ชาวระนองร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ด้านการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA)โครงการ LandBridge
ที่ ห้องราชาวดี ชั้น 3 เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 การศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมอ่าวอ่าง อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น
ข่าวน่าสนใจ:
ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Mode!) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Landbridge) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และประชาชนชาวระนอง ทั้ง 5 อำเภอ เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น
ทั้งนี้ กิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในครั้งนี้จัดขึ้นโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร โดย ดร.จิรโรจน์ ศุกลรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค กล่าวว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วน มีความเข้าใจในรายละเอียดและความเป็นมาของโครงการที่ตรงกัน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อนำเสนอรายละเอียดโครงการ
ขอบเขตการศึกษาและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ สำหรับนำไปประกอบกรศึกษาของโครงการให้มีความครบถ้วนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมทุกภาคส่วนมากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับร่วมกัน
และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมอุทยานแห่งชาติแหลมสน ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง จากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยที่มีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้าน
จึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้ใช้ประโยชน์จากยุทธศาสตร์ดังกล่าวในการพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเลเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามันเพิ่มเติมจากการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพทางการค้าของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศด้นมหาสมุทรอินเดีย รองรับและส่งเสริมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: