ระนอง-ปตท.สผ.จัดโครงการ “ปตท.สผ. ปันความรู้สู่เยาวชนรักษ์บ้านเกิด”ครั้งที่ 4
เพื่อให้เยาวชน จ.ระนอง ได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ
นายธีระกร สังข์ศรี ผู้จัดการ ฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม จ.ระนอง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) (ปตท.สผ.) กล่าวว่า ปตท.สผ.ได้ร่วมกับสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายฝั่ง (ระนอง) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดโครงการ “ปตท.สผ.ปันความรู้สู่เยาวชนรักษ์บ้านเกิด ครั้งที่ 4 ขึ้น ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. 2561- 2 ธ.ค.2561 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายฝั่ง (ระนอง)
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ ปตท.สผ.ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทางทะเลของไทย โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการเป็นเครือข่ายแนวร่วมการอนุรักษ์ โดยสานต่อโครงการ “ปตท.สผ. ปันความรู้สู่เยาวชนรักษ์บ้านเกิด” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดยนำเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในพื้นที่ จ.ระนอง จำนวน 74 คน จาก 10 โรงเรียนเข้าร่วมเรียนรู้ธรรมชาตินอกห้องเรียนผ่านการสัมผัสจริง เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่บ้านเกิดตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
นายสุรินทร์ภรณ์ ศรีอินทร์ หน.ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายฝั่ง มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนแบ่งเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ คือกิจกรรมศึกษาเส้นทางธรรมชาติป่าชายเลน ณ ศูนย์วิจัยฯ ซึ่งเป็นป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชีย ทั้งยังได้รับการประกาศจาก ยูเนสโก ให้เป็นพื้นที่เขตสงวนชีวมณฑลโลก กิจกรรมเรียนรู้ระบบนิเวศทางทะเลผ่านมาตรฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน ได้แก่ ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศชายเลน ระบบนิเวศหาดทราย และระบบนิเวศหาดหิน
ข่าวน่าสนใจ:
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: