ระนองฝนตกหนัก ฝายเก็บน้ำพังถล่ม
ระนองฝนตกหนัก ฝายเก็บน้ำพังถล่ม ผอ.ทรัพยากรน้ำภาค 10 เตรียมลงพื้นที่ดูความเสียหาย
ข่าวน่าสนใจ:
- นนทบุรี ผัวหึงโหด ใช้ปืนจ่อยิงหัวเมียเสียชีวิตหลังนำส่งโรงพยาบาล
- ชมรมโฮปฯ ร่วมกับชุมชน จัดกิจกรรม ซานตาโฮป แจกของขวัญให้กับเด็กในชุมชนกว่าพันชิ้น
- นนทบุรี กระบะเลี้ยวตัดหน้า จยย.พุ่งชน ร่างหนุ่มชาวลาวลอยก่อนตกกระแทกพื้นดับ
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
ระนอง-ผู้อำนวยการทรัพยากรน้ำภาค 10 เตรียมลงพื้นที่ประเมินความเสียหายของฝายคลองบางริ้น จ.ระนอง ที่เกิดการทรุดตัวและพังถล่มลงมา จากฝนตกหนัก กัดเซาะฐานฝายที่ชำรุดก่อนหน้าพังถล่ม อาจจะต้องของบประมาณสร้างฝายใหม่
นายสาธิต รัตนสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 สุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝายคลองบางริ้น หมู่ที่ 2 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เกิดการทรุดตัว และพังถล่มลง หลังปริมาณน้ำไหลผ่านฝายมากจากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักสะสมต่อเนื่องหลายวัน เหตุเกิดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 2 ธันวาคม 25464 ที่ผ่านมา ว่า ฝายคลองบางริ้นได้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2552 และได้ส่งมอบให้เทศบาลเมืองบางริ้น เป็นผู้ดูแลเมื่อปี พ.ศ. 2553 ส่วนสาเหตุของการทรุดตัวของฝายนั้นน่าจะมาจาก 2 สาเหตุ คือ มีการใช้งานมานาน
ซึ่งทางสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 ได้มีการว่าจ้างบริษัทภาคเอกชนเข้าซ่อมแซมเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยได้ตั้งงบประมาณซ่อมไว้ 25 ล้านบาท แต่ผู้รับจ้างมีการตัดราคากันเองจนเหลืองบประมาณ 19 ล้านบาท แต่เมื่อผู้รับจ้างเข้าซ่อมแซมแล้ว มีการซ่อมแซมเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็ทิ้งงานไป จึงได้มีการยกเลิกสัญญา ทำให้ฝายเกิดการชำรุดขยายตัวมากขึ้น จึงได้มีการหาผู้รับจ้างรายใหม่
แต่ไม่มีเอกชนรายใดสนใจรับงานเพราะประเมินแล้วน่าจะขาดทุน ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 จึงได้ขอตั้งงบประมาณใหม่ เป็นงบกลาง วงเงิน 35 ล้านบาท คาดว่าน่าจะได้รับงบประมาณในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 แต่ฝายเกิดการทรุดตัวพังลงมาเสียก่อน ส่วนสาเหตุที่ 2 เกิดจากฝนที่ตกสะสมต่อเนื่องกันหลายวันทำให้น้ำไหลผ่านฝายมีปริมาณมาก เนื่องจากไม่สามารถเปิดบานประตูระบายน้ำได้เพราะบานชำรุด ทำให้น้ำกัดเซาะใต้ฐานบริเวณบานประตู จึงทำให้โครงสร้างของบานประตูพังลงมา
ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 3 ธันวาคมนี้ เวลา 11.00 น. ตนพร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง(นายโชตินรินทร์ เกิดสม) ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและประเมินความเสียหายว่าสามารถซ่อมแซมฝายในส่วนที่ชำรุดได้หรือไม่ หรือว่าต้องตั้งงบประมาณเพื่อก่อสร้างใหม่ทั้งหมด ต้องดูที่หน้างานอีกครั้งยังไม่สามารถให้คำตอบได้ในขณะนี้ ซึ่งตนได้รายงานให้อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำได้รับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้ประสานไปยังสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 4 ด้วยแล้ว
อนึ่งเหตุการฝายพังถล่ม เกิดเมื่อ ( 2 ธันวาคม 2564) เวลา 14.30 น. อาคารประตูระบายน้ำขนาด 6×3 เมตร จำนวน 2 บาน ของฝายคลองบางริ้น หมู่ที่ 2 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เกิดการทรุดตัว และถล่มลง ซึ่งไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด ส่วนความเสียหายอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ส่วนสาเหตุเบื้องต้นเกิดจากอาคารประตูระบายน้ำมีรอยร้าวและไม่สามารถเปิดบานประตูระบายน้ำที่ชำรุดได้ อีกทั้งในห้วงวันที่ 30 พฤศจิกายน2564 ถึง 2 ธันวาคม 2564 จังหวัดระนองมีฝนตกหนัก จึงเป็นเหตุให้น้ำที่ไหลผ่านสันฝายเป็นจำนวนมากต่อเนื่องหลายวัน ส่งผลให้มีการกัดเซาะที่ฐานของฝายบริเวณใต้บานประตูระบายน้ำ ทำให้ฝายเกิดการทรุดตัวและถล่มลง ส่งผลให้ฝายไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ เนื่องจากฝายคลองบางริ้นเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง
จึงส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำประปา ประมาณ 300 ครัวเรือน ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ในพื้นที่ซอยจัดสรรทั้งหมด ซอยบ้านสวน ถนนรัตนโกสินทร์ หมู่บ้านปาล์มวิว ซอยสำนักสงฆ์สวนธรรมกิจ ซอยมิตรภาพที่ 1-5 ซอยโรงเจสายฟ้า ซอยผู้ใหญ่ไข่ ชุมชนซอย 2 ซอยสหพันธ์ ชุมชนซอย 9 /ซอย 9 ริมคลอง ซอยนันทาภิรมย์ ซอยระนองพัฒนา 1,3,5 และ ถนนท่าเมืองฝั่งธนาคารออมสิน -สี่แยกระนองธานี ในเบื้องต้นการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง ได้ใช้แหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำหาดส้มแป้นเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำประปา ส่วนการประปาของเทศบาลเมืองบางริ้น ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
สำหรับฝายคลองบางริ้น อยู่ในความรับผิดชอบของ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 สุราษฎร์ธานี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้มีโครงการปรับปรุงซ่อมแซมฝายคลองบางริ้น เริ่มต้นสัญญาตั้งแต่ 25 มีนาคม 2563 ถึง 19 พฤศจิกายน 2563 สถานะปัจจุบัน ผู้รับจ้างได้ละทิ้งงาน และสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 แจ้งยกเลิกสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ส่งผลให้การซ่อมแซมเกิดความล่าช้า ประกอบการมีการใช้งานของฝายมานาน จนเกิดเหตุการณ์ทรุดตัวของฝายและพังถล่มลงมา ซึ่งปัจจุบันสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 ได้อยู่ระหว่างขอตั้งงบประมาณของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบประมาณ 35 ล้านบาท เพื่อซ่อมแซมแล้ว แต่ฝายได้ทรุดตัวและพังถล่มลงมาเสียก่อน.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: