วุฒิสภา ลงพื้นที่ดันระนอง ร่วม 4 จังหวัดใต้ เคลื่อน SEC
วุฒิสภา จับมือสภาพัฒฯ ประชุม Conference ร่วม 4 จังหวัด เจ้าภาพ SEC ติดตามความคืบหน้าโครงการฯ ในเวที “สมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน” จังหวัดระนอง
ข่าวน่าสนใจ:
- มหัศจรรย์แห่งดาว สุกสกาวความสุข เทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส ค.ศ.2024 ท่าแร่ สกลนคร
- นนทบุรี ผัวหึงโหด ใช้ปืนจ่อยิงหัวเมียเสียชีวิตหลังนำส่งโรงพยาบาล
- เพชรบูรณ์ - 2 นักการเมืองรุ่นเก๋า ไม่ยอมแพ้สังขาร ลั่น"ใจยังสู้เกิน 100" มั่นใจรักษาแชมป์ ส.อบจ.เพชรบูรณ์ไว้ได้
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
วันที่ 15 ธันวาคม 2564 ที่ห้องประชุมรัตนรังสรรค์ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานกรรมการฯ คนที่ 1 พร้อมคณะวุฒิสภา และคณะผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดระนอง ตามโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคใต้
ประชุมรับฟังและติดตามความก้าวหน้า พร้อมรับฟังความคิดเห็น การดำเนินงานโครงการ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบ Video Conference โดยนายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ผู้แทนภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วม
นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) จังหวัดระนอง ซึ่งจำแนกเป็น 4 โครงข่ายคมนาคม กล่าวคือ
1. โครงข่ายคมนาคมทางถนน การยกระดับเป็นถนน 4 ช่องจราจร -สายชุมพร-ระนอง ตอน 1 – 4 ระยะทาง 84.770 กิโลเมตร ดำเนินการเสร็จแล้ว และ ตอน บ.ทรายแดง – บ.บางนอน ระยะทาง 17.750 กิโลเมตร กำหนดแล้วเสร็จ 16 มีนาคม 2565 – สายราชกรูด-พะโต๊ะ-หลังสวน ตอน กม.0+169.027 แยกราชกรูด – กม.30+000 ต.พะโต๊ะ
ได้ดำเนินจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว และอยู่ระหว่างการเสนอสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาฯ “สายระนอง-ราชกรูด-ตะกั่วป่า อยู่ระหว่างการเสนอรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งกำหนดขอตั้งงบประมาณการดำเนินโครงการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2566 และ พ.ศ. 2567 ต่อไป
2. โครงข่ายคมนาคมทางอากาศ โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564 รวมทั้งสิ้น 12 โครงการ งบประมาณ 316,079,289 บาท ซึ่งเป็นการยกระดับความปลอดภัยและสมรรถนะการบริหารจัดการท่าอากาศยานระนอง อาทิ การติดตั้งระบบ Digital CCTV และระบบควบคุมพื้นที่อาคารที่พักผู้โดยสารการติดตั้งระบบจัดการรักษาความปลอดภัยพื้นที่การบินและเครือข่ายดาวเทียมท่าอากาศยานระนอง ,
การติดตั้งเครื่องตรวจอาวุธและวัตถุระเบิดแบบ EDS พร้อมสายพานลำเลียงสัมภาระห้องควบคุมและอุปกรณ์โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 2 เครงการ งบประมาณ 827,725,000 บาท ประกอบด้วย 1. โครงการปรับปรุงขยายทางวิ่งท่าอากาศยาน จาก 2,000 เมตร เป็น 2,500 เมตร งบประมาณ 800 ล้านบาท มีแผนดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2570 และ2. โครงการจ้างออกแบบปรับปรุงขยายอาคารที่พักผู้โดยสารท่าอากาศยานระนอง งบประมาณ 27,725,000 บาท ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการจ้างออกแบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี พ.ศ. 2565
3. โครงข่ายคมนาคมทางน้ำ โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการงานซ่อมแซมปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือ 1 และ 2 ของท่าเรือระนอง เพื่อให้ท่าเทียบเรือมีศักยภาพรองรับเรือได้ขนาดใหญ่ขึ้น โดยได้ซ่อมแซมปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือที่ 1 และ 2 เสร็จแล้ว ซึ่งศักยภาพของท่าเรือสามารถรองรับเรือตู้สินค้าได้ไม่เกิน 12,000 เดทเวทตัน ทั้งนี้จะมีการพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการของท่าเรือระนอง ซึ่งมี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 มี 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 1 (ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์) รองรับเรือสินค้าทั่วไป ขนาด 500 GT พร้อมกัน 2 ลำใช้ Mobile Harbour Crane ในการให้บริการ 2. ปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 2 (ท่าเทียบเรือตู้สินค้า) รองรับเรือตู้สินค้า ขนาด 12,000 เดทเวทตัน – ระยะที่ 2 โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ 3 (ท่าเทียบเรือตู้สินค้า) เพื่อรองรับเรือตู้สินค้า ขนาด 12,000 เดทเวทตัน ใช้ Ship to Shore Gantry Crane ในการให้บริการ ก่อสร้างลานตู้สินค้าส่วนต่อขยาย (เริ่มปรับปรุงก่อสร้างฯ พ.ศ. 2582 – และเปิดให้บริการ พ.ศ. 2583)ซึ่งทั้ง 2 ระยะ สามารถรองรับตู้ 499,226 TEUs ต่อปี
4. โครงข่ายคมนาคมทางราง โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงชุมพร-ระนอง ปี 2560 สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง งบประมาณ 30 ล้านบาท (ระยะเวลา ดำเนินการ 10 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560-กุมภาพันธ์ 2561 ในการศึกษาฯ ดั่งกล่าวมีมูลค่าลงทุน 45,844 ล้านบาท ซึ่งผลของการศึกษาเห็นว่าโครงการฯ ไม่มีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อมีการก่อสร้างและเปิดให้บริการในปี 2568 และจากการวิเคราะห์เพิ่มเติม พบว่า หากชะลอ โครงการออกไปอีก 9 ปี
โดยเปิดให้บริการใน ปี 2577 ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเท่ากับร้อยละ 12.19 จ้งหวัดได้จัดทำข้อเสนอต่อ ครม. ในการเร่งรัดโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟให้เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ภายใน ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อให้สอดคล้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านอื่นๆ ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายทางด้านถนน การพัฒนาด้านการขนส่งทางน้ำ(การพัฒนาท่าเรือระนอง) และการพัฒนาการขนส่ง ทางด้านอากาศ (การพัฒนาท่าอากาศยานระนอง) ซึ่งได้ดำเนินการมีผลความคืบหน้า เพื่อให้สอดรับการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 ได้อนุมัติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.จ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมออกแบบเบื้องต้นประเมินผล
กระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เพื่อเชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามันหรือ Land – Bridge (สะพานเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการลงนามในสัญญา จ้างที่ปรึกษา 6 บริษัท เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 โดย สนข. เป็นผู้ว่าจ้าง วงเงินงบประมาณ 68 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 30 เดือน เริ่ม 2 มีนาคม 2564 ถึง 1 กันยายน 2566 (นำเสนอโดยผู้แทน สนข.)
ข้อเสนอการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ Southern Economic Corridor (SEC) จังหวัดระนอง จังหวัดระนองมีเนื้อที่ประมาณ 3,298,045 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,061,278 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.63 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ประมาณ 86% เป็นพื้นที่ราบ 14% ของพื้นที่ จึงต้องการผลักดันและแก้ไขปัญหาในเรื่องพื้นที่ป่าฯ ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ดังกล่าว และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่และการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ในอนาคต รวมถึง การเชื่อมโยง การค้าและการลงทุนและการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์หรือสะพานเศรษฐกิจ) จึงขอเสนอต่อคณะสมาชิกวุฒิสภาเพื่อผลักดัน 2 ประเด็น ดังนี้ 1. การแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองจังหวัดระนอง โดยต้องการเร่งรัดผลักดันอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาการใช้
ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองจังหวัดระนอง บริเวณพื้นที่อนุญาตการใช้ประโยชน์เดิมเนื้อที่ 520.86 ไร่ เพื่อการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ(บางส่วน) และส่งมอบพื้นที่ให้กรมธนารักษ์นำไปจัดให้ประชาชนเช่าตามกฎหมายโดยเร็วที่สุด และเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหา กรณีพื้นที่นอกแปลงอนุญาตเดิม เนื้อที่ 2,236 ไร่ โดยขอให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแนวทางเดียวกันกับพื้นที่อนุญาตเดิมหรือ แก้ไขปัญหาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง พื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ทุกประเภท 2. การจัดตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมงจังหวัดระนอง เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ปัญหาการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ทำการศึกษาโครงการจัดตั้งเขตประกอบอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมงระนอง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ป่าชายเลน โดยให้พิจารณาอนุญาตการประโยชน์พื้นที่ เพื่อให้ภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการในอนาคต
ทั้งนี้ในเวลา 14.30 น.สมาชิกวุฒิสภาพร้อมคณะจะลงพื้นที่ ณ กลุ่มเพาะปลูกผลไม้บ้านในวง ตำบลในวง อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง รับฟังการดำเนินงานความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกผลไม้บ้านในวง และในวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. สมาชิกวุฒิสภาพร้อม คณะลงพื้นที่ ณ กลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง รับฟังการดำเนินงาน ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น
โครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน จะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศตั้งแต่ระดับฐานราก ชุมชน สังคม และระดับประเทศ ให้ประเทศเกิดการพัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างสอดคล้องกันและเป็นระบบ เกิดความตระหนักสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวม อันจะนำไปสู่สังคม ที่ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสังคมที่มีความสงบสุข เป็นธรรม ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกด้าน บนพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการสมาชิกวุฒิสภา และคณะ พร้อมด้วยนายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินทางไปยังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านในวงเพื่อส่งเสริมการผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ต.ในวงใต้ อ.ละอุ่น จ.ระนอง โดยมีนายสุทิน ประเสริฐศักดิ์ นายอำเภอละอุ่น เกษตรและสหกรณ์จังหวัดระนอง เกษตรจังหวัดระนอง อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง พาณิชย์จังหวัดระนอง รับฟังการดำเนินงาน ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเกษตรผู้เพาะปลูกผลไม้บ้านในวง โดยมีนายสุริยา อินทกูล ผู้จัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านในวงเพื่อส่งเสริมการผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ต้องการขอรับการช่วยเหลือเพื่อพัฒนากลุ่มในอนาคต และเยี่ยมชมแปลงเกษตรต้นแบบ นายสมชาย บุญเขื่อง ผู้ผลิตมังคุดและทุเรียนเพื่อส่งออก
พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการสมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า วุฒิสภาได้กำหนดจัดโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ณ จังหวัดระนอง ซึ่งตนในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่ภาคใต้จังหวัดอันดามัน (ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล) พบปะพูดคุยกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มาร่วมรับฟังข้อมูล รับฟังปัญหาของประชาชนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: