ระนอง-ผอ.โรงพยาบาลระนอง พร้อมด้วย จนท.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง จนท.รพ.สต. สโมสรไลออนส์รัตนรังสรรค์จังหวัดระนอง รุดเดินทางไปเยี่ยม เพื่อหาทางช่วยเหลือหญิงสูงวัยอายุ 62 ปี ที่ป่วยเนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง ส่งผลให้แขน ขา และเท้ามีรูปร่างผิดปกติ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าโรคเท้าช้าง หลังพบยังมีผู้ป่วยในพื้นที่ชายแดนด้าน จ.ระนอง ที่ต้องใช้ชีวิตทุกข์ทรมานมานานกว่า 36 ปี เตรียมนำกลับเข้าสู่โครงการแพทย์ พอ.สว.เพื่อรับการผ่าตัดและรักษาต่อเนื่องให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ระนอง-นายแพทย์อรุณ สัตยาพิศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระนอง กล่าวว่า หลังจากที่ตนได้ทราบเรื่องของหญิงที่ป่วยด้วยโรคภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง ส่งผลให้ร่างกายมีความผิดปกติและใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานมานาน ตนซึ่งเพิ่งมารับตำแหน่งใหม่ในตำแหน่ง ผอ.โรงพยาบาลระนอง ทันทีที่ทราบข่าวก็ไม่รอช้านัดหมายจนท.ที่เกี่ยวข้องเดินทางลงพื้นที่ไปเยี่ยมและกำลังใจ และหาทางช่วยอย่างเร่งด่วนต่อไป เพราะการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีรายได้น้อย เป็นนโยบายสำคัญของการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนของจังหวัดระนอง และผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกฯ พบปะนักเรียนจากทั่วอีสาน ชูโครงการ "หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน" เพิ่มโอกาสชีวิต
- จัดกิจกรรม โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน พื้นที่ อ.คลองหาด
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
สำหรับหญิงที่ป่วยด้วยโรคภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง ส่งผลให้แขน ขา และเท้ามีรูปร่างผิดปกติ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าโรคเท้าช้างต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานมานานกว่า 36 ปี ทราบชื่อนางโอพาส เกตุแก้ว อายุ 62 ปี อยู่บ้านเลขที่116/15 ชุมชนหลังตลาดองค์การ ต.เขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง พักอยู่ในบ้านพักหลังเล็กๆ สภาพเก่าโทรมกับลูกสาวโดยนางโอพาส จะต้องนั่งหรือนอนอยู่บนโซฟาไม้ในบ้าน ตลอดเวลา เพราะไม่สามารถเดินออกมาข้างนอกได้เนื่องจากมีก้อนเนื้อใหญ่ที่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง และแขนขาในใหญ่ผิดปกติ จึงไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ต้องมีคนคอยดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา
นางโอพาส กล่าวว่า ที่ผ่านมา ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขเคยเข้ามาดูแล แต่ด้วยความที่ตนเองไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้ไม่ได้ไปตามนัดหมายของแพทย์จึงทำให้ขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับฐานะทางบ้านที่ยากจน จึงทำให้ต้องดูแลรักษาไปตามสภาพแต่ก็มี จนท.รพ.สต.ที่เข้ามาช่วยทำแผลหรือแนะนำการดูแลตนเอง
นางโอพาสกล่าวต่อคนขอบคุณ ผอ.โรงพยาบาลระนอง ตลอดจนทุกคนที่มีจิตเมตตาช่วยเหลือ ขอบคุณเป็นอย่างมากที่เป็นห่วง มาเยี่ยมเยียน และรับที่จะดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องทำให้ตนมีความหวังขึ้นมาอีกครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้เคยคิดฆ่าตัวตายมาแล้วครั้งหนึ่ง
นายแพทย์อรุณ สัตยาพิศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระนอง กล่าวว่าสำหรับแผนการรักษานางโอพาส นั้น ไม่อยากต้องการให้นางโอพาสและครอบครัวกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่ให้เตรียมพร้อมที่จะเข้ารับการรักษา เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยทางโรงพยาบาลระนองจะนำระบบแพทย์ พอ.สว.เพื่อที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการรักษาในขั้นตอนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนรถที่ใช้สนับสนุนการขนย้ายทางโรงพยาบาลจะรับดำเนินการให้ และจะไม่ดำเนินการในช่วงแรก แต่ยืนยันจะช่วยดำเนินการดูแลไปตลอด เพราะเป็นนโยบายที่สำคัญที่นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวเน้นย้ำในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ และในโอกาสนี้ทาง ผอ.โรงพยาบาลระนอง ได้มอบเงินช่วยเหลือ และกระเช้าของขวัญเพื่อเป็นกำลังแก่นางโอพาสและครอบครัว
นางพัชรี วณิชย์อนันตกุล สมาชิกสโมสรไลออนส์รัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง ซึ่งเดินทางมากับคณะได้มอบเงินช่วยเหลือจาก สโมสรไลออนส์รัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง ส่วนหนึ่งเพื่อเหลือค่าใช้จ่าย โดยนางพัชรีกล่าวว่า ทางตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปบอกสมาชิกเพื่อระดมเงินช่วยเหลือต่อไป จึงอยากฝากบอกนางโอพาสและครอบครัวให้สบายว่าคนระนองไม่ทิ้งกันอย่างแน่นอน
โรคเท้าช้าง เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค มีอาการที่เห็นได้ชัด คือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง
สาเหตุและแหล่งระบาดโรคเท้าช้างในประเทศไทยมี 2 ชนิด ชนิดแรกเกิดจากเชื้อ Brugia malayi มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมียุงลายเสือ (Mansonia) เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง ชนิดที่สองเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น ที่อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี; อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก; อำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ยุงลายป่า (Aedes niveus group) เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่
ปัจจุบันพบว่าเชื้อโรคเท้าช้างชนิด Wuchereria bancrofti สายพันธุ์ที่นำเข้าโดยผู้อพยพจากชายแดนไทยพม่า มียุงพาหะหลายชนิดรวมทั้งยุงรำคาญ (Culex) ซึ่งเป็นยุงบ้านที่พบได้ทั่วไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: