ระนอง-อบต.ปากจั่น จ.ระนอง ถูกเลือกให้เป็นต้นแบบการทำ “ธนาคารน้ำ”ท้องถิ่นต้นแบบจัดการน้ำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(ธนาคารน้ำใต้ดิน) เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในฤดฝน และแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง
นายชาญวิทย์ เดชาปรัชญา หัวหน้ากลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เปิดเผยว่าได้กำหนดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขยายผลโครงการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบจัดการน้ำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(ธนาคารน้ำใต้ดิน) โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบลปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง เป็นต้นแบบในการนำร่องธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ จ.ระนอง เพื่อเป็นการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นศูนย์เรียนรู้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบจัดการน้ำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(ธนาคารน้ำใต้ดิน) เพื่อเป็นแบบอย่างและขยายผลการพัฒนาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
นายวิรสิงห์ คชสิงห์ นายก อบต.ปากจั่น ซึ่งเป็นฐานะผู้ให้ความรู้ในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน อธิบายหลักการทำพร้อมประโยชน์ของการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่ง ธนาคารน้ำใต้ดินนั้น สามารถช่วยแก้ไขปัญญาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนและสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงภัยแล้งได้อีกด้วย โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ผู้อำนวยการกองช่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง จำนวน 70 คน ได้ลงพื้นที่ดูขั้นตอนการดำเนินการทำธนาคารน้ำใต้ดินที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากจั่น จัดทำขึ้นเป็นหลุมที่ 2 ด้วย
ธนาคารน้ำ คือแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จากการดูดซึมของหินใต้พื้นผิวดินที่มีน้ำหรือการส่งต่อน้ำบาดาลผ่านบ่อซึม โดยในกระบวนการกักเก็บน้ำมีอยู่ 2 วิธีการคือ การเติมน้ำลงในแอ่งน้ำ (Basin) โดยตรง กับการใช้การแทนที่เพื่อเติมน้ำลงในแอ่งน้ำ ซึ่งจากทั้ง 2 วิธี จะทำให้ได้น้ำบาดาลที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ภายหลัง
ข่าวน่าสนใจ:
สำหรับประเทศไทย มีการทำธนาคารน้ำเช่นเดียวกันที่จังหวัดพัทลุง มีจุดเริ่มต้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว เพื่อเก็บออมน้ำและจัดสรรทรัพยากรในชุมชน มีวิธีการคล้ายๆ กับการทำฝายกั้นน้ำ เน้นกักเก็บน้ำจากธรรมชาติ ใช้ความแตกต่างของระดับชั้นของสายน้ำ โดยในช่วงที่มีน้ำมาก ธนาคารน้ำช่วยให้ชาวบ้านสามารถกลับมาทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง จากแหล่งน้ำที่เคยใช้ได้เพียง 6 เดือน ธนาคารน้ำทำให้สามารถใช้สอยน้ำได้นานขึ้นเป็น 8-9 เดือน หรือบางแห่งสามารถใช้น้ำได้ตลอดปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: