ดังนั้น สศก. จึงขอใช้ช่องทางนี้ในการประชาสัมพันธ์ไปถึงพี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มทุกท่าน ในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มคุณภาพ สังเกตจากทะลายปาล์มที่มีผลปาล์มสุก มีสีผลปาล์มสุกตรงตามพันธุ์ และมีผลปาล์มร่วงที่สุกตามธรรมชาติ 5 – 10เมล็ดต่อทะลาย และหากเกษตรกรท่านใดที่จ้างตัดปาล์มน้ำมัน ควรช่วยกำกับและควบคุมให้ผู้รับจ้างตัดปาล์มน้ำมัน ตัดปาล์มน้ำมันให้ได้คุณภาพดังกล่าว

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดระนอง บรรณาธิการ นสพ.เซ้าท์เทิร์นนิวส์ระนอง