ระนอง วุ่น! เรียนออนไลน์วันแรกระบบล่ม ส่วน นร. มีทั้งพร้อมและไม่พร้อมเร่งหาทางออก
ระนอง-นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ จังหวัดระนอง และรองประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลระนอง
ข่าวน่าสนใจ:
โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม กล่าวว่า จากการที่ทางกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้วันจันทร์ที่ 18 พ.ค. 2563 เป็นวันที่ให้เปิดเรียนระบบออนไลน์ในระดับประถมศึกษา
พบว่าในส่วนของพื้นที่ จ.ระนอง ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มระบบในวันนี้ เนื่องจากพบว่าจากการที่มีการสำรวจข้อมูลก่อนหน้าพบว่าศักยภาพของเด็กนักเรียนมีหลายกลุ่มแตกต่างกันมาก และเหลื่อมล้ำกันมาก บางคนมีความพร้อมทุกอย่างแต่เป็นส่วนน้อย
แต่กลุ่มที่เหลือส่วนใหญ่จะไม่มีความพร้อม และบางกลุ่มไม่มีความพร้อมในด้านใดๆ เลย ซึ่งน่าเป็นห่วงและเป็นปัญหาที่จะต้องเร่งหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางออกให้ทุกกลุ่มสามารถเรียนรู้ไปด้วยกัน พร้อมกันได้ ส่วนแผนงานต่อไปคือการกลับมาเปิดเรียนในชั้นเรียนนั้น
ทางโรงเรียนมีแผนงานรองรับคือการกำหนดจำนวนผู้เรียน ซึ่งใน จ.ระนองจะมีเด็กในแต่ละชั้นประมาณ 40 คน ซึ่งหากมาเรียนครบทั้งหมดจะเกิดความแออัด ดังนั้นอาจจะต้องแบ่งแยกเป็น 2 กลุ่ม คือเรียนกลุ่มเช้าครึ่งห้อง และกลุ่มบ่ายอีกครึ่งห้อง
ตามมาตรการควบคุมระยะห่างในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ส่วนบรรยากาศการเรียนออนไลน์ตามบ้านนักเรียนที่มีความพร้อมรับแจ้งว่าไม่สามารถเข้าระบบได้ หรือระบบเหมือนกับจอดำไม่มีอะไรถ่ายทอด รวมทั้งไม่มีข้อความแจ้งปัญหาใดๆ อีกประการที่น่าเป็นห่วงของ จ.ระนองนั่นคือระบบสัญญาณดาวเทียม หากสภาพภูิอากาศฟ้าฝน ลมแรงเกิดขึ้นก็เป็นปัญหา สัญญาณอินเตอร์เคยเสียเป็นเดือนกว่าจะซ่อมแซมได้ ระบบไฟฟเาจะดับและกระชากบ่อย
ในวันจันทร์ที่ 18 พ.ค. 2563 นี้ โดยการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบเทคโนโลยีทางการศึกษาทางไกล เป็นมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ ในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย และถือเป็นครั้งแรกของประเทศที่ได้มีการจัดการ “เรียนออนไลน์” ทุกระดับชั้นในทั่วประเทศ
โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษาหลากหลายหน่วยงาน ร่วมกันจัดทำการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านฟรีทีวี 17 ช่อง เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างปลอดภัยผ่านทางช่องทีวีดิจิทัล
และได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้มาช่วยสนับสนุนจัดการ “เรียนออนไลน์” ด้วยเช่นกัน โดยเผยแพร่สัญญาณผ่านดาวเทียมฯ (DLTV) ครอบคลุมระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษา
สำหรับโรงเรียนที่เหมาะกับการใช้รูปแบบการ “เรียนออนไลน์” นั้น พุ่งเป้าหมายไปที่โรงเรียนในกรุงเทพฯ และโรงเรียนที่อยู่ในตัวเมืองใหญ่จังหวัดต่างๆ ที่มีพื้นที่แออัด นักเรียนแต่ละห้องเรียนมีจำนวนมาก แต่โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล มีจำนวนนักเรียนต่อห้องน้อย ก็ยังสามารถจัดทำการเรียนการสอนปกติในโรงเรียนได้ โดยต้องดำเนินการภายใต้มาตรการความปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม, การทำความสะอาดอุปกรณ์, ล้างมือ, ใส่หน้ากากอนามัย มีจำนวนนักเรียนในห้องราว 20-25 คน เป็นต้น จะเรียนออนไลน์หรือไม่นั้น ต้องดูบริบทของแต่ละโรงเรียน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: