รฟท. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประขาชน ครั้งที่ 2 งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร – ท่าเรือน้ำลึกระนอง
ที่โรงแรมราชาวดี เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยมี ว่าที่ร้อยตรีกิตติภพ รอดดอน ปลัดจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิด โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายภาคส่วน ทั้งประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
ข่าวน่าสนใจ:
โดยวัตถุประสงค์การเพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการ ผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบในการปรับปรุงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการให้มีความเหมาะสม
ทั้งนี้โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร – ท่าเรือน้ำลึกระนอง เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางที่กระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ โดยให้กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการงานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกน้ำระนอง
สำหรับการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ผ่านมา โครงการได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 14-14 พฤศจิกายน 2565 เพื่อนำเสนอขอบเขตการศึกษาของโครงการ การจัดประชุมกลุ่มย่อย ระหว่างวันที่ 4 8 กันยายน 2566 เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าการศึกษาของโครงการ ร่างผลการศึกษาโครงการ ร่างผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการสัมภาษณ์เชิงลึก และการลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม และนำมาสู่การประชุมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการ ผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบ ในการปรับปรุงมาตรการต้านสิ่งแวดล้อมของโครงการให้มีความเหมาะสมต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: