X

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดระนอง  สร้างความตระหนักรู้ การบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตทางทะเลของจังหวัดระนอง (Crisis Management Plan

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดระนอง  สร้างความตระหนักรู้ การบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตทางทะเลของจังหวัดระนอง (Crisis Management Plan)

(๒๒ มี.ค. ๖๗)  ที่โรงแรมเดอะกาลล่า จังหวัดระนอง นายนริศ  นิรามัยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตทางทะเลของจังหวัดระนอง (Crisis Management Plan) ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดระนอง (ศรชล.)

นาวาเอก พรพรหม สกุลเต็ม รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดระนอง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ว่า การสร้างความตระหนักรู้ครั้งนี้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ของ ศรชล. ภาค ๓ แผนงานยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่มีภัยต่อความมั่นคง โครงการ “การรักษาความมั่นคงชายแดน ชายฝั่งทะเลและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการปกป้องอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีระบบ สืบเนื่องจากการประชุม ครม.สัญจร เมื่อ ๒๒ – ๒๓ ม.ค.๖๗ มีมติที่ทำให้จังหวัดระนองจะต้องเตรียมการรองรับต่อโครงการสำคัญของรัฐ เช่น โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อม อ่าวไทย – อันดามัน (Land Bridge) รวมทั้งการพัฒนาท่าเรือ แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชายฝั่ง และเกาะแก่ง ให้สามารถรองรับเรือสำราญ (Cruise) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรทางทะเลในหลายรูปแบบ

นายนริศ  นิรามัยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า การบริหารงานภายใต้ทรัพยากรจำกัดในสถานการณ์ปัจจุบันถือเป็นสิ่งจำเป็นในการบูรณาการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จได้ในทุกสภาวะ ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ภายใต้สถานการณ์สมมติในครั้งนี้ จะทำให้ทุกหน่วยได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตน และเกิดความเข้าใจในวิธีบริหารจัดการวิกฤตร่วมกัน ด้วยการระดมแนวคิด Think Tank เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาในลักษณะของการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤติ (Crisis Management Plan) ภายใต้ระบบบัญชาการ Incident Command System : ICS  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมร่วมกันตั้งแต่ยามสถานการณ์ปกติ รองรับสถานการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทำให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

โดยกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปในลักษณะของการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ด้วยวิธีการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) จากโจทย์สถานการณ์ (Scenario) อุบัติเหตุทางทะเลขนาดใหญ่ โดยการสมมุติให้เรือสำราญขนาดใหญ่เกิดอุบัติเหตุชนกันกับเรือสินค้าขนาดใหญ่ บริเวณพื้นที่ทางทะเลของจังหวัดระนอง ซึ่งจากสถานการณ์วิกฤตนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องระดมสรรพกำลังทั้งบุคลากร ยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์ แนวคิด วิธีแก้ไขปัญหา ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ด้วยระยะเวลาที่จำกัด ในรูปแบบการบริหารจัดการในสภาววิกฤต (Crisis Management) ภายใต้ระบบบัญชาการ Incident Command System: ICS อันจะทำให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกิดความเข้าใจในวิธีบริหารจัดการวิกฤตร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการเตรียมการรองรับตั้งแต่ภาวะปกติเพื่อให้หน่วยต่างๆ มีความพร้อมที่จะปฏิบัติได้ทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตทางทะเลขึ้นในอนาคต ซึ่งการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดอุบัติภัยทางทะเล ถือเป็นภัยคุกคามหนึ่งของภัย ๙ ด้าน ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ที่จะต้องให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภัยคุกคามอื่นๆ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดระนอง บรรณาธิการ นสพ.เซ้าท์เทิร์นนิวส์ระนอง