ค้าชายแดนระนอง เดือน เม.ย.โดนพิษโควิดฉุดยอดวูบ
ระนอง-นายวนิดา อรุโณทัย พาณิชย์จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดระนอง สรุปภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา ด้านจังหวัดระนอง ประจำเดือน เมษายน 2563 ดังนี้
จากสถานการณ์การค้าชายแดนไทย – เมียนมา ด้านจังหวัดระนอง กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การค้าไทย-เมียนมา ด้าน จ.ระนอง-เกาะสอง โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ
ข่าวน่าสนใจ:
1. สถานการณ์การค้าชายแดนไทย – เมียนมา ด้านจังหวัดระนอง กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งขณะนี้อนุญาตให้มีการนำเข้า – ส่งออกสินค้าและสินค้าผ่านแดน โดยอนุญาตให้มีคนประจำพาหนะประจำเรือสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาต และต้องผ่านการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากพนักงานควบคุมโรคติดต่อแล้ว เท่านั้น 2. การแจ้งระงับการเปิด – ปิดจุดผ่านแดนประเภทต่างๆ ของจังหวัดระนอง ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยส่งผลให้การนำเข้า-ส่งวออก ทำได้ยากลำบากมากขึ้น ทำให้ยอดการค้าลดลง
สรุปการค้าชายแดนกับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาด้านจังหวัดระนอง ประจำเดือน เมษายน 2563 มีมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 2,527.08 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 464 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.51 (มีนาคม 2563 มีมูลค่าการค้ารวม 2,991.08 ล้านบาท) และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 257.85 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.36 (เมษายน 2562 มีมูลค่าการค้ารวม 2,269.23 ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก เดือนเมษายน 2563 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 767.07 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 853.38 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.66 (มีนาคม 2563 มีมูลค่า 1,620.45 ล้านบาท) และ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (เมษายน 2562) ลดลง 628.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.04 (เมษายน 2562 มีมูลค่า 1,395.77 ล้านบาท) โดยประเภทสินค้าที่มีการส่งออก 10 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง/หล่อลื่น,
ปูนซิเมนต์, ท่อเหล็กใช้ในการขุดเจาะปิโตรเลียม, เครื่องดื่มให้พลังงาน, ตาข่ายจับปลา, ของปรุงแต่งชนิดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์, ครีมเทียม, ส่วนประกอบที่ใช้สำหรับเครื่องจักร, เชือก เชือกไนล่อน เชือกใยยักษ์, และหัวเจาะพร้อมอุปกรณ์ใช้ในงานขุดเจาะฯ
มูลค่าการนำเข้า เดือนเมษายน 2563 มีมูลค่าการนำเข้า ทั้งสิ้น 1,760.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 389.38 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.41 (มีนาคม 2563 มีมูลค่า 1,370.63 ล้านบาท) และ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (เมษายน 2562) เพิ่มขึ้น 886.55 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 101.50 (เมษายน 2562 มีมูลค่า 873.46 ล้านบาท) โดยประเภทสินค้าที่มีการนำเข้า 10 อันดับแรก ได้แก่ สัตว์น้ำ (ปลาแช่เย็น), ท่อเหล็กใช้ในการขุดเจาะปิโตรเลียม, ของทำด้วยเหล็ก, ปลาป่น, ข้อต่อเหล็ก, ปลาหมึกแช่เย็น/แช่เย็นจนแข็ง หอยแครงมีชีวิต, เครื่องจักรและเครื่องใช้กล, ปลาเบญจพรรณไม่เหมาะสำหรับมนุษย์บริโภค, อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์สำหรับบังคับหรือควบคุมโดยอัตโนมัติ และหัวเจาะพร้อมอุปกรณ์ใช้ในงานขุดเจาะฯ
มูลค่าการค้า เดือนเมษายน 2563 ขาดดุลการค้า 992.94 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 1,242.76 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 497.46 (มีนาคม 2563 เกินดุลการค้า 249.82 ล้านบาท) และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (เมษายน 2562) ลดลง 1,515.25 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 290.11 (เมษายน 2562 เกินดุลการค้า 522.31 ล้านบาท)
ภาพรวมในช่วงเดือนเมษายน 2563 จะเห็นว่ามูลค่าการค้ารวมปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (มีนาคม 2563) ลดลง 497.46% ทางด้านสินค้าส่งออกปรับตัวลดลง 52.66% สินค้าส่งออกสำคัญที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่
น้ำมันเชื้อเพลิง/หล่อลื่น, ปูนซีเมนต์, ท่อเหล็กใช้ในการขุดเจาะปิโตรเลียม, เครื่องดื่มให้พลังงาน และตาข่ายจับปลา เป็นต้น และทางด้านสินค้านำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้น 28.41% สินค้านำเข้าสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ของทำด้วยเหล็ก, ปลาป่น, ข้อต่อเหล็ก, เครื่องจักรและเครื่องใช้กล และปลาเบญจพรรณไม่เหมาะสำหรับมนุษย์บริโภค
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: