เกษตรกรระนอง เฮ! ธกส.ระนอง แจงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรแล้วเกือบ 100%
ระนอง-นายอภิชาติ กรมาทิตย์สุข ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดระนอง แถลงผลการดำเนินงานตามมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ห้องประชุมสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดระนอง ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
ข่าวน่าสนใจ:
- น้องขวัญ นายก อบจ.นครพนม ลาออก ก่อนครบวาระ 3 วัน จ่อลงชิงป้องกันแชมป์
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- 33 ปี ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก 13-22 ธันวาคม 67
- สงขลา"ตลาดหัวลำโพง"สวรรค์การค้าชายแดนไทย-มาเลย์ รุ่งเรืองสุดสู่อนาคตที่อาจมืดดับ
ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดระนอง กล่าวว่า ธ.ก.ส.ระนอง ได้ดำเนินงานตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยมีความคืบหน้าในการดำเนินงาน ดังนี้
1) มาตรการชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลัง โดยจ่ายเงินเยียวยา 5,000บาท (3 เดือน) ได้ตรวจสอบการประกอบอาชีพของผู้ขอทบทวนสิทธิ์ จำนวน 838 ราย และได้ทำการทบทวนแล้ว จำนวน 831 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 99.16 นอกจากนี้ยังช่วยรับเรื่องราวร้องทุกข์จำนวน 1,688 ราย
2) มาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2563) จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณจำนวน 15,000 ล้านบาท ได้ดำเนินการโอนเงินเยียวยาให้เกษตรกรไปแล้ว จำนวน 22,632 ราย เป็นเงิน 113.16 ล้านบาท
3) มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน โดยพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 3 เดือน โดยอัตโนมัติ (เมษายน – มิถุนายน 2563) ทั้งในส่วนของเกษตรกรและบุคคลทั่วไป ทั้งประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำนวน 319 ราย มูลหนี้รวม 156 ล้านบาท
4) มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs โดยพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 6 เดือน แบบอัตโนมัติทุกราย (เมษายน -กันยายน 2563) ให้กับ SMEs ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท จำนวน 10 ราย มูลหนี้รวม 264 ล้านบาท
5) มาตรการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินทั้งระบบ ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่งวดเมษายน 2563-มีนาคม 2564 เป็นเวลา 1 ปี โดยอัตโนมัติ และยังคงชั้นหนี้เดิมของลูกค้าก่อนเข้าโครงการฯ ให้กับเกษตรกรทุกกลุ่ม ทั้งที่เป็นเกษตรกรรายคน บุคคล ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งจังหวัดระนองมีเกษตรกรลูกค้าที่เข้าข่ายการได้รับความช่วยเหลือ จำนวน 3.849 ล้านบาท
6) มาตรการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SMEs เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการที่มีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี รัฐบาลรับภาระจ่ายดอกเบี้ยแทน 6 เดือนแรก วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยมีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อไปแล้วจำนวน 25 ราย เป็นจำนวนเงิน 17.64 ล้านบาท
7) มาตรการสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคอบครัวของเกษตรกรในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินในครัวเรือน ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท กำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้ ไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยปลอดชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรกนับจากวันกู้ มีเกษตรกรและครอบครัวเกษตรกรลงทะเบียนเพื่อรับสินเชื่อ จำนวน 6,504 ราย ทำสัญญาแล้ว จำนวน 2,850 ราย เป็นเงินกว่า 13.31 ล้านบาท ทั้งนี้ ธ.กส. จะเปิดให้กลุ่มเป้หมายที่ธนาคารคัดกรองแล้ว ทำสัญญาอิเล็คทรอนิกส์ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมาติดต่อที่ธนาคาร
ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.กส. จังหวัดระนอง กล่าวต่อว่า ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 – 31 พฤษภาคม 2563 มีจำนวนผู้เปิดบัญชีใหม่เพื่อรับเงินมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ จำนวน 3,493 ราย รวมทั้งมาติดต่อเพื่อดำเนินการตามมาตรการต่างๆ จำนวนมาก เพื่อลดความแออัดในการให้บริการ ธนาคารจึงต้องปรับเปลี่ยนเวลาการให้บริการ และจำกัดจำนวนการให้บริการ ให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: