หอยเจดีย์นับล้านเกลื่อนชายหาดระนอง เผยอาจเป็นเพราะอุณหภูมิน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง
ระนอง-นักวิชาการท้องถิ่นจังหวัดระนอง พร้อมนักประดาน้ำลงพื้นที่สำรวจสภาพน้ำทะเลตามเกาะแก่งต่างๆ พบว่ามีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ชี้อาจส่งผลให้สัตว์น้ำบางชนิดอาทิ หอยเจดีย์มีการเคลื่อนย้ายที่อาศัยจนทำให้เกลื่อนชายหาดเช่นที่ผ่านมา
อาจารย์สมชาย หัสจักร นักวิชาการและเจ้าของธุรกิจการท้องเที่ยวในฝั่งทะเลอันดามัน กล่าวว่าตนพร้อมด้วยเพื่อนๆนักดำน้ำได้ออกดำน้ำตามเกาะแก่งต่างๆในจังหวัดระนอง เพื่อสำรวจแนวปะการัง และสำรวจสภาพความเปลี่ยนแปลงของทะเลชายฝั่งจ.ระนอง โดยสิ่งที่พบคืออุณหภูมิของน้ำทะเลมีความรู้สึกว่าเพิ่มขึ้นจากปกติที่เคยลงไปดำน้ำอุณหภูมิจะเย็นกว่านี้แต่ในระยะหลังมีความรู้สึกตรงกันว่าน้ำทะเลมีความร้อนขึ้น ซึ่งตนไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากที่ไหลลงสู่ทะเลทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลผันแปรไปในทางที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือเป็นเพราะกระแสน้ำในทะเลที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งในจุดนี้อาจเป็นไปได้ว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้สัตว์น้ำในทะเลบางชนิดมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย อาทิหอยเจดีย์แต่ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวกันหรือไม่
สำหรับหอยเจดีย์อาศัยอยู่ในพื้นทรายที่มีน้ําไหลผ่านและอุดมไปด้วยอาหารพวกหนอนทะเลและ หอยฝาเดี่ยว หอยสองฝาเล็กๆ ตลอดชีวิตใช้ชีวิต อยู่ใต้ผืนทราย หอยตระกูลนี้จึงวิวัฒนาการรูปทรงเปลือกให้เรียวยาวเพื่อลดแรงเสียดทานในการ มุดตัวลงผืนทราย วงศ์หอยเจดีย์, หอยพลูจีบ (FamilyTerebridae)เป็น 1 ใน 3 วงศ์ของหอยทะเลที่มีเข็มพิษไว้ล่าเหยื่อ (คือ 1. วงศ์หอยเต้าปูน Family Conidae 2. วงศ์หอยปิ่นปากร่อง Family Turridae
3. วงศ์หอยเจดีย์ Family Terebridae ซึ่งร่วมสายบรรพบุรุษเดียวกัน)
เปลือกหอยเจดีย์มีทรงกรวยยาวบิดเป็นเกลียวกระชั้นจนและดูเหมือนแท่งหนามทรง แหลม-ตรง การสร้างเปลือกแบบนี้มีที่มา จากแหล่งอาหารสําคัญ คือพวกหนอนทะเลที่ฝังตัวอาศัยอยู่ใต้ผืนทราย เมื่อหอยต้องล่าเหยื่อในแหล่งอาศัยแบบนี้หอยจึงปรับวิวัฒนาการ ของทรงเปลือกให้มีทรง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: