ระนอง นายสมชาย หัสจักร ประธานท่องเที่ยวชุมชน ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ในฐานะเจ้าของฟาร์มปูนิ่ม เปิดเผยว่าจากต้นทุนราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการเลี้ยงปูนิ่มในตำบลม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงปูนิ่มจำนวนมากกว่า 100 ฟาร์ม เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดชายทะเล มีสภาพนิเวศน์ที่เหมาะต่อการเลี้ยงปูนิ่ม แต่จากปัญหาการขาดแคลนปูกระดองแข็งที่เป็นวัตถุดิบหลักที่นำมาเลี้ยงเป็นปูนิ่มขาดแคลนอย่างหนัก ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้เลี้ยงที่มีเป็นจำนวนมาก
ในปัจจุบัน หลังจากปูนิ่มราคาซื้อขายสูงและตลาดมีความต้องการเป็นจำนวนมาก ปรากฏว่าปูกระดองแข็งที่ต้องนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ผู้ประกอบการแต่ละรายจะได้รับปูกระดองแข็งเพียง 20-30% จากออเดอร์ที่สั่งไป อาทิสั่งซื้อปูกระดองแข็ง 4,000 กระชัง ซึ่งกระชังหนึ่งจะมีปู 1 ตัวปรากฏว่าได้รับเพียงแค่ 500 หรือ 1,000 กระชัง ไม่ครบตามจำนวนที่ต้องการเลี้ยง นั่นหมายถึงส่วนที่หายไปไม่ได้เลี้ยงเป็นการเลี้ยงกระชังเปล่าในรอบๆนั้นๆ ทำให้ผู้เลี้ยงประสบปัญหาขาดทุน จนหลายรายไม่สามารถแบกรับสภาวะขาดทุนต่อไปไหวจึงตัดสินใจเลิกเลี้ยง
โดยสาเหตุสำคัญที่ปูกระดองแข็งที่นำมาทำปูนิ่มมีจำนวนไม่เพียงพอ นอกจากฟาร์มปูนิ่งที่เพิ่มจำนวนมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เป็นเพราะมีผู้ประกอบการจากประเทศไทยกว่า 30 รายที่ข้ามฟากเข้าไปเช่าที่ในฝั่งประเทศเมียนมาเพื่อทำฟาร์มปูนิ่มในฝั่งประเทศเมียนมา จึงทำให้วัตถุดิบกว่า 50% ส่งให้กับฟาร์มในเมียนมาแทน
นอกจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเมื่อมีความต้องการปูกระดองแข็งเพิ่มขึ้นทำให้พ่อค้าคนกลางมีการปรับราคาวัตถุดิบขึ้น ในขณะที่ราคาซื้อขายูนิ่มปัจจุบันยังเป็นราคาเดิม ถือเป็นการซ้ำเติมให้ผู้เลี้ยงปูนิ่มประสบปัญหาขาดทุนเพิ่มขึ้น
ข่าวน่าสนใจ:
- เอเย่นต์ยาบ้าร้องไห้โฮ หลังชุด ฉก.ปกครองบุกจับ ตรวจพบของกลางกลับโทษภรรยา ไม่ยอมซุกซ่อนยาเสพติดให้ดี จ.สระแก้ว
- กระบะซิ่งหนีสายตรวจ แหกโค้งพุ่งลงคูน้ำดับ ยกคัน 7 ศพ พบเป็นแรงงานต่างด้าว หลายราย
- พิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- เจ้าหน้าที่ตำรวจ-สาธารณสุขและฝ่ายปกครอง บุกพบหนุ่มป่วน.
ในพื้นที่ ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มีผู้ประกอบการเลี้ยงปูนิ่มกว่า 100 ราย ปัจจุบันทยอยเลิกกิจการแล้วกว่า 60 รายเฉพาะในพื้นที่ ต.ม่วงกลวง ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 40 รายกำลังพยายามที่จะปรับตัวรับกับสภาวะขาดทุนที่เกิดขึ้น โดยช่องทางหนึ่งที่กำลังดำเนินการคือการนำการท่องเที่ยวเข้าไปเสริม อาทิการท่องเที่ยวชมฟาร์ม หรือการนำนักท่องเที่ยวไปชมฟาร์ม รวมถึงการทำกิจการต่างๆอาทิการตกปูนิ่ม หรือชิมเมนูปูนิ่ม ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมการที่จะเปิดรับฤดูกาลท่องเที่ยวที่จะมาถึง โดยคาดว่าจะทำให้ผู้เลี้ยงปูนิ่มมีรายได้สามารถพยุงกิจการให้ผ่านพ้นวิกฤติช่วงที่มีปัญหานี้ไปได้
ปัจจุบัน มีเกษตรกรในจังหวัดระนอง เลี้ยงปูนิ่มที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประมงจังหวัดจังหวัดระนอง42 ราย จำนวน 1,719,500 ตะกร้า (ตะกร้าละ 1 ตัว) กระจายเลี้ยงอยู่ใน 3 อำเภอ ที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลคือ อำเภอเมืองระนอง อำเภอกะเปอร์และกิ่งอำเภอสุขสำราญ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: